กขป.เขต ๑๒ ร่วมหนุนเสริมงานพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ภาคใต้

  • photo  , 960x540 pixel , 47,114 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,752 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,672 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,008 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,699 bytes.

วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓  สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ๕ จังหวัดสงขลา
ชวนไปบรรยายเล่าประสบการณ์การทำตลาดเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการในฐานะมูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับ กขป.เขต ๑๒ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้

ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย มีการรวมกลุ่มกันบ้าง หลายคนเริ่มเป็นผู้ประกอบการ น่ายินดีที่มีเด็กรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย

ภาคใต้มีความหลากหลายทางภูมิประเทศ สายพันธุ์การผลิต การทำตลาดเฉพาะกลุ่มดูจะเป็นทางเลือกที่ดี หากทำเชิงพาณิชย์ส่งออกอาจจะได้บางชนิดพืชผล เราเสียดุลให้กับยางพาราเชิงเดี่ยวนานเกินไป ทำลายภูมิปัญญาเดิมไปเกือบหมด การหันกลับมาฟื้นฟูแนวทางปลูกพืชผสมผสาน "สมรม" เป็นพืชร่วมยาง สัตว์ร่วมยาง หรือเกษตรอินทรีย์และใช้ตลาดนำการผลิตอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง

จะผลิตแบบพอเพียง เน้นบริโภคในครัวเรือนในชุมชน แบ่งปันกันภายใน หรือจะเป็นเอกชนผลิตเพื่อส่งออก สร้างแบรนด์ของตัวเอง หรือจะเป็นผู้ประกอบการทางสังคม รวมกลุ่ม/เครือข่ายดำเนินการผลิตแบบครบวงจร ลดต้นทุน สร้างมาตรฐานการผลิต มีคนกลางของตนทำการตลาด และยกระดับไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคมที่สมาชิกเป็นเจ้าของ

หาตัวเองให้เจอ

พร้อมรวมตัวกันพึ่งตนเอง ต่อรองนายทุนหรือหน่วยงาน ลดทอนข้อจำกัดเชิงโครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อวิถีรายย่อย ทั้งเรื่องที่ดิน ปัจจัยการผลิต การตลาด ในยุคที่ทุนใหญ่กินรวบ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

งานสัมมนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์  ณ โรงแรมชัยคณาธานี อ.เมือง จ.พัทลุง

Relate topics