ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๒๗ เรียนรู้การขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เขต ๑๒

  • photo  , 960x540 pixel , 80,109 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,878 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 39,946 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 49,492 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 49,927 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,945 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,406 bytes.

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓  ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๒๗ เรียนรู้การขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เขต ๑๒ ได้แก่ สมาพันธ์แรงงานนอกระบบประเทศไทย สมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ  เครือข่ายพื้นที่ จ.สตูล

๑.แรงงานนอกระบบ หมายถึงคนกลุ่มใด คือกลุ่มที่ทำงานโดยไม่มีนายจ้าง ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ การประกอบอาชีพที่เกิดความเสี่ยง ไม่มีกฎหมายควบคุมการจ้างงาน ยังหมายถึงแรงงานเสรี ที่ไม่ขึ้นอยู่กับกลุ่มใด กลุ่มเหล่่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ ทางรายได้ และคุณภาพชีวิต แรงงานนอกระบบมีจำนวนราว ๒๕ ล้านคนที่อยู่ในประเทศไทย ครอบคลุมคนทั้งหมด เช่น กลุ่มเกษตรกรสวนยาง ประมง อาชีพอิสระ งานอาชีพ สหวิชาชีพอื่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ระบบข้าราชการ ในประเทศไทยมีความทับซ้อนกับการสนับสนุนของรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบัตรทองด้านสุขภาพ แต่ไม่ครอบคลุมถึงเรื่องสวัสดิการ ระบบสุขภาพสามารถเข้าถึงสิทธิในภาพใหญ่ แต่พอแยกย่อยเป็นอาชีวอนามัยที่เกิดจากการทำงาน อาทิ ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากสารเคมี ความปลอดภัยจากการทำงาน (เช่น คนขึ้นต้นตาล ฯลฯ) การได้รับบริการทางการแพทย์ได้รับเฉพาะในสิทธิบัตรทอง แต่ไม่ได้รับสิทธิครอบคลุมถึงผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากการทำงาน การเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

การดูแลแรงงานนอกระบบ ปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการแรงงานนอกระบบระดับจังหวัด และมีเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนแต่ละจังหวัด เป็นกลไกเพื่อขับเคลื่อน และมีอาสาสมัครแรงงาน หรือ อสอช. ที่เป็นกลุ่มดูแลด้านอาชีวอนามัย เช่น ในเรื่องของสารเคมีในการเกษตรและมีการตรวจเลือดเพื่อหาสารพิษที่ตกค้างในเลือด

๒.ปัญหาอุปสรรคของการทำงานกับแรงงานนอกระบบ

การรวมตัวของเครือข่ายแรงงานนอกระบบเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีความเป็นเฉพาะของกลุ่มอาชีพ  ขาดพลังในการต่อรองกับภาครัฐ ขาดความเข้มแข็งของเครือข่าย ทั้งยังขาดการบูรณาการการดูแลจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

ในภาพประเทศยังขาดนโยบายในการส่งเสริมดูแลสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อการแก้ปัญหาทั้งระบบ ขณะที่การขึ้นทะเบียนหรือรวมตัวกัน มีแต่กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนระดับประเทศและบางส่วนไม่ได้ต้องการสวัสดิการอะไรจากสังคม เพียงแต่ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาชีพ ให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

ในเขต ๑๒ ได้ผลักดันให้สปสช.นำแรงงานนอกระบบไปอยู่ในกลุ่มเปราะบาง ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ในบางส่วน ในช่วงสถานการณ์โควิด การแยกผลกระทบจากโควิด ๑๙ ไม่สามารถแยกข้อมูลผลกระทบได้ชัดเจน เนื่องจากภาครัฐแยกการเยียวยาตามกลุ่มอาชีพ คือ เกษตร ประมง ฯลฯ กลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ได้รับการชดเชยผลกระทบจากโควิด ในกลุ่มแรงงานที่ทำงานในภาคธุรกิจจะได้รับ แต่การเยียวยาไม่ครอบคลุม ซึ่งการเยียวยาไม่ได้สำคัญเท่ากับการสนับสนุนให้คนในชุมชนกลับมาประกอบอาชีพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะแนวทางขับเคลื่อน

๑)การจัดทำระบบฐานข้อมูล แสดงตัวตนหรือการขึ้นทะเบียนแรงงานนอกระบบระดับพื้นที่ คัดกรองเป็นกลุ่มอาชีพสาขาต่างๆ เพื่อให้เห็นข้อมูลร่วมกัน สามารถรวมตัวเป็นกลุ่ม/องค์กร มีตัวแทนแรงงานนอกระบบในแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าไปผลักดันนโยบายระดับประเทศ ต่อรองและบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพัฒนากลไกอาสาสมัคร อสอช.ที่ดำเนินงานในชุมชน เพื่อเชื่อมกับกองทุนตำบล เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสามารถนำไปสู่การทำงานเพื่อเชื่อมโยงการทำงานกับทุกภาคส่วน

๒)ให้มียุทธศาสตร์ร่วม อาทิ ด้านสุขภาพ แรงงานนอกระบบต้องเข้าถึงการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น การได้รับเชื้อโรค หรือผลกระทบจากการประกอบอาชีพ มีคลินิกแรงงานนอกระบบโดยตรง เพื่อเป็นพื้นฐานในการคัดกรองโรคและแยกกลุ่มอาชีพที่ชัดเจน และเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด

ด้านความมั่นคงทางอาชีพ ผลักดันให้มีและเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ เช่น หากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานจะมีอะไรคุ้มครองหรือไม่  หรือมีกองทุนสนับสนุนการผลิตของชุมชน จากภาครัฐ ในการนำไปสู่การแก้ปัญหาในเชิงคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ หรือการผลักดันให้เข้าถึงสิทธิที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรา ๔๐ ของประกันสังคม การรวมกลุ่มกันในการประกอบอาชีพ การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือกัน รวมถึงการสร้างการสื่อสาร ที่ให้กลุ่มแรงงานนอกระบบเข้าถึงข้อมูล นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ

การสร้างความเข้มแข็งขององค์กร มีการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัด และแรงงานนอกระบบทั้งภาคใต้ หรือระดับประเทศ ใช้กลไกกขป.เขต ๑๒ เป็นเจ้าภาพ/กลไกกลางในการขับเคลื่อนประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยสร้างกลไกระดับจังหวัดและมีตัวช่วยตัวเสริมจากภาคีต่าง ๆ เข้ามาหนุนเสริมการทำงาน  มีการขับเคลื่อนต่อยอดในพื้นที่นำร่อง(สงขลาและตรัง) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นให้ชัดเจน ผลักดันร่วม กับกขป.และสปสช.

ทั้งนี้กขป.เขต ๑๒ จะร่วมกับ ๔PW สงขลาประสานการขับเคลื่อนนัดประชุมเครือข่ายแรงงานนอกระบบร่วมกับกลุ่มเปราะบางทางสังคม วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓
ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา พัฒนากลไกระดับจังหวัดร่วมกัน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics