เครือข่ายพื้นที่ตำบลเกตรีเดินหน้าขับเคลื่อนงานสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคมเขต ๑๒

  • photo  , 960x720 pixel , 45,052 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,242 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,185 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 33,918 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 50,501 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,645 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,535 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,558 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 46,206 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,569 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,444 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 38,846 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,216 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,326 bytes.

เดินหน้าขับเคลื่อนงานสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม ในพื้นที่จังหวัดสตูล เป้าหมาย ๒ อำเภอ ๓ ตำบล

วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นัดหมายหารือกับแกนนำท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โรงเรียน ตำบลเกตรี อำเภอเมือง มากันพร้อมหน้าทั้งนายกฯ รักษาการกำนัน ผู้นำศาสนาโดยประธานอิสลามจังหวัด ผอ.โรงเรียน รพ.สตูล และจิตอาสาร่วม ๓๐ ชีวิต ร่วมกับกขป.เขต ๑๒ สมาคมผู้บริโภคสตูล/ศปจ.สตูล

ตำบลเกตรี มีพื้นฐานความร่วมมือดี แต่ยังต้องการเครื่องมือ/กระบวนการ ร่วมแก้ปัญหารุมเร้าได้แก่ ผู้สูงอายุ ยาเสพติด เศรษฐกิจ ต้องการการทำงานร่วมกัน ผ่านการมีส่วนร่วม(ท้องถิ่น ท้องที่ รร. ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำศาสนา) มีสภาองค์กรชุมชน ต้องการทำ “หลากลาง” อสม.ได้จัดทำข้อมูล จำแนกข้อมูลส่งต่อข้อมูลจัดลำดับความสำคัญ ประชาชนได้รับการดูแลแบบพี่น้อง

ได้ข้อสรุปจับมือเดินไปด้วยกัน

๑.จัดตั้งกลไกกลาง : คณะทำงานกลางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมตำบลเกตรี มาจาก ๖ ภาคส่วน ๑๙ คน (ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ อสม. เยาวชน)

อปท. ได้แก่ นายก ประธานสภา รองนายก

ท้องที่ ได้แก่ กำนัน ผญ.ม.๗ บัณฑิตอาสา

ผู้นำศาสนา ได้แก่ อิหม่าม ม.๓,๔,๗

สถานศึกษา ได้แก่ ผอ.โรงเรียนเกตรี กศน. กรรมการสถานศึกษา

อสม.ได้แก่ ประธานตำบล อพม.(นวิยา) ประธาน ม.๔ คุ้มครองผู้บริโภค

ผู้นำธรรมชาติ ได้แก่ ที่ปรึกษา ประธานเยาวชน รองประธาน

๒.กลุ่มเปราะบางทางสังคมในพื้นที่ ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง/จิตเวช อดีตผู้ต้องขัง คนเร่ร่อน คนยากจน เด็กกำพร้า ประชากรแฝง ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ

๓.ให้มี “หลากลาง” วงปรึกษาหารือ(ส่วนใหญ่นัดประชุมกลางคืน)

๔.จัดข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกัน (ข้อมูลจากอสม./รพ.สต/ท้องถิ่น/ท้องที่/ผู้นำศาสนา/โรงเรียน) กลั่นกรองด้วยการสำรวจผ่านระบบเยี่ยมบ้าน

๕.จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม ต.เกตรี(ระยะสั้น ระยะยาว) ในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และกำหนดหลักเกณฑ์เป็นธรรมนูญของตำบลในการช่วยเหลือ

๖.พัฒนาศักยภาพทีมเก็บข้อมูลให้ใช้แอพฯiMed@home ในการเยี่ยมบ้าน และทีม Admin ให้สามารถนำข้อมูลกลางใน www.ข้อมูลชุมชน.com  ไปใช้ประโยชน์
จากนี้จะจัดตั้งคณะทำงานกลาง ลงเยี่ยมบ้าน จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics