ภาคีเครือข่าย Node flag ship ตรัง ร่วมเตรียมความพร้อมและขับเคลื่อนภารกิจรับมือ "สังคมสูงวัย"

  • photo  , 960x720 pixel , 106,172 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,036 bytes.
  • photo  , 948x960 pixel , 83,685 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 90,530 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 71,392 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,999 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,734 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 79,552 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 64,046 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 68,107 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,927 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 68,932 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,938 bytes.
  • photo  , 1440x995 pixel , 166,885 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 73,320 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 73,910 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 61,884 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 93,097 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 45,109 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 59,144 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 58,587 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 59,191 bytes.

วันที่ ๓๐  มิถุนายน ๒๕๖๓  ณ​ ห้องประชุม๑๑๖​ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

Node Flagship ตรัง ได้จัดประชุมการพิจารณากลั่นกรองโครงการประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย​

โดยมีกลุ่ม​ องค์กร​ ภาคีต่างๆในจังหวัดตรังส่งโครงการมายังหน่วยจัดการฯ​๑๒​ โครงการ

มีคุณสุวณี​ สมาธิ​ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการหน่วยจัดการจังหวัดในครั้งนี้

และการประชุมได้รับเกียรติจากนางกรรณิการ์​ บันเทิงจิตร​ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)​เป็นประธานการประชุม

ภาคีเครือข่ายตรังร่วมขับเคลื่อนงานสังคมสูงวัยที่มองการณ์ไกลเชื่อมโยงในหลากหลายมิติของมนุษย์  ภายใต้การออกแบบและสร้างกลไกขับเคลื่อนร่วมกันหลายภาคส่วน และจะไม่ใช่ผู้สูงวัยเดินเพียงลำพัง

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณวิชาญ สายวารี ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาโครงการ ฯ


ตรังขยับ "เตรียมรองรับสังคมสูงวัย" เหมือนเป็น"คำใหม่"แต่ไม่ไกลตัว

รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันตรัง ประชากร 504,815 คน มีผู้สูงอายุ 90,302 คน คิดเป็น 17.89 % ซึ่งตามหลักวิชาการเรียกว่าเข้าสู่สังคมสูงวัย แล้ว และจะเป็นสังคมสูงวัยสมบูรณ์ถ้าผู้สูงอายุคิดเป็น 20 % ซึ่งอีกไม่กี่ปีจังหวัดตรังก็กำลังจะก้าวไปถึงสังคมสูงวัย ผู้สูงอายุ เหมือนจะคล้ายกันแต่ต่างกัน

วันนี้คนตรังรับรู้และเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวันกันแค่ไหนอย่างไรแล้ว

ประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจึงเป็น 1 ใน 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ทางทีมNode​ Flagship​ Trang​เลือกในการขับเคลื่อน

เก็บตกบรรยากาศเวทีนำเสนอกลั่นกรองโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่จังหวัดตรัง

12 พื้นที่ 12 โครงการที่ เสนอเพื่อกลั่นกรองโครงการภายใต้การดำเนินงานของหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรัง ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรัง จ.ตรัง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส. และ ผู้ทรงคุณวุฒิภายในจังหวัด ผู้แทนชุมชนจาก 12 พื้นที่ และคณะทำงาน Node Flagship Trang ร่วมเรียนรู้ในกระบวนการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการฯ

นำทีมโดย อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดมากันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ประกอบด้วย

นายทวี สัตยาไชย นายทวี สัตยาไชย จาก อบจ.ตรัง

ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นพ.ไกรสร โตทับเที่ยง โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

นพ.ยศกร เนตรแสงทิพย์ โรงพยาบาลย่านตาขาว

อ.ธิดารัตน์ สุภานันท์ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรัง

ดร.วิชาญ สายวารี วิชาญ สายวารี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรตรัง

นางสาวศรีหัทยา ชูสุวรรณ

นางจำเนียร มานะกล้า

นางโสภา คงมา

อ.ตรีชาติ เลาแก้วหนู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ภาคเช้า

1.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน

2.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลควนกุน

3.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาตาล่วง

4.โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนสูงวัยโดยการมีส่วนร่วมในตำบลท่าพญา

5.โครงการนาหมื่นศรี กินเป็น อยู่เป็น ชีวิตยั่งยืน

6.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาข้าวเสีย

7.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด

ภาคบ่าย

8.โครงการวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองตรัง

9.โครงการชุมชนสมุนไพรเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลทุ่งต่อ

10.โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนตำบลหนองบ่อ

11.โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางกุ้ง

12.โครงการบ้านปลอดภัยเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลกันตังใต้

ข้อเสนอแนะสำคัญของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ

1.แนวคิดสังคมสูงวัย ไม่ใช่ผู้สูงอายุ

2.วัตถุประสงค์ที่ สสส. สนับสนุน คือ การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

3.กลุ่มเป้าหมายหลักให้เน้นกลุ่ม 40-59 ปี ( 80% ) และกลุ่ม 60 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง (20%)

4.ให้กลุ่มเป้าหมายได้ทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตัวเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่เป็นการไปช่วยผู้สูงอายุ แต่เป็นการเตรียมตัวเองในอีก 20 10 ปีข้างหน้า

5.ความเชื่อมโยงหลักการเหตุผลส่วนใหญ่จะมีสถานการณ์ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ขาดข้อมูลกลุ่ม 40-50 เป็นอย่างไร

6.กิจกรรมคิดก่อนมีแผนงาน ?

7.ขาดการติดตามประเมินผล

8.ความเชื่อมโยงของบันไดผลลัพธ์หลายโครงการไม่สัมพันธ์กันมากนัก

9.โครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ/กิจกรรมสนับสนุนผู้สูงอายุ อยากเสนอให้เข้าช่องกองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสุขภาพตำบล

10.ส่วนใหญ่เราคิดกิจกรรมก่อนแล้วหาข้อมูลให้ตรงกับกิจกรรมที่อยากจะทำ และนำไปใส่ในต้นไม้ปัญหา แต่อาจจะขาดการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมกัน

11.อยากให้กิจกรรมโครงการที่จะทำ เลือกทำในกิจกรรมที่ไม่ได้เป็นงานประจำ หรือเป็นกิจกรรมที่เราทำคนเดียวไม่ได้ต้องใช้ความร่วมมือ

ผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านก็ช่วยกันทำความเข้าใจเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และให้ข้อแนะนำเพื่อการพัฒนาโครงการฯ หลายโครงการได้รับคำชื่นชมมาก เช่น กรณีโครงการวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ที่ทาง อาจารย์กรรณิการ์ว่าเป็นจังหวัดแรก ๆ ที่คิดกันเรื่องนี้ และหลังจากนี้คงได้มาเรียนรู้จาก จ.ตรัง

หลังจากนี้ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม แต่ละพื้นที่ต้องปรับแก้โครงการฯตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งให้ทางทีม Node Flagship เพื่อจะได้ทำสัญญาโครงการและเริ่มดำเนินการในวันที่ 15 กรกฎาคม 63

ลุ้นกันต่อ ก้าวกันต่อ ตรังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ภายหลังมีการทำสัญญาโครงการฯแล้ว ผมจะค่อยมาทยอยเล่าเรื่องราวของแต่ละชุมชนปฏิบัติการที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ขอบคุณภาพจากน้องตาล Natthatida Phokaew

เชภาดร จันทร์หอม รายงาน

Relate topics