"ต้นแบบงานดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม จ.สงขลา"

  • photo  , 1280x720 pixel , 167,033 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,039 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 96,164 bytes.

"ต้นแบบงานดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม จ.สงขลา"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ ๑๒  มิถุนายน ๒๕๖๓  เข้าร่วมประุชมผ่าน  ZOOM ในฐานะมูลนิธิชุมชนสงขลา/กขป.เขต ๑๒ และคณะอนุกรรมการ ร่วมกับประธานกขป.เขต ๑๒ และเครือข่ายที่ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจ.สงขลา ช่วยกันบอกเล่าการทำงานต่อคณะกรรมการประเมินการประกวด โครงการนวัตกรรมท้องถิ่นตามเกณฑ์รางวัลบริการสาธารณะขององค์การสหประชาชาติ(United Nations Public Service Award) โดยมีปลัดฯรักษาการนายกฯอบจ.เป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูล

กองทุนฯทำหน้าที่เสมือนแม่ข่าย ประสานเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการทำงานที่มีจำนวนมาก กระจัดกระจายไปคนละทาง ให้มีจุดกลางในฐานะท้องถิ่นที่จะเป็นเจ้าภาพหลัก ประสานกับส่วนภูมิภาคที่มีส่วนกลางกำหนดนโยบาย เท่ากับ ๑ ประเทศ ๒ ระบบ

กองทุนนี้ได้พัฒนากลไกสำคัญ ประกอบด้วย

๑.ศูนย์สร้างสุขชุมชน ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว ๕ แห่ง กำลังขยายอีก ๖ แห่งใน ๑๐ อำเภอของสงขลา ทำหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพให้กับคนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื่นฟู

๒.การทำศูนย์ซ่อมสร้างสุข เพื่อซ่อมกายอุปกรณ์ เช่น เตียง รถเข็น ไม้เท้า โดยมี ๒ จุดคือ หน้าวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ และวิทยาลัยการอาชีพนาทวี โดยมีการจ้างงานคนพิการ ๕ คนประจำศูนย์

๓.ศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์ช่วยหายใจ ๑ ศูนย์

๔.บ้านสร้างสุข ดูแลปรับสภาพบ้านให้กับกลุ่มเป้าหมาย

๕.ศูนย์ center ข้อมูลกลาง ที่มีระบบข้อมูลประชากรเป้าหมายฐานเดียวกันทั้งจังหวัดในกลุ่มคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง และimed@home ระบบเยี่ยมบ้านให้อาสาสมัครสำรวจความต้องการ บันทึกกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การสำรวจข้อมูล เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง

ปัจจุบันมีอาสาสมัครเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ๑,๑๗๒ คน ครอบคลุม๑๒๗ ตำบล ผู้ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน ๒๐๐ คน นักซ่อมกายอุปกรณ์ ๒๐๐ คน

ยังไม่นับความร่วมมือจากเครือข่ายต่างๆอีกมากมาย ที่ช่วยเสริมช่วยเติมทำให้ระบบการทำงานสมบูรณ์มากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างการบริหารจัดการ แม้จะยังมีอะไรให้ทำอีกมาก แต่ก็นับได้ว่ามีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างเห็นได้ชัดทุกปี

มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการกองทุนฯ และนำงบประมาณจากอบจ.ที่สนับสนุนมาเสริมเติมช่องว่างทำให้กลไกของศูนย์สร้างสุขชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น มีระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ และมีการใช้ iMed@home ขยายเก็บข้อมูลในทุกกลุ่มประชากรในเครือข่ายตำบลน่าอยู่ เติมเต็มระบบ โดยมีจุดเน้นอยู่ที่กลุ่มเปราะบางทางสังคมเป็นประเด็นร่วม และนำผลสำเร็จไปขยายในงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

Relate topics