ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๔ ชุมชนเขตเมืองและคนจนเมืองจะรับมือโควิด๑๙ได้อย่างไร

  • photo  , 1280x720 pixel , 148,279 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 198,308 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 125,037 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 142,788 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 152,419 bytes.

"ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๔" วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓

ประเด็นหลักคือ เขตเมืองและคนจนเมืองจะรับมือโควิดได้อย่างไร

ผู้เข้าร่วม ๑๘ คนจากศูนย์ประสานงานกขป.เขต ๑๒ ศปจ./๔PW สงขลา,ยะลา,ปัตตานี กขป. เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง ทีมงานพอช. สช. สปสช. สมาคมอาสาสร้างสุข ชุมชนเทศบาลเมืองยะลา

กรณีหลักที่มานำเสนอก็คือ เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่นี่เป็นชุมชนแออัด ไม่มีพื้นที่ส่วนตัว รวมตัวในนามเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์บ่อยาง ๗ ชุมชนมีกลุ่มเปราะบางที่ผ่านการสำรวจมาก่อนหน้าแล้วในนามศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง(ร่วมกับกลุ่มออมทรัพย์ในโครงการบ้านมั่นคง)จำนวน ๒๓๐ คน ไม่นับคนตกงานและสมาชิกใหม่ที่ยากลำบากเพิ่มเติมจากปัญหาโควิด ปัจจุบันต้องการช่วยเหลือเร่งด่วน คือ อาหาร 2 มื้อ หลายคนเริ่มทานอาหารไม่ครบมื้อ และว่างงาน นอกจากนั้นแล้วการทำงานร่วมกันในชุมชนระหว่างกลุ่มกับท้องถิ่นยังมีช่องว่าง สมาชิกจำนวนหนึ่งไม่มีบัตรประชาชน และไม่ได้อยู่ในทะเบียนราษฎร์ของทน.สงขลา ความช่วยเหลือในเรื่องอาหารไม่ลงถึง การเป็นชุมชนแออัดแม้จะมีอสม.เข้าไปคัดกรอง แต่ผู้ที่ป่วยไข้ไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อโควิดหรือไม่ การคัดกรองพบปัญหาชุมชนไม่ให้ความร่วมมือไปตรวจที่รพ. และไม่เชื่อแกนนำ

แนวทางรับมือ ๑)ใช้กลไกศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง ประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงาน เช่น กาชาด สมาคมอาสาสร้างสุข ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พอช. ฯลฯ ที่ผ่านมาในการช่วยเหลือด้านการทำหน้ากากได้รับบริจาคจากเอกชน ร่วมกับกาชาดรับงานทำหน้ากากมาสร้างรายได้ ในอนาคตอันใกล้จะได้เงินช่วยเหลือโดยจะได้รับจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ๓๐ รายๆละ ๓,๐๐๐ บาท เน้นในกลุ่มคนทำงาน พ่อค้าแม่ค้าที่ได้รับผลกระทบ โดยทางศูนย์บ่อยางจะมีการคัดกรองอีกครั้ง นอกจากนี้สำนักงานพัฒนาการจังหวัด จะมาหาแนวทางการช่วยเหลือร่วมกับชุมชน โดยใช้องค์กรสตรีเขียนโครงการผ่านกองทุนหมุนเวียนจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท และเข้าร่วมกับโครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยนำเงินมาสร้างรายได้เสริมอาชีพให้กับกลุ่มสมาชิก(ข้าวถ้วย ฯลฯ) เป็นช่องทางหนึ่งในการนำเงินมาช่วยเหลือกันในชุมชน

๒)จัดทำครัวกลางชุมชน รวมถึงการจัดทำแผนที่กลุ่มเปราะบางรายชุมชน ด้วยการปักหมุดหรือระบายสีครัวเรือนในแต่ละชุมชน เพื่อให้รู้ว่าคนเปราะบาง จำนวน ๒๓๐ คน อยู่โซนไหนบ้าง และนำมาประกอบในการทำแผนการช่วยเหลือ เช่น โรงทานอยู่ตรงไหน จุดรับอาหารอยู่ตรงไหน เพื่อจะได้รู้ว่าช่วยใครไปแล้วบ้าง กี่คน ขาดเหลืออะไรวางแผนสื่อสารกับคนภายนอกเพื่อระดมความช่วยเหลือ

๓)จัดระบบทีมในการทำงานแบบบูรณาการงบประมาณจากหน่วยงานเครือข่าย แยกกิจกรรมการทำงานของโครงการบ้านมั่นคงและศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้ระบบทีมในการปรึกษาหารือและการทำงานร่วมกัน แต่ใช้งบประมาณบูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณจาก พอช. มูลนิธิชุมชนสงขลา/อบจ.สงขลา กองทุนตำบล กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ และอื่นๆ ที่จะเข้ามาเสริมในอนาคต

นอกจากนั้นแล้วยังมีข้อมูลสถานการณ์ทั่วไปที่สำคัญ

๑.จังหวัดสงขลา มีการออกกติกา ในเรื่องของการปิดหน้ากากเมื่อออกจากบ้าน หากไม่ใส่หน้ากากจะถูกปรับ โดยบังคับใช้ทางกฎหมาย ห้ามดื่มเหล้าในพื้นที่สาธารณะ การหาสถานที่กักตัวของท้องถิ่น โดยท้องถิ่นส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะรับผู้อพยพมาจากด่านนาทวี ปาดังเบซาร์ ในพื้นที่อบต.ท่าข้าม และอำเภอหาดใหญ่มีการเตรียมพื้นที่รองรับ โดยท่าข้ามเตรียมพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.ท่าข้ามไว้ จังหวัดมีการเช่าโรงแรมที่ด่านนอก ๒ โรงแรม และในพื้นที่หาดใหญ่มีการสำรวจราคาของโรงแรมก่อนหากไม่แพงมาก ก็สามารถดำเนินการเช่าได้ อบต.ท่าข้ามได้มีการจัดทำหน้ากากอนามัยไปแจกประชาชนในตลาด บางคนมีบัตรประชาชน บางคนไม่มีบัตรประชาชน โดยใช้งบประมาณจากกองทุนตำบล เพื่อจัดทำหน้ากากอนามัยแจกให้กับทุกคนได้ โดยอาจประสานงานกับองค์กรการกุศล องค์กรชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดบริการหน้ากากอนามัย ให้กับชุมชน ซึ่งพอจะมีทางออกและความร่วมมือกันได้

๒.สปสช. แจ้งว่าประชาชนที่มีเลข ๑๓ หลักจะได้รับสิทธิ์บริการสุขภาพทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหน การคัดกรอง การดูแลรักษา สามารถใช้สิทธิจากหลักประกันสุขภาพได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังใช้เงินจากกองทุนตำบลเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ตอนนี้สปสช.ได้มีการจัดทำสื่อกลางในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจระดับสาธารณะให้กับคนในชุมชน

๓.จังหวัดยะลา ในพื้นที่เทศบาลเมือง ผู้นำท้องถิ่นมีนโยบายให้สท.และผู้นำเดินเท้าสำรวจให้ทั่วถึงทุกบ้านทุกพื้นที่ มีชุมชน ๔๐ ชุมชน เส้นทางจากปัตตานีเข้ายะลา จะมีการคัดกรองทุกเส้นทาง แต่จะมีทางเลี่ยงถนนหลักที่เป็นเส้นทางของชุมชน โดยชุมชนจะมีการตั้งด่านของชุมชนเอง มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และนับจำนวนรถที่ผ่านเข้าออกชุมชน  บางชุมชนจะมีตลาดของตัวเองโดยมีมาตรการหากใครไม่สวมหน้ากากอนามัยห้ามเข้าตลาด มีจุดคัดกรองก่อนเข้าตลาด อสม.เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขต้องทำงานทุกชุมชน ตรวจวัดอุณหภูมิ และได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านว่าประสบปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งปรากฏว่าอาชีพขับรถมอเตอร์ไซด์ขาดรายได้ คนที่ทำอาชีพเล็ก ๆ น้อย ก็ได้รับผลกระทบ มาตรการของชุมชนคือ จะมีการปิดเส้นทางผ่าน แต่กระทบกับอาชีพค้าขาย จึงได้มีการพูดคุยกันว่าร้านค้าทุกค้าต้องรับผิดชอบโดยห้ามมีการนั่งดื่มกินในร้าน มีการให้บริการเจลแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ มีการใช้รถแห่ รณรงค์ ในพื้นที่ยุโป รามัน สิ่งที่เจอคือ คนในพื้นที่ไม่ค่อยสนใจดูแลตัวเองและเพื่อนข้างเคียง ไม่มีการใส่หน้ากากอนามัยให้กับเด็ก ๆ

สภาพปัญหาสำคัญเพิ่มเติม

๑) มาตรการเตรียมการกักตัวของท้องถิ่น มาตรฐานของแต่ละท้องถิ่น ความพร้อมและมาตรฐานไม่เท่ากัน ซึ่งบางชุมชนเริ่มมีการต่อต้าน ประกอบกับผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ โดยมาจากทางอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผ่านด่านตรวจคัดกรอง การจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้ในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น

๒)ผู้ที่ใช้บริการในสถานที่ร้านน้ำชา กาแฟ ตลาดนัด/ตลาดสด

๓)การสื่อสารของชุมชนที่ต้องการภาษาถิ่น ภาษามลวยู ประกอบการจัดทำสื่อ ในเรื่องมาตรการป้องกัน เยียวยา ความเข้าใจในเรื่องของการใช้หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า กรณีที่เกี่ยวโยงกับหลักศาสนา เช่น การจัดการศพ

ชาคริต  โภชะเรือง  รายงาน

Relate topics