ตัวแบบการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขต ๑๒

photo  , 1280x720 pixel , 169,108 bytes.

ตัวแบบการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขต ๑๒  กรณีเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

กรอบคิดดังกล่าว กำลังดำเนินการให้ครบวงจร ประกอบด้วยกลไกและกระบวนการดังต่อไปนี้

๑.กลไกการขับเคลื่อน

๑.๑ ระดับจังหวัด จ.สงขลาประกอบด้วยคณะกรรมการเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัด มี กส. เป็นประธาน กรรมการชุดนี้จะกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ประสานบูรณาการระหว่างเกษตร/สาธารณสุข/พัฒนาชุมชน/พาณิชย์ฯลฯ)

๑.๒ ระดับจังหวัด นำโดยเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา ที่มีแกนนำเกษตรกรในพื้นที่หลายกลุ่มมารวมตัวกัน ดำเนินการในฐานะประชาสังคม มีแกนนำราว ๓๐ คน จัดทำกติกาหรือธรรมนูญเครือข่าย ขับเคลื่อนนโยบายระดับจังหวัด (ในพื้นที่ยังมีเครือข่ายอื่นๆ ได้แก่ สมาพันธุ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัด นอกจากนั้นก็จะเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐ)

๑.๓ ระดับตำบล ประกอบด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนควนลัง/พะตง/จะนะ/ระโนด ทำหน้าที่คนกลางทำสัญญากับตลาดหรือประสานกลุ่ม/ชมรมต่างๆที่อยู่ในเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดราว ๒๐๐-๓๐๐ คน

๒.ระบบสนับสนุนสำคัญ

๒.๑ ระบบข้อมูลกลาง รวบรวมรายชื่อเกษตรกร ที่อยู่แยกตามพื้นที่หมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด มาตรฐาน ประเภทผลผลิต พื้นที่แปลง จากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอยู่ในฐานเดียวกัน กำลังอยู่ในระหว่างการปรับให้สมบูรณ์ มีข้อมูลเกษตรกรราว ๓๐๐๐ ราย อยู่ในระบบ (ได้รับมาตรฐาน GAPเป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรอินทรีย์น้อย และจำนวนมากที่ไม่ได้มีการรับรองมาตรฐาน จำแนกตามประเภทเกษตรกรรมยั่งยืน)

๒.๒ แอพพลิเคชั่น Green smile นำเสนอข้อมูลผู้ผลิตที่ผ่านมาตรฐาน PGS และอื่นๆ (พื้นที่/แปลงการผลิต/ผลผลิต/พิกัด/สินค้าฯลฯ) ข้อมูลร้านค้า/สินค้า การสั่งจอง กำลังพัฒนาให้รองรับการใช้งานของตลาดรถเขียว ที่เป็นตลาดเคลื่อนที่ เพื่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภคในแต่ละอำเภอ

๒.๓ การรับรองมาตรฐาน PGS ในสงขลามีอย่างน้อย ๒ เครือข่ายที่เป็นกำลังหลักคือ เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดและสมาพันธุ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัด มีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองรวมกันราว ๑๕๐-๒๐๐ คน

๒.๔ จุดเรียนรู้ ชุดความรู้ มีกระจายอยู่ในหลายอำเภอ เช่น ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน สวนผักคนเมือง ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง

๓.การตลาด

๓.๑ ตลาดรพ. มีตัวอย่าง รพ.หาดใหญ่ ที่มี ๒ รูปแบบคือ ส่งเข้าสู่ครัวโรงพยาบาลเพื่อจัดทำเมนูสุขภาพ ซึ่งรองรับเครือข่ายเกษตรกรมาตรฐาน GAP เป็นอย่างต่ำ และตลาดกรีน ที่จะให้รายย่อยสามารถเข้ามาสู่ระบบ(ปัจจุบันปิดตัวชั่วคราวจากโควิด) ยังไม่รวมรพ.ขนาดใหญ่อื่นๆจะมีจุดจำหน่ายให้เกษตรกรนำผลผลิตไปวางแผงทั้งหมด บางจุดก็มีตู้แช่

๓.๒ ตลาดกรีน ในพื้นที่มีหลากหลายจุด เช่น ตลาดเกษตรมอ. หลาดสยาม หลาดฟิน ฯลฯ รองรับผลผลิตปลอดภัย/อินทรีย์จากรายย่อย

๓.๓ ตลาดรถเขียว ตลาดเคลื่อนที่ของเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดที่ผ่านมาตรฐาน PGS อยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่

๓.๔ ตลาดเสริมการท่องเที่ยว เช่น หลาดสองเล หลาต้นโด หนำวังยาว

๓.๕ ตลาดออนไลน์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถพบกับผู้บริโภคโดยตรง เป็นตลาดส่งตรงที่กำลังได้รับความนิยม

๓.๖ ตลาดชุมชน ตลาดนัด ตลาดสด จะมีมุมจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรกระจายไปแต่ละพื้นที่

๔.เครือข่ายการผลิต

๔.๑ ผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตเพื่อแบ่งปัน เน้นบริโภคในครัวเรือน เหลือจึงขายในชุมชน ตลาดนัด หรือส่งกันในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเกษตรกรดั้งเดิม มีพื้นที่ ปลูกแบบผสมผสาน พืชร่วมยาง แกนนำกลุ่มเหล่านี้บางส่วนจะเป็นแกนนำมาขับเคลื่อนนโยบาย เฝ้าระวังสารเคมี พันธุกรรมพื้นบ้าน

๔.๒ ผลิตแบบผู้ประกอบการ ผ่านกลุ่มวิสาหกิจ เช่น ควนลัง พะตง คูเต่า สทิงพระ บางส่วนก็พัฒนาจากกลุ่มเกษตรกรดั้งเดิมมาเป็นผู้ประกอบการ และบางส่วนเป็นรายย่อย ไม่มีกลุ่ม

๔.๓ ผลิตแบบเกษตรแปลงใหญ่ มีมาตรฐาน GAP กลุ่มนี้จะส่งยังตลาดครัวโรงพยาบาล และส่งไปถึงศูนย์การค้า ร้านค้า ฯลฯ

๕.ทิศทางต่อไป

๕.๑ นัดเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา มาปรับแผนการทำงาน ทำแผนการผลิตร่วม แผนการตลาดร่วม

๕.๒ คืนข้อมูลพัฒนาระบบข้อมูลกลางร่วมกับจังหวัด (ปรับจูนเรื่องมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน ระบบการทำงานของสินค้าแต่ละประเภทให้เป็นฐานเดียวกัน) จัดเวทีระดับอำเภอขยายฐานสมาชิกเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ลงตรวจแปลงรับรองมาตรฐาน

๕.๓ ร่วมกับธกส.หรือภาคเอกชนพัฒนาแอพฯให้สามารถรองรับการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผ้สนับสนุนและผู้บริโภครายอำเภอ

๕.๔ ร่วมกับพลังงานจังหวัด พัฒนาจุดที่จะสร้างโรงคัดแยก สถานีพลังงานนำมาสูบน้ำ เสริมการผลิต ทำห้องเย็น รายอำเภอ

Relate topics