ธรรมนูญ ON AIR ครั้งที่ ๒

  • photo  , 1000x563 pixel , 551,877 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,942 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 42,710 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,427 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 303,199 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 340,599 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 446,995 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 395,600 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 374,902 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 392,444 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 323,741 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 325,430 bytes.

"ธรรมนูญ ON AIR ครั้งที่ ๒"

วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓  กขป.เขต ๑๒ ร่วมกับเครือข่าย ๔pw,ศปจ.,node flagship สสส. เครือข่ายธรรมนูญตำบลน่าอยู่ในพื้นที่เขต ๑๒ ร่วมสร้างช่องทางปรึกษาหารือทางอากาศผ่านแอป Zoom รอบนี้มีเครือข่ายจากตรัง ปัตตานี ยะลา พัทลุง และสงขลา เข้าร่วมปรึกษาหารือ

๑.ต่อข้อมูลสถานการณ์ภาพรวมของแต่ละพื้นที่ เรื่องหลักก็คือ การเตรียมสถานที่กักตัวของท้องถิ่น ซึ่งพบว่ามีความเข้าใจของประชาชนว่าผู้ไปกักตัวคือผู้ป่วย ทำให้เกิดการต่อต้านและไม่ยอมไปใช้บริการ รวมถึงการปกปิดข้อมูลต่อผู้สอบสวนโรค และการจัดการขยะหน้ากากอนามัย

-เครือข่ายจ.ยะลา ส่งต่อสื่อเป็นไฟล์ภาพและไฟล์เสียง หลักการป้องกันตนเองต่อโควิดตามวิถีของมุสลิม การจัดการศพที่เป็นผู้ป่วย ความรู้พื้นฐานของมุสลิมที่จำเป็นต่อการป้องกันตัวเอง ส่งต่อให้กับเครือข่ายต่างๆนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึง ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ลักษณะเฉพาะทางศาสนา และรูปแบบการสื่อสารจากส่วนกลางที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น

-จังหวัดปัตตานี กำหนดจุดคัดกรองและมีพื้นที่กักตัว ที่โรงยิมที่อำเภอบานา มีการประชาสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับภาคีต่าง ๆ ในระดับพื้นที่

-จังหวัดสงขลา มาตรการเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยคือ กำหนดให้ทุกท้องถิ่นดำเนินการ โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมแต่ละท้องถิ่น ท้องถิ่นใดที่มีโรงแรมหากเจ้าของโรงแรมอนุญาตให้ใช้ก็จะมีความสะดวก หรือมีสถานที่ที่มีความพร้อม หรือบางพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงสถานที่ก็ยังไม่มีความพร้อม ใช้วิธีกักตัวที่บ้านแทน โดยให้แจ้งความกับผู้ใหญ่บ้านในกรณีมีผู้ย้ายเข้ามาในชุมชน โดยร่วมกับท้องถิ่น และอสม.เข้ามาดูแลตรวจวัดไข้ให้ทุกวัน อบต.นาหว้ามีการให้บริการเจล หน้ากาก ให้กับประชาชน ในพื้นที่

๒.เรียนรู้มาตรการการรับมือของตำบล -เทศบาลตำบลโคกม่วง คลองหอยโข่ง สงขลา ที่อยู่ชานเมืองใกล้สนามบิน ได้รับมือด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ต่อประชาชนผ่านรถเก็บขยะที่ลงถึงทุกพื้นที่ พร้อมกับใช้ไวนิลติดทุกหมู่บ้าน มีการอบรมให้ความรู้แกนนำ ผญ. CG พร้อมกับทำหน้ากากผ้า เจล ต่อมามีนโยบายให้ทำหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าให้กับประชาชนทุกคน ได้ใช้งบของกองทุนสุขภาพตำบลมาใช้เสริมในการจัดทำร่วมกับจิตอาสา นอกจากนั้นได้มีการคัดกรองรายวันในพื้นที่สำคัญๆ ได้แก่ รพ.สต. ที่ทำการเทศบาล งานพิธีต่างๆ จุดทางผ่านของผู้คน ล้างตลาดสดและจัดช่องทางเข้าออกเป็นทางเดียว มีมาตรการให้กับวัด ร้านอาหาร รักษาระยะห่างทางสังคม พร้อมกับวางถังเก็บขยะหน้ากากอนามัยที่ถือว่าเป็นขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ

-อบต.แม่ทอม บางกล่ำ วางมาตรการในตลาดนัดชุมชน โดยใช้เงินกองทุนหมู่บ้านออกมาตรการคัดกรองการเข้าออก การยืนมีระยะห่าง มีป้ายประชาสัมพันธ์ คัดกรองคนเป็นไข้ และมีเจลให้ล้างมือ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

๑)สร้างความเข้าใจต่อประชาชน -ผู้กักตัวไม่ใช้ผู้ป่วย -ในเรื่องการใช้หน้ากากอนามัย ที่เป็นสีเขียว ฟ้า ไม่สามารถนำเอาไปซักน้ำนำมาใช้ซ้ำได้ ต้องใช้วิธีจัดการโดยการฆ่าเชื้อ ,หน้ากากผ้าสามารถซักน้ำแล้วใช้ซ้ำได้

๒)สร้างระบบสนับสนุนการทำงาน -นำข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางรายบุคคลมาใส่ในแผนที่ภาษีในรูปแบบทำมือหรือผ่านไฟล์ เพื่อจัดระบบการดูแล การช่วยเหลือ -จัดทำผังชุมชนที่แสดงลักษณะเชิงกายภาพ เส้นทางเข้าออก ทรัพยากรที่ใช้ในการรับมือและป้องกันโควิด -กำหนดมาตรการ ข้อตกลงเฉพาะของแต่ละพื้นที่เสริมมาตรการหรือนโยบายจากส่วนกลาง -เครือข่ายสามารถใช้ระบบติดตามรายงานผลผ่านระบบเยี่ยมบ้านของ iMed@home

รูปแบบการปรึกษาหารือ จะมีการนัดหมายพื้นที่ระดับจังหวัดในแต่ละครั้งของการประชุมผ่าน Zoom เพื่อให้เนื้อหากระจายในเชิงพื้นที่ และมีตำบลเด่นมานำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันเสนอแนะมาตรการ แนวทางการรับมือ ทั้งนี้อยู่ที่เครือข่ายที่เข้าร่วมจะต้องกำหนดร่วมกับทีมกลางเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยทีมกลางจะบันทึกการปรึกษาหารือและส่งต่อให้กับสาธารณะได้รับรู้ต่อไป

ครั้งต่อไป วันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics