เครือข่าย 13 พื้นที่ร่วมปฏิบัติการ "จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม" จังหวัดตรัง ผ่านกลไก Node Flagship ตรัง

  • photo  , 960x720 pixel , 98,973 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 37,461 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,677 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 56,379 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 49,619 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 54,255 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 75,619 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,018 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 55,851 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 45,408 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 50,148 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 83,096 bytes.

เวทีพิจารณา “โครงการจัดการขยะ” ของหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรัง

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุม 116 วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรัง ที่ผ่านมา ทีมชุมชนจาก 13 พื้นที่ปฏิบัติการในจังหวัดตรัง ที่จะร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม ร่วมเรียนรู้กับ ผู้ทรงคุณวุฒิและทีม Node Flagship Trang

ทีมผู้ทรงคุณวุฒิ นำโดย คุณหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส. และ ผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดตรัง พี่อารีย์ ใจสมุทร จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง พี่ปวรวรรณ จันทร์นวล จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดตรัง พี่ธวัชชัย ล้วนแก้ว จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง พี่กิตติพงษ์ เพทาย จากสำนักงานพลังงานจังหวัด และพี่โกเมน รอดโกมิน Komen Rodkomin

กระบวนการนำเสนอแต่ละโครงการจะมีกระดาษ flip chart 2 แผ่นเขียนอธิบายโครงการที่ประกอบด้วยบันไดผลลัพธ์โครงการ ที่จะช่วยอธิบาย ผลลัพธ์โครงการ รูปแบบกิจกรรมและตัวชี้วัด อีกแผ่นจะเป็นการอธิบายที่มาความสำคัญ วัตถุประสงค์ มีเวลา 10 นาทีสำหรับการนำเสนอ และผู้ทรงคุณวุฒิจะซักถามแลกเปลี่ยนอีก 10 นาที โดยทยอยเข้านำเสนอรอบละ 3 โครงการ

ภาคเช้า

1.โครงการรวมพลังชาวท่าข้ามลดขยะ แบบ “Banthakham Zero Waste” ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

2.โครงการควนปริง สะอาด ปลอดภัย ไร้ขยะ ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง

3.โครงการจัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

4.โครงการจัดการขยะชุมชนบนเกาะลิบงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

5.โครงการการจัดการปัญหาขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์ ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

6.โครงการจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง

ภาคบ่าย

7.โครงการจัดการขยะในชุมชนเมือง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง

8.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้การจัดการขยะอย่างเป็นระบบชุมชนบ้านต้นปราง ต.คลองปาง อ.รัษฎา จ.ตรัง

9.โครงการชุมชนปลอดขยะใส่ใจสิ่งแวดล้อม ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง

10.โครงการชุมชนร่วมใจจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตำบลหนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง

11.โครงการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ต.ควนเมา อ.รัษฎา จ.ตรัง

12.โครงการรวมพลังจัดการขยะโรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร ต.หนองบ่อ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง

13.โครงการจัดการขยะที่ต้นทางชุมชนป่าไม้ เทศบาลเมืองกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง

คำถามสำคัญที่ร่วมกันหาคำตอบ

จะทำอะไร ทำอย่างไร วัดผลอย่างไร ?

ตัวชี้วัด ?

จะทำให้ยั่งยืนอย่างไร ?

อะไรเป็นจุดเน้น อะไรเป็นตัวชี้วัดไฮไลท์ ?

ทั้งหมดเป็นคำถามสำคัญที่ผู้ทรงคุณวุฒิช่วยกันซัก ช่วยกันตั้งคำถาม เป้าหมายเพื่อให้แต่ละโครงการชัดขึ้นในการดำเนินโครงการต่อจากนี้ไปอีก 10 เดือน

ความคาดหวังของ สสส.ที่สนับสนุนทุนงบประมาณให้โครงการฯ นอกจากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องการลดขยะในแต่ละพื้นที่แล้ว สำคัญคือการให้เกิด “ต้นแบบ” ที่จะสามารถขยายผลได้ คือ ข้อท้าทายที่คุณหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กล่าวกับผู้แทนชุมชน

หลังจากนี้มาชวนทุกท่านติดตาม ทีมโรงเรียน 2 โรงเรียน ทีมชุมชนชายฝั่งทะเล 3 พื้นที่ ทีมชุมชนในเขตเมือง 2 พื้นที่ทีมชุมชนระดับหมู่บ้าน 3 พื้นที่ และทีมพื้นที่ระดับตำบล 3 พื้นที่ ที่จะร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนในพื้นที่จังหวัดตรัง

ปล.หลังจากนี้จะทยอยมาเล่าเรื่องราวของ 13 พื้นที่ที่จะร่วมกันปฏิบัติการจัดการขยะครั้งนี้ จุดเริ่มต้น จุดเน้น และความท้าทาย

ขอบคุณภาพจากน้องตาล Natthatida Phokaew

NodeFlagshipTrang

โครงการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน

สสส


เชภาดร จันทร์หอม รายงาน

Relate topics