เครือข่ายพื้นที่อำเภอมะนังกับภารกิจร่วมขับเคลื่อนงานการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคมเขต ๑๒

  • photo  , 960x720 pixel , 76,481 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,087 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 65,562 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 56,775 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 47,745 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,228 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,795 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 57,579 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,407 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,067 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,297 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,717 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,749 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 64,265 bytes.

กขป.เขต ๑๒ จับมืออบต.ปาล์มพัฒนา และอบต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล โดยการประสานของสมาคมผู้บริโภคสตูล/ศปจ.สตูล
ร่วมประชุมกำหนดแนวทางและพัฒนาศักยภาพให้ใช้แอพฯ iMed@home

วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓  นัดหมายแกนนำท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชน หารือความร่วมมือ โดยเริ่มจากแนะนำความเป็นมาและแนวทางของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม ที่ต้องการประสานการขับเคลื่อน บูรณาการการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย

จากนั้นระดมความเห็นจากผู้เข้าร่วม เพื่อนำไปกำหนดแนวทางขับเคลื่อน ในส่วนสภาพปัญหาเบื้องต้นกำนันระบุว่าต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ลดปัญหาที่มีการให้แต่ขาดการพัฒนาศักยภาพให้ความรู้ในการแก้ปัญหาตัวเอง ขาดการติดตามผล ไม่ต่อเนื่อง ไม่แก้ปัญหาตามความเป็นจริง รองปลัดอบต.บอกว่าปาล์มพัฒนานำแนวทาง SDG มาเป็นแนวทาง มีกองทุนหมู่บ้านรองรับ ท้องถิ่นพร้อมสนับสนุน ทางปลัดอำเภอมะนังระบุว่าขาดการบูรณาการ ประธานสตรี บอกว่าพื้นที่ยังมีความยากจน/หนี้ครัวเรือน แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขาดการบูรณาการทำงานด้วยกัน ที่นี่มีการเริ่มต้นบูรณาการทำเรื่องพิษสุนัขบ้า มีทีมงานรองรับการทำงาน แต่ยังขาดงานข้อมูลที่ถูกปรับให้เป็นปัจจุบัน

สรุปแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน

๑.นิยามกลุ่มเปราะบางทางสังคม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์(มีกลุ่มมานิอยู่ราว ๓๐ คน) คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มประชากรแฝง(แรงงานนอกระบบ/แรงงานต่างด้าว/ต่างถิ่นเริ่มมีมากขึ้นจากการเป็นเมืองท่องเที่ยว) คนยากจน เด็กกำพร้า คนเร่ร่อน ผู้ถูกทอดทิ้ง ผู้ต้องขัง ที่ช่วยตัวเองไม่ได้และช่วยตัวเองได้

๒.พัฒนากลไกกลาง

๒.๑ ระดับหมู่บ้าน(ใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน)

๒.๒ คณะทำงานกลางระดับตำบล(เลือกคนทำงานจากตัวแทนหมู่บ้าน คนทำงาน และเสริมองค์ประกอบอื่น) จำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วย ท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรภาคประชาชน ดูตัวแทนครอบคลุมฟื้นที่ ๑๐ หมู่บ้าน/ผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ คน

๓.จัดระบบข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกัน เบื้องต้นมีข้อมูลกลุ่มเปราะบางอยู่แล้ว ๑๘๑ คน นำข้อมูลจากท้องถิ่น รพ.สต. โรงเรียน มัสยิด มาดูร่วมกันให้เป็นฐานเดียวกัน จากนั้นใช้ทีมลงเยี่ยมบ้าน ผ่านระบบแอพฯ iMed@home กลั่นกรองและสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมบันทึกภาพให้เห็นความจริงเชิงประจักษ์

๔.จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคมระดับตำบล มีทั้งแผนเร่งด่วนและแผนระยะยาวที่จะมีการจัดตั้งคณะทำงานตามยุทธศาสตร์(สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ) ประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ

๕.จากนี้กขป.เขต๑๒ จะทำหนังสือขอความร่วมมือมายังอบต.ปาล์มพัฒนาให้จัดตั้งคณะทำงาน ประชุมคณะทำงาน ช่วงเดือนกรกฏาคมทีมเก็บข้อมูลลงเยี่ยมบ้าน และคืนข้อมูลจัดทำแผนฯให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ที่ประชุมเสนอให้ทำงานระดับอำเภอ เพิ่มตำบลนิคมพัฒนาไปด้วย

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics