เส้นทางสู่การเรียนรู้และพัฒนา "ข้าวตรัง" เพราะสุขภาวะคนตรังยั่งยืนด้วยการดูแลนาข้าว

  • photo  , 960x720 pixel , 114,940 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 17,336 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,110 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,299 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 129,071 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 131,010 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 135,382 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 138,831 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 137,003 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 129,311 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 114,556 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 121,067 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 92,736 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 85,021 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 140,862 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 93,755 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 110,129 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 127,521 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 96,776 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 66,868 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 91,820 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 105,760 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 100,581 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 134,499 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 61,227 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 99,453 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 83,386 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,671 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 137,041 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 92,638 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,060 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 51,172 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,448 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,961 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,697 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,717 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 112,637 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,048 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,356 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 59,217 bytes.
  • photo  , 960x639 pixel , 52,609 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,007 bytes.

(1) ก้าวย่าง…ทางเดิน ข้าวยอดม่วง สู่ข้าว GI

คำบอกจาก คุณเอกราช แก้วนางโอ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา ต่อทีมนาข้าวจากจังหวัดตรัง ทั้งกลุ่มนาอินทรีย์ และนาแปลงใหม่ รวม 10 กลุ่มในพื้นที่ รวมถึงผู้แทนภาครัฐทั้งจากสำนักงานเกษตร และทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัด ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาพันธุ์ข้าวมีตั้งแต่

  • รวบรวมพันธุ์ (2562)

  • คัดเลือกพันธุ์แบบหมู่(2562-63)

  • คัดเลือกพันธุ์แบบรวงต่อรวง (2563-64)

  • ศึกษาพันธุ์ (2564-65)

  • เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี (2565-66)

  • เปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตร (2566-67)

และดำเนินการการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ปัจจุบันทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวก็กำลังดำเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวเบายอดม่วงอยู่และพบว่าตอนนี้ข้าวเบายอดม่วง 2 ลักษณะ ที่แตกต่างกัน
เห็นระยะเวลาแล้วก็ต้องอุทานในใจว่า…นานจังกว่าจะเป็นข้าว GI

แล้วเราจะทำให้เร็วกว่านี้ได้อย่างไร

ข้อเสนอสำคัญจากพี่เจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว คือ การให้ทางจังหวัดมีคณะทำงานเฉพาะในเรื่องนี้ เพื่อได้ติดตามและผลักดันการพัฒนาพันธุ์ข้าวเบายอดม่วง เป็นพันธุ์ข้าว GI จังหวัดตรังอย่างต่อเนื่อง

ถ้าคนตรังอยากเห็นข้าวเบายอดม่วงเป็นข้าว GI ของจังหวัด เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนตรัง โดยเฉพาะพี่น้องตรังนาที่จะมีข้าวที่เป็นอัตลักษณ์ของบ้านเรา
เป็นอีกsignature ของจังหวัดตรัง

ถึงเวลาทุกภาคส่วนต้องร่วมด้วยช่วยกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ พี่น้องกลุ่มทำนา  ภาควิชาการ และ คนตรัง ครับ
ก้าวต่อไป ก้าวข้าวเบายอดม่วงสู่ข้าว GI


(2) การศึกษาดูงานของกลุ่มทำนาตรัง ณ  ศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง-โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง- สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

มอบ "รางวัลระหว่างทางกลุ่มนาอินทรีย์ตรัง"

ใบรับรองผ่านการประเมินเตรียมความพร้อมของกลุ่ม ปี 2562 (ปีที่ 1) ประกาศนียบัตรจากกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบให้กับตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ในจังหวัดตรัง ที่ ผอ.หวาน  ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง เป็นตัวแทนมอบแก่แกนนำกลุ่มนาอินทรีย์  7 กลุ่มทำนาตรังที่ลงมือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตแบบทั่วไปสู่นาอินทรีย์
กลุ่มทำนา จาก 3 อำเภอ ได้แก่

กลุ่มอินทรีย์ข้าวอินทรีย์สวนสันติสุข กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์โคกสะบ้า กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์นาข้าวเสีย กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์นาทุ่งเคียน กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์นาปิด กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์นาเหม่ และกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์วังคีรี ที่เข้าสู่กระบวนการนี้

ผ่านมา 1 ปีแล้ว และกำลังเข้าสู่ปีที่ 2 ที่มีทางศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง เป็นพี่เลี้ยง ได้เห็นรอยยิ้มเล็กๆ ของพี่น้องกลุ่มทำนาตอนรับประกาศนียบัตร

คิดไปคงคล้ายน้ำดื่มตามจุดcheck point ของนักวิ่งมาราธอน ที่ยังมีเส้นทางอีกพอสมควรกว่าจะถึงเส้นชัย การไปสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ก็เช่นกัน


(3)การศึกษาดูงานของกลุ่มทำนาตรัง

เส้นทางศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง-โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง- สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

"วิธีคิดผู้ประกอบการ"

อดทึ่งกับวิธีคิดของผู้ใหญ่นัด ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.ตรัง

จุดเรียนรู้ศึกษาดูงานแหล่งที่ 2 ของกลุ่มทำนาจากจังหวัดตรัง

เรามีโอกาสรับฟังเรื่องราวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง กิจการโรงสีข้าว ที่มุ่งเน้นพัฒนา"ข้าวสังข์หยด" ข้าวพันธุ์ไทยขึ้นทะเบียน GI ชนิดแรก การรับซื้อ แปรรูปผลิตภัณฑ์ และการตลาด

แม้จะไม่ได้คุยสอบถามลึกซึ้งมากนัก แต่ก็พบว่าการทำงานของกลุ่มที่ผสมผสานวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ การเลือก "ผลิตภัณฑ์เด่น" ที่มุ่งเน้นเฉพาะ "ข้าวสังข์หยด"  เป็นพระเอกของที่นี้ นอกจากแปรรูปเป็นข้าวสารแล้วก็นำมา ที่นำมาแปรรูปต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ขนมคุกกี้  เรียกได้ว่านึกถึงกลุ่มวิสาหกิจบ้านเขากลางก็นึกถึงข้าวสังข์หยด
การใช้ "การตลาดนำ" ลุงนัดเล่าให้ถึงการเก็บสต็อกข้าว แต่เดิมก็มีการรับซื้อมาไม่อั้น แต่ภายหลังพบว่าเมื่อข้าวข้ามปี คุณภาพของข้าวที่สีก็ลดลง ทำให้ต้องมาขายในราคาที่ขาดทุน ภายหลังก็ใช้สอบถามความต้องการของคู่ค้าก่อนแล้วจึงรับซื้อข้าวสังข์หยดมาสต็อกไว้ในปริมาณใกล้เคียง หรือแม้แต่ที่ปัจจุบันโรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ที่อีกบทบาทคือการเป็นโรงเรียนOTOPแห่งเดียวในภาคใต้ ก็เปลี่ยนความรู้ มาเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ก็เชื่อมโยงกับต้นทุนของ กลุ่มฯ
เป็นอีกความท้าทาย และชวนคิดกันต่อของกลุ่มทำนาอินทรีย์ และกลุ่มนาแปลงใหญ่ของตรังที่ได้เห็นการทำงานและรับฟังประสบการณ์การทำงานของกลุ่มฯ


(4)การศึกษาดูงานของกลุ่มทำนาตรัง

เส้นทางศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง-โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง- สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

"พึ่งตนเองด้านอาหารให้มากขึ้น"

คำพูดชวนคิดของพี่เสณี จ่าวิสูตร แกนนำภาคประชาสังคมคนสำคัญของจังหวัดพัทลุงที่มีส่วนร่วมในการสร้างรูปธรรม และการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะในประเด็นข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุงมาอย่างต่อเนื่อง ได้แลกเปลี่ยนกับแกนนำกลุ่มทำนาทั้งกลุ่มทำนาอินทรีย์และนาแปลงใหญ่จังหวัดตรัง
พร้อมชวนคิดสมการจากข้อมูลงานวิจัยที่บอกว่าคนหนึ่งคนโดยเฉลี่ยบริโภคข้าวปีละ 100 kg

ปัจจุบันคนตรังมีเท่าไหร่ แล้วลองคูณ 100 kg แล้วคูณราคาข้าว  620,000 คนx100kgx40 บาท = 2,480,000,000 บาท
คือตัวเลขเบื้องต้นที่ที่ประชุมช่วยกันคำนวณ

เชื่อว่ามีหลายคนตกใจกับตัวเลขที่คำนวณได้ มูลค่าของข้าวกว่า 2,000 ล้านบาทต่อ/ปี ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างจังหวัด เพราะปัจจุบันตรังมีพื้นที่นาประมาณเพียง 12,000 ไร่

ถ้าคนตรังผลิตข้าวได้เองเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นการพึ่งตนเองด้านอาหารได้มากขึ้น

ชวนกันตามต่อ ช่วยเป็นกำลังใจให้กับกลุ่มทำนาอินทรีย์ และกลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดตรังที่จะเป็นทัพหน้าในการผลิตข้าวที่ปลอดภัย สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนตรัง


(5)การศึกษาดูงานของกลุ่มทำนาตรัง

เส้นทางศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง-โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง- สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

"ปิ่นโต" โอ้อร่อย

ภาพปิ่นโตเรียงรายรอพวกเราอยู่ภายหลังเดินเข้าไปในตัวอาคารของที่ทำการโรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง
จุดนัดหมายสำหรับการศึกษาดูงานกระบวนการผลิตข้าวต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในพื้นทีพัทลุงในช่วงบ่ายนี้
อาหารมือเที่ยงสำหรับคณะพวกเราที่ถูกเตรียมไว้ให้รับประทานก่อนจะเข้าเนื้อหาตามโปรแกรม
ผู้ใหญ่นัดเล่าให้ฟังภายหลังว่าจะกระจายการทำปิ่นโตให้คนในชุมชน โดยให้ปิ่นโตละ 200 บาท เป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน
โดยส่วนตัวประทับใจกับรูปแบบการจัดการแบบนี้
ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องการกระจายรายได้เท่านั้น
แต่เสน่ห์ของชุมชน ผ่านเรื่องราวของอาหารการกินก็เป็นอีกอย่างที่สร้างความประทับใจให้ผู้คน ผมเพิ่มข้าวไป 2-3 รอบ ชิมไปไม่ถึง 1 ใน 10 แต่ร่างกายก็บอกให้พอก่อน
ตัวอย่างเล็ก ๆ ของการจัดการที่คำนึงถึง "การกระจายโอกาส และการแบ่งปัน"
วิธีคิดสำคัญนี้ ถ้าได้มาเชื่อมโยงกับขบวนการขับเคลื่อนนาตรัง กระบวนการผลิตของกลุ่มนาอินทรีย์ และนาแปลงใหญ่ เชื่อว่าสุดท้ายจะไปถึงคำว่ายั่งยืน


(6)การศึกษาดูงานของกลุ่มทำนาตรัง

เส้นทางศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง-โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง- สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

"กินทีละคำ ทำทีละอย่าง ย่างทีละก้าว"

ข้อคิดติดหูของหมอเล็ก แห่ง สุพิศฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมชาติและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง แหล่งเรียนรู้จุดสุดท้ายในการศึกษาดูงานของทีมเครือข่ายตรังนา
คณะพวกเราเริ่มจากกระจายกันเดินชมฟาร์มของที่นี้  ที่มีการเลี้ยงทั้งปลาดุก กบ หมู วัว เป็ด ไก่ บริหารจัดการพื้นที่ได้มีประสิทธิภาพมาก อีกทั้งแปลกใจกับกลิ่นในฟาร์มที่แทบไม่มี เชื่อว่าหลายคนมีคำถามในใจ เวลาไม่คอยท่าเพราะเราก็มาถึงช้ากว่าที่ตั้งไว้ก็เข้าห้องเพื่อฟังเรื่องราวการทำเกษตรธรรมชาติ โดยมีหมอเล็ก ทำหน้าที่บรรยายแบบเร่งรัดให้คณะพวกเรา ได้รับฟัง
กับเรื่องราวสำคัญที่หมอเล็กได้เล่าถึงเรื่องสำคัญในการทำเกษตรธรรมชาติที่ประกอบด้วย

1.น้ำหมักจุลินทรีย์  7 ชนิด ที่เป็นไว้ใช้สำหรับเสริมแร่ธาตุ วิตามิน ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโปรตีน

2.จุลินทรีย์ท้องถิ่น IMO

3.น้ำหมักจุลินทรีย์ป้องกันศัตรูพืช สัตว์

ฟังแล้วอดทึ่งไม่ได้ว่าทำไมมันหลากหลายขนาดนี้
หมอเล็กให้รหัสสำคัญไว้ว่า จุลินทรีย์ท้องถิ่นก็เปรียบเหมือน"เครื่องจักร" ส่วนน้ำหมักจุลิทรีย์สูตรต่างๆ ก็เปรียบเหมือน "น้ำมันเชื้อเพลง"
เราทำเกษตรธรรมชาติก็ต้องคำนึงถึงทั้งเครื่องจักรและเชื้อเพลิง เวลากระชั้นมากหมอเล็กเลยให้สูตรน้ำหมักสมุนไพรตะไคร้แกงและกระเทียมเป็นของแถมให้กับคณะพวกเรา
ฟังเรื่องราวของหมอเล็กแล้วพี่ ๆ น้าๆ กลุ่มทำนาต่าง ๆ ให้ความสนใจมาก เวลาก็จวนเจียน 6 โมงเย็นแล้ว
ช่วงท้ายก็ให้ข้อมูลว่าสามารถนัดหมายมาดูงานแบบเต็มเวลากว่านี้ หรือ เตรียมคน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ก็สามารถนัดหมอเล็กไปให้ความรู้กันที่ตรังได้
ปิดท้ายด้วยการเก็บภาพหมู่คณะเป็นที่ระลึก ขึ้นรถมุ่งหน้ากลับตรัง วันนี้เป็นอีกก้าวในการมาเติมความรู้ของเครือข่ายตรังนา แต่ยังมีอีกหลายก้าวที่ต้องก้าวกันต่อ หลังจากนี้คงต้องตามกันต่อสำหรับขบวนการนาตรังทั้งพี่ ๆ กลุ่มนาอินทรีย์ และกลุ่มนาแปลงใหญ่ในการประยุกต์ความรู้จากแหล่งศึกษาดูงานทั้ง 3 แห่งเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำอย่างไร หมายเหตุ : สำหรับท่านผู้สนใจเรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติหมอเล็กเปิดสอนการเรียนรู้ที่ฟาร์มทุกวันเสาร์เวลา 9.00-12.00 น. ค่าลงทะเบียนคนละ 300 บาท

ปิดท้าย

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 22-23 ก.ค.63 วิทยากร หมอเล็ก @วัดหัวถนน
โดยมีประธานและคณะกรรมการจากนาอินทรีย์สวนสันติสุข 10 คน นาอินทรีย์ บ้านทุ่งเคียน 10 คน และนาแปลงใหญ่นาพละ 10 คน. นาอินทรีย์โคกสะบ้า+นาแปลงใหญ่โคกสะบ้า 10  คน นาอินทรีย์นาปด 8 คน นาข้าวเสีย 10 คน และนาเหม่ 8 คน โรงเรียนต้นบากราษฎร์บำรุง 7 คน และส่วนราชการจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง นายประวิทย์ เตชวีรพงศ์ เกษตรอำเภอเมืองตรัง และนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผํู้ว่าราชการจังหวัด ให้กำลังใจ ร่วมจัดโดย

1.สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง

2.กลุ่มนาอินทรีย์ 6 กลุ่ม

3.กลุ่มนาแปลงใหญ่ 2 กลุ่ม

4.วัดหัวถนน

5.กำนันตำบลนาหมื่นศรี

6.กำนันตำบลนาพละ

ขอบคุณภาพจากน้องตาล Natthatida Phokaew

ตรังนา

สมัชชาสุขภาพ

สุขภาวะคนตรังยั่งยืนด้วยการดูแลนาข้าว

เชภาดร จันทร์หอม รายงาน

Relate topics