“รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด -19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี"

  • photo  , 1728x1296 pixel , 170,504 bytes.
  • photo  , 1728x1296 pixel , 145,315 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 59,357 bytes.
  • photo  , 1728x1296 pixel , 187,511 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 68,760 bytes.
  • photo  , 1728x1296 pixel , 144,318 bytes.
  • photo  , 1728x1296 pixel , 143,671 bytes.

วันที่ 16  เมษายน 2563

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ (สนพ.) ร่วมกับ คณะทำงานสมัชชาจังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดประชุม “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด -19  จังหวัดสุราษฎร์ธานี"  ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีชั้น 3  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 34 คน ประกอบด้วย

รองผู้ว่าราชการจังหวัด/รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ / สนง.พัฒนาชุมชน /ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(ภาคใต้)/ ศูนย์ประสานงาน เครือข่ายหลักประกันสุขภาพประชาชน/สปสช.เขต 11  / ประธานชมรม อสม./ขบวนองค์กรชุมชน/รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี/สื่อมวลชนท้องถิ่น  /ประชาสัมพันธ์จังหวัด / เครือข่ายองค์กรงดเหล้าสุราษฎร์ธานี / เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น/ประธานชมรมผู้สูงอายุ /สหกรณ์การเกษตรเมืองสุราษฎร์ธานี จำกัด/ภาคประชาสังคม/นักวิชาการสาธารณสุข  ฯลฯ

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในจังหวัดให้เกิดการสร้างความร่วมมือ หนุนเสริมให้เกิดมาตรการทางสังคมระดับอำเภอและตำบล

โดยมี  ดร.ปรเมษฐ์  จินา  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นวิทยากร โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมบอกเล่า แลกเปลี่ยนบทบาทและการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID -19 ของหน่วยงานตนเองทั้งการตั้งรับ  ป้องกัน  และมาตรการที่แต่ละหน่วยงานดำเนินการอยู่ จุดเด่นของแต่ละองค์กรที่ประสบผลสำเร็จ  และสิ่งที่จะนำไปขับเคลื่อนต่อไป

จากการประชุมในครั้งนี้เกิดแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานร่วมกัน เพื่อให้คนสุราษฎร์ ตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัย COVID-19 และเกิดมาตรการระดับจังหวัด โดยมีเป้าหมายร่วมในการขับเคลื่อนและส่งเสริม 2 ประเด็น ได้แก่
1)ส่งเสริมพื้นที่ปลอดโรค

2)อาหารบริโภคปลอดภัย

โดยมีแนวทาง 3 ระยะ คือ

"มีสติ" ป้องกันและแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค  เอาตัวรอดให้ได้ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

"มีเสบียง" สามารถแก้ปัญหาปากท้องของตนเองและคนในครอบครัวได้  และ

"มีสตางค์" พร้อมที่จะฟื้นฟูและปรับตัวในด้านการหารายได้ และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เข้าสู่วิถีชีวิตใหม่ หลังผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้  ทั้งนี้จะมีการจัดทำฐานข้อมูลกลาง ค้นหาพื้นที่ต้นแบบเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานในพื้นที่ และจัดตั้งคณะทำงานฯ เพื่อนำไปดำเนินการในพื้นที่ต่อไป

รายงาน  :  คณะทำงานสมัชชาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Relate topics