ธรรมนูญ ON AIR ครั้งที่ ๑๐ "เครือข่ายคนจนเมืองบ่อยางสงขลารับมือโควิด"

  • photo  , 1699x993 pixel , 187,168 bytes.
  • photo  , 807x960 pixel , 166,798 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 247,296 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 99,709 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 263,799 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 112,638 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 272,977 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,430 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 556,226 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,369 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 513,814 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,298 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 618,036 bytes.

ธรรมนูญ ON AIR ครั้งที่ ๑๐ "เครือข่ายคนจนเมืองบ่อยางสงขลารับมือโควิด"

ประจำวันที่ ๒๘ เมษายน เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. รอบนี้ทีมแกนนำชุมชนคนจนเมืองปรับตัวร่วมประชุมทางไกลผ่าน zoom ได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น

มีผลสรุปสำคัญๆดังนี้

๑.ทำความรู้จักสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พชอ.) ทีมพื้นที่เล่าว่าพื้นที่อำเภอเมืองได้ดำเนินการเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้ที่อยู่ในที่ดินรถไฟและอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชนเก้าเส้งเป็นพื้นที่แรกของภาคใต้ที่ดำเนินการในเรื่องของการทำโครงการบ้านมั่นคง โดยการพัฒนากระบวนการกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนสวัสดิการเพื่อปรับปรุงเรื่องที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เรื่องถนน น้ำ

-ภายใต้สถานการณ์โควิด ได้มีการปรับงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือ วางแผน แก้ปัญหาเรื่องภัยพิบัติในระยะยาว โดยพื้นที่ดำเนินการเครือข่ายบ้านมั่นคง ในเขตเมืองมี ๓ พื้นที่ คือ เทศบาลนครสงขลา(บ่อยาง) เทศบาลเมืองเขารูปช้าง เทศบาลเมืองควนลัง และระดับตำบลในทุกพื้นที่ที่มีสภาองค์กรชุมชน ในเขตเมืองดังกล่าวมีการพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อสนับสนุนงบประมาณไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนสร้างความร่วมมือกัน สำรวจข้อมูล จัดทำแผนแก้ปัญหา หรือบรรเทาปัญหาเบื้องต้น เพื่อการทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

-สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป คือ การสำรวจข้อมูลเรื่องที่อยู่อาศัยทั้งตำบลบ่อยาง โดยแยกเป็นคนที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา กลุ่มเปราะบาง นำข้อมูลมาแยกแยะเพื่อแก้ปัญหา โดยอาจทำแผนหรือแนวทางการทำงานร่วมกันกับภาคี

-การสนับสนุนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต บางพื้นที่พยายามพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงกับหน่วยงาน โดยขับเคลื่อนตำบลเศรษฐกิจ ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุนตำบลละ ๒๕,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท ที่พิจารณาความเดือนร้อนเฉพาะหน้า หรือการพัฒนาในเรื่องของแหล่งอาหารที่ช่วยดูแลกันในชุมชน นอกจากนี้มีเรื่องของคุณภาพชีวิต อำเภอละ ๑ ครอบครัว ซึ่งมีการวางแผนในการปรับงบประมาณระยะยาวในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และงบประมาณในการหารือความร่วมมือกับภาคี มีแผนไว้จังหวัดละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อหารือในแต่ละจังหวัดนั้น ๆ ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตหลายๆ ตำบลเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของฐานอาหาร โดยเชื่อมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน เครือข่ายบ้านมั่นคง

๒.ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง เกิดจากการวมตัวของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง ๗ ชุมชน ซึ่งดำเนินกิจกรรมมา ๒-๓ ปีแล้ว บางส่วนร่วมกับพอช. ในการจัดกระบวนการบ้านมั่นคง และมีแนวคิดในการดูแลตัวเองของชุมชน เป้าหมายหลักคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน เริ่มต้นนอกจากช่วยกันเองแล้ว ยังร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา ศปจ.เมือง ด้วยการสำรวจข้อมูลกลุ่มเปราะบางทางสังคม ทำกิจกรรมพื้นฐานคือห้องเรียนชุมชน จัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ และขอโครงการกับ Nodeflagship สสส. และอบจ.สงขลาเน้นการทำงานดูแลเฉพาะสมาชิกกลุ่มเปราะบางที่เป็นกลุ่มออมทรัพย์ ทั้ง ๗ กลุ่ม มีสมาชิกจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าราย โดยคัดแยกเป็น คนที่ดูแลตัวเองได้ คนที่ดูแลตัวเองไม่ได้กลุ่มจะเข้าไปช่วยดูแล โดยให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก และจัดตั้งศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเองเพื่อประสานส่งต่อความช่วยเหลือ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ อาทิ พมจ.ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พัฒนาชุมชน ศูนย์ผ้าสร้างสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ ภายใต้สถานการณ์โควิด-๑๙ สามารถทำให้นำฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงไปในพื้นที่ และแก้ปัญหาสถานการณ์เร่งด่วนนั่นคือ การขาดแคลนอาหารในกลุ่มที่ว่างงานและเปราะบางซึ่งไม่อาจรอความช่วยเหลือ จึงดำเนินการภารกิจ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” โดยใช้ศูนย์บ่อยางฯในการขอรับบริจาควัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารมาทำครัวชุมชนนำอาหารมาส่งต่อให้กลุ่มเปราะบาง โดยตกลงใช้ปิ่นโตมารับ ได้มีการทดสอบความพร้อมไปเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายนที่ผ่านมา โดยมีพัฒนาการจังหวัด มูลนิธิวิสุทธิคุณ อาจารย์จากมอ.มาบริจาควัตถุดิบ มีสมาชิกที่ยอมรับข้อตกลงจะต้องดูแล ๔๒๕ ราย

-ภารกิจปิ่นโตตุ้มตุ้ย คือ การใช้ปิ่นโตเป็นเครื่องมือสื่อสารให้คนในชุมชนเกิดการคลี่คลายจากปัญหาหรือความทุกข์ ชื่อตุ้มตุยสื่อไปทำให้สถานการณ์ดูเบาลง ในการจัดระบบปิ่นโตตุ้มตุ้ยจะเหมือนกัน ๖ ชุมชน ตั้งแต่ระบบการรับ มีจุดวางปิ่นโต จะมีการประชาสัมพันธ์ว่าวางปิ่นโตตรงไหน พร้อมการใส่หน้ากากผ้า เจลล้างมือ วิธีการรับปิ่นโต คือ มีการทำป้ายคล้องปิ่นโตว่าเป็นของใคร พร้อมเบอร์โทร และจำนวนคนที่กินอาหารในครัวเรือน เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมคือ ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมของสมาชิก เช่น บางคนว่าแจ้งว่าไม่มีบัตรประชาชน ซึ่งเป็นการไว้วางใจแกนนำ จึงกล้าบอกถึงความเปราะบางของตนเอง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวัยรุ่นในซอยเข้ามาจัดระยะห่างในการรับอาหาร มีสมาชิกเด็ก ๆ เข้ามาช่วย ทำให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นมากขึ้น ภารกิจปิ่นโตตุ้มตุ้ยจะเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑ เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยจะทำทุกวัน ระบบการจ่ายอาหารจะจ่ายแค่ครั้งเดียวต่อวัน

-ระยะต่อไป ทางเครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนกันเพื่อสร้างความยั่งยืนในการช่วยเหลือและสร้างรายได้ คือ ให้สมาชิกปิ่นโตตุ้มตุ้ยเพาะถั่วงอกและต้นอ่อนผักบุ้ง โดยนำผลผลิตมาขายในครัวของตัวเอง เพื่อให้เกิดการจัดการตัวเองและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว และหารายได้จากการติดต่อนำเสนอจัดส่งปิ่นโตตุ้มตุ้ยเป็นอาหารกลางวันให้กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ

ปัญหาอุปสรรคจากการทดสอบระบบ พบชาวบ้านบางส่วนได้รับปิ่นโตไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดการต่อว่าในแง่มีการเลือกปฏิบัติ แต่แกนนำสามารถชี้แจงเหตุผลว่า ได้สำรวจกลุ่มคนเปราะบางไว้ก่อนหน้า และกรณีที่อดอาหารจริงๆทีมงานก็พร้อมเพิ่มรายชื่อภายใต้ข้อตกลงที่กำหนด และชาวบ้านไม่รู้ว่าดำเนินการในฐานะหน่วยงานใด ศูนย์บ่อยางฯเป็นใครมาจากไหน การทำงานกับนักการเมืองแกนนำพยายามวางตัวเป็นกลาง พร้อมทำงานได้กับทุกฝ่ายโดยไม่เลือกข้างหรือรับเงื่อนไขเฉพาะคน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานระยะยาว

พลเมืองตื่นรู้สู้ภัยโควิด

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics