ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๑๘ "สงขลาใช้ฐานธรรมนูญชุมชนรับมือโควิด"

  • photo  , 1476x1109 pixel , 175,274 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,279 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,431 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,734 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,660 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 92,685 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 85,900 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 31,707 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,324 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 84,479 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,829 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,215 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 78,071 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 45,254 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,436 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,275 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 83,549 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 99,291 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,446 bytes.

"สงขลาใช้ฐานธรรมนูญชุมชนรับมือโควิด"

บทสรุป ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๑๘  ประจำวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ พร้อมสาระสำคัญดังนี้

๑.ความร่วมมือกับโครงการบัณฑิตจ้างงานในพื้นที่ ในส่วนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.รับเป็นหน่วยจัดจ้างงาน ในพื้นที่สงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่เดิมในการทำงาน(รอบแรก) คือ ๑๓ ตำบล ได้แก่ เทศบาลอำเภอหาดใหญ่ เทศบาลคอหงส์ ทับช้าง รำแดง ปากบาง เทพา แม่ทอม คลองเปียะ บ้านนา เชิงแส ท่าข้าม ป่าชิง ทับช้าง ฉาง ปริก สามารถดำเนินการได้เลยในเดือนมิถุนายน และจะมีพื้นที่เพิ่มเติม อีก ๒๓ แห่ง กำลังอยู่ระหว่างประสานกับเครือข่ายต่างๆ ประเด็นที่สามารถทำได้ในพื้นที่ คือ ประเด็นเกษตร ประเด็นสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสถานการณ์โควิดในระดับพื้นที่ โดยมอ.จะประสานไปทางผู้นำท้องถิ่นและรพ.สต. ทั้งนี้พื้นที่ต้องประสานความร่วมมือกันในการทำงาน เชื่อมโยงกับภาคีทุกภาคี และตัดสินใจการทำงานร่วมกัน เป็นข้อมูลภาพรวมทั้งตำบล แต่ทำงานในพื้นที่ที่สนใจ อาจไม่ครอบคลุมทั้งตำบล สามารถกำหนดพื้นที่ย่อยในการดำเนินการได้เลย แนวคิดคือ การให้บัณฑิตอาสาร่วมมือกับเครือข่ายในระดับพื้นที่ เชื่อมโยงกับเทศบาลหรืออบต. เพื่อบูรณาการการทำงานในการขับเคลื่อน “บัณฑิตเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงการทำงานของทุกภาคส่วน”

๒. การปรับใช้ธรรมนูญตำบลเป็นเครื่องมือในการรับมือสถานการณ์โควิด ในพื้นที่ ๑๔ ตำบล มีตัวอย่างที่น่าสนใจดังนี้

๒.๑ ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลคูหา ต่อยอดดำเนินการ “ธรรมนูญห้วยเต่ากำปงกีตอ” แปลว่าห้วยเต่าหมู่บ้านของเรา ห้วยเต่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย สงขลา อยู่ในพื้นที่สีแดง คูหาเป็นพื้นที่ดำเนินการธรรมนูญตำบลน่าอยู่ มีศูนย์สร้างสุขชุมชน ปัจจุบันเป็นตำบลแม่ข่ายของสสส.สำนัก ๓ จุดเด่นของธรรมนูญนี้ดำเนินการโดยกลุ่มสภาเยาวชนห้วยเต่า พวกเขามีอายุ ๑๕-๒๐-๓๐ ปี รวมตัวกันในลักณะ “พี่ดูแลน้อง” มาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรับจ้างถางสวน เด็กๆรวมตัวกันทุกเย็น พวกเขาต้องการระดมกองทุนกลางในรูปแบบเลี้ยงน้ำชา เพื่อให้มีสนามกีฬาในการออกกำลังกาย ลดปัญหายาเสพติด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจึงมาเป็นพี่เลี้ยงต่อมาได้รับการหนุนเสริมจากอบต.ได้พาไปดูงานที่ตำบลนาทอนจนได้มีการตกลงจัดทำธรรมนูญหมู่บ้าน

โดยกำหนดยุทธศาสตร์ของหมู่บ้านในเรื่องสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข คุณภาพชีวิต การจัดการขยะ และการดูแลกลุ่มเปราะบาง

ด้านสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมขยะบุญ ร้านค้าปลอดขยะพลาสติก มีร้านค้าลงทะเบียน ๙ ร้าน ผู้ที่มาซื้อสินค้าของร้านดังกล่าว จะได้รับฉลากและสิ้นเดือนจะมีการจับฉลากให้รางวัลคนที่ไม่ใช้พลาสติก

กิจกรรมที่กำลังดำเนินการในพื้นที่ในช่วงรับมือโควิด คือ การทำตู้ปันสุข การทำซุ้มประตูรับรายอ ทำความสะอาดหมู่บ้าน การดูแลกลุ่มเปราะบางร่วมกับรพ.สะบ้าย้อยในลักษณะจับคู่กันดูแล การส่งเสริมการปลูกกาแฟ ทดลองศึกษาใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปรองหลุมกาแฟเพื่อดูดซับน้ำในช่วงหน้าแล้ง มีกลุ่มอาชีพแม่บ้านเครื่องแกงตำเอง จัดฐานเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน ร่วมดำเนินการโดย node flagship สสส.สงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดผ่านมาทางมูลนิธิชุมชนสงขลา อบต.คูหา รพ.สะบ้าย้อย

๒.๒ ธรรมนูญตำบลน่าอยู่นาหว้า การจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ดำเนินการทำในภาพรวมของตำบลภายใต้ความร่วมมือของท้องถิ่น ท้องที่ รพ.สต โรงเรียน ชุมชน ในพื้นที่มีการใช้ฐานข้อมูลคนยากลำบากในการทำงาน ในช่วงปี ๖๑ ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ.สงขลา ใช้ฐานข้อมูลกลางในการสำรวจความต้องการและการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางและยากลำบากในพื้นที่ โดยใช้พลังจิตอาสาและอสม.ในการจัดเก็บข้อมูล พบคนยากลำบากจำนวน ๘๗ คน ต่อมาปี ๖๒ มีการทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ แนวคิดคือกระบวนการมีส่วนร่วม ใช้เวทีสภาตำบลสันติสุขเป็นเวทีแลกเปลี่ยน ทั้ง ๑๒ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด ๘,๐๐๐ กว่าคน รวมทั้งมีการจัดเวทีย่อยระดับหมู่บ้าน การสร้างการยอมรับฐานข้อมูลกลางมีตัวแทนของแต่ละกลุ่ม มาร่วมคิดร่วมแลกเปลี่ยน และรับรองร่วมกันโดยท้องถิ่น ท้องที่ อบต. และผู้แทนอสม ได้จำนวนคนยากลำบากที่ผ่านการรับรอง ๒๖๐ คน

ปี ๒๕๖๓ โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดผ่านมาทางมูลนิธิชุมชนสงขลาให้แต่ละหมู่บ้านคัดเลือกคนยากลำบากที่เดือนร้อนจริง ๆ ภายใต้สถานการณ์โควิด คัดกรองได้จำนวน ๔๐ คน โดยการลงไปเยี่ยม ให้กำลังใจ ทั้งผู้ป่วยและญาติ มีการร่วมบูรณาการกับองค์กรอื่น ๆ เช่น ศอบต. พมจ. ได้ใช้ฐานข้อมูลที่เคยเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลกลางในการช่วยเหลือ บทเรียนที่พบก็คือเดิมแต่ละหมู่บ้านมีกฎกติกาอยู่แล้ว การเชื่อมโยงกติกาภายใต้ธรรมนูญตำบลทำให้กติกาที่ใช้มีการยกระดับและมีความชัดเจนมากยิ่งขั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน คือ การพูดถึงธรรมนูญ เป็นคล้ายๆ รัฐธรรมนูญตำบล เช่น การปรับ ๑๐ เท่ากรณีที่มีการลักลอบตัดต้นไม้ การจับปลาในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

๒.๓ ธรรมนูญเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา ดำเนินการร่วมกันเพื่อประกอบการจัดทำมาตรฐาน SGS-PGS โดยเกษตรกรที่จะขอใช้มาตรฐานดังกล่าวจะมีกติการ่วมกัน คือ

๑) ไม่ฉีดยา ฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง (สารเคมีจำพวกพาราควอต , ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอต)

๒) วัสดุปัจจัยการผลิตไม่เจือปนสารเคมี ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย โดยให้สมาชิกจัดหาปุ๋ยอินทรีย์ หรือวัสดุอื่น ๆ ภายในเครือข่ายกันเองให้ได้ก่อนที่จะไปซื้อจากที่อื่น หากเป็นปุ๋ยจากมูลสัตว์จากฟาร์ม ต้องผ่านกระบวนการหมักอย่างน้อย ๑ เดือน และกรณีโดโรไมล์หรือปูนขาวสามารถใช้ได้ในกรณีปรับปรุงสภาพของดินเท่านั้น

๓) หากอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน ๖ เดือน – ๑ ปี(กรณีพืชผัก ๖ เดือน กรณีไม้ผล ๑ ปี) หลังจากนั้นให้หยุดการใช้ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด โดยในการตรวจสอบจะมีสัญลักษณ์แถบสีเป็นตัวบ่งชี้

๔) ห้ามมีการเผาทำลายเศษซากพืชในแปลงการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยไม่รวมขยะพลาสติกซึ่งต้องใช้วิธีการจัดการในรูปแบบที่เหมาะสม

๕) ไม่มีการกดขี่แรงงานในครอบครัว และแรงงานจากภายนอก โดยให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลามาจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรจากหลายๆกลุ่มทั้งมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ โดยการสนับสนุนของสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา(๔PW) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สนง.สาธารณสุขจังหวัด รพ.หาดใหญ่ สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สถานีพัฒนาที่ดิน บ.ประชารัฐฯสงขลา

มาตรฐานที่ใช้ออกใบรับรองให้คือ มาตรฐานสงขลากรีนสมาย SGS-PGS ซึ่งมีการตรวจแปลงทั้งหมดประมาณ ๑๐๐ แปลง และรับรองไปแล้ว ๕๐ ราย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ปัญหาที่พบมากคือเรื่องของไม่มีแนวกันชน ซึ่งกรรมการมีข้อเสนอให้สมาชิกปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ในช่วงสถานการณ์โควิด ตลาดเขียวหลายจุดถูกปิด จึงได้พัฒนารูปแบบตลาดเคลื่อนที่ผ่าน “รถเขียว”greensmile mobile ดำเนินการโดยคณะทำงานเครือข่ายเกษตรสุขภาพฯในเขตเมืองตำบลควนลังและหาดใหญ่ต้องการต่อยอดผลผลิต เปิดแนวคิดในการเชื่อมโยงผลผลิตของเครือข่ายไปยังผู้บริโภคที่อยู่ในเมือง จัดเป็นตลาดเคลื่อนที่เพื่อเป็นการแบ่งปันอาหารจากชนบทสู่คนเมืองในช่วงภาวะโควิด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทางอำเภอหาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เปิดพื้นที่ด้านหน้าให้นำรถจอดบริการแก่ผู้บริโภค ต่อไปสามารถรวบรวมเครือข่ายจัดระบบตลาดเคลื่อนที่ในแต่ละจุด สร้างเป็นแบรนด์ร่วม กระจายเส้นทาง รวบรวมผลผลิตของสมาชิกเพื่อขายให้กับคนเมือง

๒.๔ ธรรมนูญคนจนเมืองตำบลบ่อยาง สร้างข้อตกลงเพื่อจัดทำครัวกลางในช่วงสถานการณ์โควิด เพื่อช่วยเหลือคนจนคนตกงานและกลุ่มคนเปราะบางบาง เรียกว่าภารกิจ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” เป็นรูปแบบการรับบริจาคทั้งเงินและวัตถุดิบประกอบการปรุงอาหารช่วยเหลือคนยากลำบาก โดยลงทะเบียนล่วงหน้ากับครัวชุมชน เพื่อให้แม่ครัวเตรียมอาหารได้ตามจำนวน ช่วงเช้าปิ่นโตของครัวเรือนเป้าหมายจะถูกนำมาวางไว้พร้อมป้ายติดที่ปิ่นโต มีชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เบอร์โทรศัพท์ และจำนวนคนในครัวเรือนที่ต้องการ และให้สมาชิกกลับมารับปิ่นโตไปทานที่บ้านในเวลา ๑๑ โมง ภารกิจปิ่นโตตุ้มตุ้ยได้ทดลองปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓ พร้อมกันทั้ง ๖ ครัว มีชุมชนแหลมสนอ่อนเป็นครัวกลาง อีก ๕ ครัวเป็นเครือข่าย คือครัวหลังอาชีวะ ชุมชนหัวป้อม ๑-๔ ชุมชนกุโบร์ และชุมชนพาณิชย์สำโรง โดยมีคนยากไร้ที่เข้าถึงอาหารจำนวน ๔๒๕ ราย หรือ ๔๒๕ อิ่ม

การบริหารจัดการ คือ ช่วงเย็นของแต่ละวันแม่ครัวจะมาเบิกวัตถุดิบซึ่งได้มาจากการบริจาค มีข้าวสาร ไข่ เครื่องปรุง ผัก กระจายไปตามชุมชนต่าง ๆ ในส่วนของข้าวสุกครัวกลางจะจัดข้าวนึ่งไว้ เพื่อให้เพียงพอกับสมาชิกทั้งหมดที่มาแจ้งความประสงค์ไว้ ภารกิจปิ่นโตตุ้มตุ้ยเริ่มเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๖๓ แต่ละครัวจะมีระบบการบริหารจัดการเหมือนกัน ต่างกันเพียงช่วงของระยะเวลาในการรับปิ่นโต แต่ส่วนใหญ่ช่วงเวลาในการรับอาหารจะไม่เกินเที่ยง ในช่วงวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๖๓ ยังมีการปฏิบัติการเหมือนกันทั้ง ๖ ครัว แต่ภายหลังวันที่ ๘ พฤษภาคม ๖๓ ครัวที่ปรุงอาหารสดเหลือเพียงครัวเดียวคือครัวกลาง อีก ๕ ครัว ขอรับบริจาคอาหารแห้งแทน

รูปแบบปิ่นโตตุ้มตุ้ย คือ

๑)ภาชนะหลักที่นำมารับอาหารต้องเป็นปิ่นโต เนื่องจากปิ่นโตมีอยู่แล้วทุกบ้าน เป็นการลดการใช้ขยะและพลาสติก

๒)มีวัตถุดิบอะไรก็ทำเมนูตามนั้น โดยมีข้าวสาร ไข่ เป็นพื้นฐาน

๓)แต่ละครัวเรือนบันทึกการรับจ่ายรายวัน

๔)ลงทะเบียนผู้ต้องการล่วงหน้าเน้นผู้ได้รับผลกระทบ

๕)ช่วยเหลือได้ทั้งคนไทยและต่างชาติ เป็นต้น

กติกาทำให้ชุมชนมีระบบการทำงานที่ดีขึ้น ได้มีการประเมินการช่วยเหลือด้านอาหารจากวันที่ ๑ พฤษภาคม จนถึงปัจจุบัน คือ สามารถช่วยคนที่ขาดแคลนอาหารได้ถึง ๖,๐๐๐ อิ่ม วัดจากจำนวนข้าวที่นึ่งเป็นถ้วย ๆ ในช่วงภาวะโควิด นอกจากนี้ยังช่วยเหลือคนที่ว่างงาน ให้มีงานทำ และมีอาหารกิน

ตำบลบ่อยาง มีการใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล สำรวจข้อมูลร่วมกับศปจ.สงขลา ในช่วงแรกใช้ข้อมูลร่วมกับเครือข่ายบ้านมั่นคง และได้รับทุนสนับสนุนจาก Node flagship สสส.สงขลา รวมกันเป็นเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ การเก็บข้อมูลใช้ข้อมูลจากชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้ฐานข้อมูลจากกิจกรรมปิ่นโตตุ้มตุ้ย หน่วยงานได้นำไปใช้ประโยขน์ในการคัดกรองและช่วยเหลือ กติกาเดิมเป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง แต่ภายใต้สถานการณ์โควิด ได้เพิ่มการดูแลครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิดด้วย แต่มีกติกาคือดูแลเฉพาะเรื่องอาหาร โดยขยายแนวคิดไปสู่กลุ่มเปราะบางทั้งชุมชน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อนที่จะมาขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่มฯ ยึดหลักการพึ่งตนเองด้านปัจจัยสี่ และมาจัดลำดับว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้ ที่ผ่านมาชุมชนได้ทำในเรื่องของเสื้อผ้ามือสอง และได้มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือกัน การพึ่งตนเองด้านยา หวังพึ่งการข้าถึงสิทธิหลักประกันฯ ส่วนในเรื่องที่อยู่อาศัย ตอนนี้ชุมชนทั้งชุมชนอาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐ เป็นที่ดินของการรถไฟ ซึ่งการพึ่งตนเองด้านนี้ต้องอาศัยความร่วมมือและการช่วยเหลือจากหลาย ๆ ภาคส่วนในการผลักดันร่วมกัน

๒.๕ ธรรมนูญพหุวัฒนธรรมเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ธรรมนูญตำบลปาดังเบซาร์ เริ่มด้วยการจัดทำฐานข้อมูล และลงพื้นที่ ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี ในการทำงานใช้ฐานพหุวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดระเบียบ และทำงานร่วมกัน ในช่วงสถานการณ์โควิด ใช้กลไกกลุ่มเพื่อนพึ่งพิง และสภาองค์กรชุมชน ชมรมมุสลิมบุหลันแดง ศุลกากร สถานีตำรวจ วัด มัสยิด เทศบาล สโมสรไลออนส์ บริษัทห้างร้าน คัดเลือกบุคคลที่ควรได้รับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ผ่านระบบข้อมูลกลางของชุมชน จัดระบบการให้ความช่วยเหลือร่วมกันระหว่างวัด มัสยิด ช่วยกันดำเนินการโดยไม่ติดขัดในข้อปฎิบัติทางศาสนา

สิ่งที่กังวลคือ เรื่องปากท้อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกัน ในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ ๙๐ เปอร์เซ็นต์เกิดจากการปิดด่าน ทำให้เกิดผลกระทบ เนื่องจากต้นทุนหลักของรายได้คือ เมืองชายแดนมาเลเซีย ข้อสรุปคือ การจัดทำตลาดพหุวัฒนธรรมรองรับ ซึ่งเคยร่วมกับมอ.ทำงานวิจัยเอาไว้ หากมีบัณฑิตจ้างงานลงมาจะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่เชื่อมโยงกับฐานวัฒนธรรมได้

๒.๖ ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลโคกม่วง ร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอคลองหอยโข่ง จัดทำ "เจลพระธรรม" ดำเนินการโดยคณะภิกษุสงฆ์จัดทำเจลไปช่วยชุมชน

๓. ข้อค้นพบสำคัญและแนวทางความร่วมมือ

๓.๑ ข้อค้นพบการจัดทำธรรมนูญของชุมชนในสงขลาอยู่บนฐาน

๑)การใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ๑. ต้นทุนเครือข่ายภาคประชาสังคม/ชุมชน ๒. ต้นทุนหน่วยงานท้องถิ่น ๓. การสนับสนุนจากเครือข่ายหน่วยงานต่างๆนอกพื้นที่

๒)กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ คือ การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมผ่านการทำข้อตกลงร่วมกันหรือ “ธรรมนูญชุมชน” ควบคู่กับเครื่องมืออื่น ๆ นำมาใช้ประกอบ เช่น การทำฐานข้อมูลกลางรายบุคคลผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ การสร้างการยอมรับของข้อมูลจากหน่วยงาน ชุมชน สังคม โดยการตรวจสอบแลกเปลี่ยนร่วมกัน และใช้ระบบการจัดการที่ชัดเจน เช่น กรณีการใช้รถเขียว ในการจัดการตลาดเคลื่อนที่ ตลาดพหุวัฒนธรรม และสื่อสารต่อสาธารณะ

๓)การประยุกต์ใช้ธรรมนูญชุมชนให้เข้ากับสถานการณ์โควิด ธรรมนูญที่ดีควรดำเนินการได้อย่างยืดหยุ่นและปรับเข้ากับสถานการณ์ได้ ทั้งระดับกว้าง ระดับลึก เช่น กรณีปิ่นโตตุ้มตุ้ย สามารถสื่อความเป็นชุมชนแออัดที่ช่วยเหลือกันได้ จัดการตนเองได้ แสดงให้เห็นศักยภาพ น้ำใจและวิธีการจัดการโดยชุมชนเอง และมิติของนักการเมืองหรือรัฐที่ไม่สามารถจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ต้องอาศัยความเป็นองค์กรชุมชนเข้าไปช่วยจัดการ กรณีพื้นที่ปาดังเบซาร์ ภาพที่สำคัญคือ ความเป็นเมืองชายแดนและภาคองค์กรชุมชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน สถานการณ์ที่หนักหนาคือ เรื่องเศรษฐกิจของคน การจัดการเรื่องตลาดพหุวัฒนธรรมที่มีความเป็นเฉพาะ ต้องจัดการความทันสมัยให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของคนปาดังเบซาร์

๓.๒ ในการทำงานระดับพื้นที่ปัจจัยความสำเร็จสำคัญ อยู่ที่กลไกกลางที่จะประสานความร่วมมือ เช่น ปลัดหรือหัวหน้าสำนักงานปลัด หรือภาคประชาสังคมที่ได้รับการยอมรับเป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยง รวมกับเครื่องมือสนับสนุน เช่น ฐานข้อมูลกลางที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย การมีกองทุนกลางเพื่อลดช่องว่างการทำงานในสถานการณ์เฉพาะหน้า

๓.๓ ในงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ประเด็นหลักที่จะขับเคลื่อนร่วมกันในสถานการณ์โควิดก็คือ ประเด็นเรื่องอาหาร และกลุ่มเปราะบางทางสังคม โดยมีหน่วยส่งเสริมการปฏิบัติ (ภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ) หน่วยพื้นที่ และหน่วยการเชื่อมโยง (กขป.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานแต่ละประเด็น จะทำให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน กขป.จะช่วยถอดบทเรียนการทำงานเชิงลึกของแต่ละพื้นที่ในการเฝ้าระวังป้องกันภายใต้สถานการณ์โควิด

๓.๔ ความร่วมมือกับโครงการบัณฑิตจ้างงานที่ผ่านไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อทำงานข้อมูลหนุนเสริมภาคีเครือข่าย จัดทำแผนและสร้างรายได้สร้างอาชีพในชุมชน

ปฎิบัติการพลเมืองตื่นรู้สู้ภัยโควิด

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics