ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๑๗ "ตรังใช้พลเมืองอาสารับมือโควิด ๑๙"

  • photo  , 960x540 pixel , 74,295 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,705 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 40,754 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,568 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 42,956 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,744 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 32,557 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,120 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,803 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,551 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,211 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,331 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,489 bytes.

"ตรังใช้พลเมืองอาสารับมือโควิด ๑๙"

ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๑๗  วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

โดยกขป.เขต ๑๒ ร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง/node flagship สสส.ตรัง เรียนรู้ปฎิบัติการพลเมืองอาสาของพื้นที่ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

มีประเด็นสำคัญดังนี้

๑)สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง ขับเคลื่อนภายใต้ประเด็นงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง และมีโครงการ Node flagship ในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเรื่องการจัดการขยะและเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เป้าหมายการทำงาน ๑๒ พื้นที่ อาทิ ตำบลบางด้วน ตำบลนาตาล่วง ตำบลกันตังใต้ ตำบลนาโยงใต้ เทศบาลควนกุน เทศบาลคลองปาง และคณะอำเภอเมืองตรัง โดยมีภาคีความร่วมมือ คือ วิทยาลัยพยาบาลตรัง มอ.ตรัง มูลนิธิชุมชนสงขลา พมจ.ตรัง ศูนย์บริการทั่วไปคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พอช. อสม อพม. นอกจากนั้นยังมีกลไกศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาตรังยั่งยืน มีพลเมืองอาสาทั้ง ๑๐ อำเภอ อยู่ในช่วงการนำข้อมูลช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ภายใต้สถานการณ์โควิด ร่วมกับวัดนิโคธาราม สภาองค์กรชุมชนตำบล กำนัน ท้องถิ่นท้องที่ อาสาสมัคร โดยการระดมทุน การประสานสภากาชาดและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดตรังตอนนี้ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ มาตรการตอนนี้อยู่ระหว่างการป้องกัน เนื่องจากมีผู้ที่อพยพมาจากจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และมีมาตรการให้มีการกัก ๑๔ วัน

๒)สสว.๑๑(สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ) เป็นหน่วยงานด้านวิชาการทำงานด้านงานวิจัย งานเครือข่าย งานนโยบาย ทำงานร่วมกับทีม 0ne Home ของกระทรวง พม. ภารกิจภายใต้สถานการณ์โควิดคือ การสำรวจผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเยียวยา มีพื้นที่ปฏิบัติการ Social lab ในจังหวัดตรังคือ ตำบลบางเป้า อ.กันตัง ทั้งนี้ในการเลือกพื้นที่มาจากการเสนอในวง 0ne Home การเพิ่มตำบลอื่นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกับทีม0ne Home และระดับนโยบายของผู้บริหาร และอาจมีการหนุนเสริมโดยโครงการอื่น ๆ

๓)พอช.(สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) ดำเนินการในเรื่องของสภาองค์กรชุมชน ด้านสวัสดิการ ด้านเศรษฐกิจฐานราก ด้านชุมชนบ้านและเมือง ด้านการผลักดันนโยบาย เช่น ภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละด้านดำเนินการโดยกลไกขององค์กรชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ส่วนเจ้าหน้าที่ พอช.จะทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยงให้กับชุมชน

๔) ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด ในอำเภอห้วยยอดมีคนที่ทยอยเดินทางกลับมาจากภูเก็ต กระบี่ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานที่กักกันตัวยังไม่แน่นอน รอการประสานความชัดเจนอีกครั้ง ในเรื่องของงประมาณยังไม่เพียงพอ กรณีที่กักที่บ้านไม่ได้ต้องมาเช่าบ้านอยู่ ซึ่งต้องมีการประชุมหามาตรการในการช่วยเหลือกันต่อไป

ตำบลทุ่งต่อ มีทั้งหมด ๘ หมู่บ้าน ๑,๒๐๐ ครัวเรือน อาศัยอยู่จริง ๙๐๐ ครัวเรือน อาชีพหลักคือกรีดยาง ทำสวนปาล์ม และรับจ้าง ดำเนินงานในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางและยากลำบากในพื้นที่ เช่น ร่วมกับสภาองค์กรชุมชนในการซ่อมแซมบ้านผ่านโครงการบ้านพอเพียง ทำไปแล้ว ๑๕ หลัง และขอการสนับสนุนวัสดุซ่อมบ้านจากพมจ.ดำเนินการไปแล้ว ๑๐ หลัง นอกจากนั้นในช่วงสถานการณ์โควิดยังมีการระดมทุนร่วมกับวัดและท้องถิ่นในการแจกถุงยังชีพ ๘๙๐ ครัวเรือนครบทุกหลังโดยไม่เลือกปฎิบัติ การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางพบปัญหาความทุกข์ซ้ำซ้อนในครัวเรือน ทั้งการเข้าไม่ถึงสิทธิ์ บัตรประชาชน ลูกมาก มีลูกเลี้ยง อสม.ทำงานร่วมกับทีมกำนัน เยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงอย่างใกล้ชิด ปัญหาที่พบคือ ญาติของผู้ป่วยไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมทั้งญาติจะไม่รู้สิทธิของตัวเอง จึงปรับวิธีการทำงานโดยเยี่ยมบ่อยขึ้น ไปแต่ละครั้งจะสำรวจข้อมูลความต้องการ วัดความดัน นำสิ่งของไปมอบ และเขียน care plan จำแนกการช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย

การทำงานอาศัยการประสานของกำนันทำงานร่วมกับท้องถิ่น พอช. พม. อสม. อพม. วัด โรงเรียน และสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง อนาคตต้องการลดผลกระทบด้านรายได้ของผู้ตกงานที่ยังมีปัญหาอีกมาก ดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมอาชีพปลูกผัก โดยต่อยอดจากเกษตรกรที่สามารถดำเนินการได้ดี ปัจจัยสำเร็จในการทำงาน คือ ผู้นำต้องมีความเสียสละ ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด ทุ่งต่อมีพื้นฐานดีคือ ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ เจ้าอาวาส ผอ.โรงเรียน มีการประชุมกันสม่ำเสมอ และใช้กลไกการประชุมในการตัดสินใจ เช่น กรณีการคัดกรองผู้จะได้รับความช่วยเหลือ นอกจากนั้นยังมีอสม.ที่มีความสามารถ ซึ่งอสม.จะรู้ข้อมูลของสมาชิกทุกคน นำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ

๕) ตำบลบ่อหิน อาศัยบทบาทเป็นอพม.และพลเมืองอาสา สำรวจข้อมูลประชากรคนยากลำบากใน ม.๓ ครบทุกหลัง แล้วประสานส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนินการในการช่วยเหลือคนยากลำบากเพื่อให้เข้าถึงงบประมาณจากโครงการของรัฐ

๖)ข้อเสนอแนะ/แนวทางความร่วมมือ

๖.๑ การประสานความร่วมมือควรใช้กลไกของพชอ.(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ)ในการเป็นเจ้าภาพหลัก ขับเคลื่อนในเรื่องของการรวบรวมข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆให้เป็นฐานเดียวกัน จัดทำแผนในการดูแลภาพรวมของพื้นที่ และใช้งบประมาณจากภาครัฐโดยเฉพาะจากงบพัฒนาจังหวัด และกองทุนต่างๆ ที่มีในพื้นที่ทำงานร่วมกัน อาทิ กองทุนสุขภาพตำบล กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนคนพิการ ฯลฯ ในการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนพื้นที่ระดับอำเภอ เพื่อให้เข้าถึงการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง

๖.๒ สร้างพลเมืองจิตอาสาในแต่ละตำบล และทำงานบูรณาการร่วมกันกับพชอ. โดยหน่วยงานต้องคืนข้อมูลให้กับพลเมืองอาสา และจัดทำข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน มีระบบข้อมูลกลางที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วม เอื้อต่อคนใช้ และให้เพื่อนมาร่วมทำงาน ประโยชน์สูงสุดคือประชาชนทุกคน

๖.๓ ความร่วมมือในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยงกับภาคี ในพื้นที่ตำบลทุ่งต่อ ระหว่างกขป.เขต ๑๒ สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

๖.๔ เสนอให้สปสช.เขต ๑๒ ผลักดันอบจ.ตรัง เพื่อจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด


ชาคริต โภชะเรือง  รายงาน

Relate topics