35 ฟาร์มตัวอย่าง ร่วมพัฒนานวัตกรรมชุมชมอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรภาคใต้

  • photo  , 1000x750 pixel , 156,540 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 172,600 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,763 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 141,142 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 176,061 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 198,356 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 160,099 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,034 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 145,926 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 172,491 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 174,859 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 168,028 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 195,865 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 86,658 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 183,496 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 114,086 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 185,491 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 183,724 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 161,104 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 157,968 bytes.
  • photo  , 1368x768 pixel , 101,234 bytes.

35 ฟาร์มตัวอย่าง ร่วมพัฒนานวัตกรรมชุมชมอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรภาคใต้

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาฟาร์ม โดย เน้น การพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งการกำหนดกรอบเวลา ในอนาคต เป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

โดยการระดมความคิดทั้ง 35 ฟาร์ม ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งแบ่งการจัดการเป็นกลุ่มอำเภอที่ตั้งของฟาร์มตัวอย่างโดยแบ่ง เป็น 7 กลุ่มฟาร์มตัวอย่าง  ซึ่งในอนาคตระยะยาวการพัฒนาของฟาร์มตัวอย่างสามารถเชื่อมโยงเป็นนิคมเกษตรกรรม แต่ละฟาร์ม จะสามารถเข้าใจทิศทาง และเป้าหมายร่วมกัน โดยเน้นการร่วมมือแบบครบห่วงโซ่ภาคี จัดการพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ฟาร์มตัวอย่างจะเป็นแกนกลาง สร้างเศรษฐกิจรากฐานร่วมกับชุมชน สร้างครัวเรือนมั่นคง ซึ่งนิคมเกษตรกรรมจะรวมศูนย์ 3-4 จุดเพื่อ ส่งต่อเศรษฐกิจภูมิภาค รวม ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยน้อมนำแนวทางการพัฒนาของดอยตุงโมเดล เป็นโมเดลต้นแบบ ในการเดิน เพราะ โมเดลต้นแบบตอบโจทย์ SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ จากการพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

Workshop การทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม ของภาคใต้ โดยฟาร์ตัวอย่างเป็นแกนกลาง ชุมชนเป็นแกนหลัก สร้าง ให้เกิดนวัตกรรมชุมชน ชุมชนอัจฉริยะ บนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ รวมเครือข่ายภูมิภาคสู่นิคมเกษตรกรรม
เนื้อหาการอบรม และ Workshop

วันแรก (14 ก.ค. 2563) ตามรอยพ่อหลวง สร้างแรงบรรดาลใจ โดย อ. รดา มีบุญ  สถานการณ์ภาคใต้ (ชุมชนเข้มแข็ง) และข้อมูลจากงานวิจัยที่เป็นพื้นฐานแนวทางในการทำแผนพัฒนา อ้างอิงจากแผนพัฒนาภาคใต้ล่าง 2562-2565 สู่แนวทางการพัฒนา  แบ่ง 7 กลุ่ม (ตามพื้นที่และโครงข่ายการคมนาคม) ใช้ความพร้อม 3 ขั้นตอน (a b c) โดย อาจารย์สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม  ถอดรหัสดอยตุงโมเดล แนวทางการพัฒนาเป็นต้นแบบของการพัฒนา คน พื้นที่ ผลิตภัณฑ์ ของแต่ละกลุ่มฟาร์ม อาจารย์รดา มีบุญ
และเรียนรู้พัทลุงโมเดล นวัตกรรมชุมชนวิถีเมืองลุง โดย ผศ.ดร  นุกูล อินทระสังขา

ช่วงบ่าย  ระดมความคิดกลุ่มทำแผนพัฒนา (ผศ.ดร. นุกูล อินทรสังขา) ความสัมพันธ์พัทลุงเมืองอัจฉริยะเชื่อมโยงฟาร์มตัวอย่างบ้านครองชีพ เข้ายุทธศาสตร์จังหวัด Workshop กลุ่ม 7 กลุ่ม (คณะที่ปรึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยง Commentator)

วันที่สอง (15 ก.ค. 2563)  เสวนาแนวทางฟาร์มตัวอย่างทั้ง 7 กลุ่ม บนเวทีเสวนา เรื่อง บทบาทฟาร์มตัวอย่างฯ ร่วมสร้างท้องถิ่นเข้มแข็งสู่นิคมเกษตรกรรมได้อย่างไร Workshop กลุ่ม 7 กลุ่ม (คณะที่ปรึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยง และ Commentator) เสนอแผนทั้ง 7 กลุ่ม เพื่อนำสู่การปฏิบัติ (คณะที่ปรึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยง และ Commentator) จบด้วยการสรุปการอบรม

ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา สงขลา รายงาน

Relate topics