"กระจกวัดใจ : สุขภาพจิตกับโควิด ๑๙"

  • photo  , 1316x640 pixel , 149,648 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 77,691 bytes.
  • photo  , 1316x640 pixel , 90,642 bytes.
  • photo  , 1316x640 pixel , 99,351 bytes.

"กระจกวัดใจ : สุขภาพจิตกับโควิด ๑๙"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

ปัญหาสุขภาพจิตวัดได้จากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ อารมณ์เครียดง่าย ซึมเศร้า ความสัมพันธ์กับคนอื่นแย่ลง ทะเลาะกับคนอื่นมากขึ้น การทำงานแย่ลง การดูแลตัวเองมีปัญหานอนไม่หลับ กินไม่ได้ ความเครียดส่งผลต่อร่างกาย หากจัดการไม่ได้จากภาวะเครียดธรรมดาจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง คนธรรมดา 2-3 วันสามารถจัดการได้ แต่หากมีมีปัญหาต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่การรักษา

จากการพูดคุย "ธรรมนูญออนแอร์" พบปัญหาสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ ทีมเยียวยาจิตใจของเขตสุขภาพที่ 12 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ได้ประเมินความเครียดของผู้ได้รับผลกระทบมาตลอด พบว่ากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิดมีระดับความเครียดสูงสุด ประเมินตั้งแต่เดือนมีนาคม-5 พค. จากจำนวน 3562 คน พบ 221 คนหรือราว 6% ผู้ติดเชื้อเองพบความเครียด 1% กลุ่มญาติ 3%

ศูนย์สุขภาพจิตได้ใช้ "กระจกวัดใจ" เป็นเครื่องมือที่ศูนย์ฯได้มอบให้ชุมชนบ่อยางไปใช้ วัดภาวะความเครียดตั้งแต่ไม่เครียด เครียดเล็กน้อย จนเครียดมากที่สุด สื่อสารผ่านภาพสัญลักษณ์ใบหน้าพร้อมกระจกส่องเพื่อใช้ประเมินตัวเองเบื้องต้น ใช้ประกอบกับความเข้าใจที่มีต่อคนจนเมือง ที่หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ควรไปสร้างความคาดหวังในเวลาที่ลงไปช่วยเหลือ เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หากว่าไม่เป็นจริงจะยิ่งทำร้ายคนจนมากกว่าเดิม ประกอบกับสถานการณ์จริงควรตระหนักร่วมกันว่าทุกคนต้องช่วยตัวเองก่อนจึงจะไปช่วยคนอื่น และคนจนเหล่านี้มีธรรมชาติที่ดีอยู่ก็คือ อดทนกับสภาพการถูกบีบคั้นทางจิตใจมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะสภาพชีวิตปกติในแต่ละวันก็แทบไม่มีความหวังอยู่แล้ว ในสถานการณ์โควิด สิ่งที่เขากังวลคือเรื่องอาหาร พรุ่งนี้จะมีข้าวกินหรือไม่ มากกว่าความกลัวภาวะสุขภาพที่เกิดจากได้รับเชื้อโรค

การมีกระจกไว้เตือนสติเท่ากับบอกว่าการตั้งสติได้จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด บวกกับการมีสื่อไวนิล แผ่นพับไปวางไว้ในจุดที่วางปิ่นโตของครัวกลาง เขาก็หยิบหรือยืนอ่าน เป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ไม่ได้ผ่านการถูกบังคับ

แต่ก็พบปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนคนจนเมืองที่เกิดจากอาการกลัวตาย ระแวงคนรอบตัว ใส่หน้ากาก 2 ชั้นอยู่ตลอดเวลา มีอารมณ์แปรปรวน ชุมชนได้ดูแลด้วยความเชื่อในสัญชาตญาณเอาตัวรอดของมนุษย์ และให้เวลาให้ได้เรียนรู้ เว้นแต่ควบคุมพฤติกรรมไม่ได้จริงจึงจะส่งแพทย์ นอกจากนั้นก็ยังพบปัญหาอยากฆ่าตัวตาย มีการขู่พ่อแม่ว่าอยากจะฆ่าตัวตายอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

Relate topics