สานพลังขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารสุขภาพด้วยการส่งเสริมและฟื้นฟูพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นกรณีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

  • photo  , 1000x750 pixel , 166,848 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 308,937 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 206,629 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 160,779 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 235,088 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 188,039 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 215,728 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 710,648 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 154,636 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 190,099 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 176,024 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 190,572 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 709,056 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 473,885 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 478,938 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 502,193 bytes.

ประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมและฟื้นฟูพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นกรณีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

วันที่  ๑๙ สิงหาคม ๖๓ ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติธาตุ ๔

เรียนรู้กระบวนการจดทะเบียนคุ้มครองพันธูุ์พืชพื้นเมือง ร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ ,กรมวิชาการเกษตร,มหาวิทยาลัยทักษิณ อบต.ท่าข้าม สภาพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้ กลุ่มข้าวไร่พื้นบ้านเทพา ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติธาตุ ๔ ธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก เครือข่ายที่ดินเทือกเขาบูโดสุไหงปาดี ห้องเรียนท้องนาเขาคูหา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้และกลุ่มชุมชนในพื้นที่

สรุปกระบวนการและขั้นตอนในการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

๑.สิทธิในพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ผู้ทรงสิทธิ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ เป็นผู้ทรงสิทธิแทนชุมชน

๒.การเข้าถึงพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าวเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์

๓.หลักเกณฑ์และวิธีการ เงื่อนไขการจดทะเบียนโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมวิชาการเกษตรหรือสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อเสนอให้กรรมการพิจารณา ในกรณีที่ชุมชนอยู่ในเขตปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ชุมชนดังกล่าวจะยื่นคำร้องต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อดำเนินการ

๔.คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นต้องแนบหลักฐาน คือ สำเนาหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนชุมชน หนังสือแสดงการมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์นั้น เพื่อดำเนินการจดทะเบียนแทน สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ เอกสารอื่นตามที่อธิบดีประกาศ

๕.เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นแล้ว ให้ตรวจสอบคำขอ แหล่งกำเนิด คุณสมบัติของพืชที่จำเป็น เอกสาร หลักฐาน และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ถ้าเห็นว่าเอกสาร หลักฐานและรายละเอียดไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการส่งเอกสาร หลักฐาน และรายละเอียดเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวันนั้นตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่สั่งไม่รับคำขอแล้วแจ้งคำสั่งดั่งกล่าวแจ้งสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันครบกำหนดระยะเวลาให้ยื่น

๖.เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ให้แจ้งการไม่รับจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ให้ผู้ยื่นคำขอทรายภายในสิบห้าวัน ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นควรรับจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นตามคำขอให้ประกาศคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ณ กรมวิชาการเกษตร และศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยื่นคำคัดค้านภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศ

๗.ในกรณีที่ไม่มีการคัดค้าน ให้คณะกรรมการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ในกรณีที่มีคำคัดค้าน ให้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

โดยมีรูปธรรมระดับพื้นที่เพื่อรองรับว่าการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นมีความสำคัญ คือ  กลุ่มข้าวไร่พื้นบ้านเทพา  กองทุนหวันอ้อมข้าวและมหาวิทยาลัยทักษิณ  ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติธาตุ ๔  วิทยาลัยทุเรียนบ้านชุมชนท่าข้าม และธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก

พันธุกรรมพื้นบ้านคือเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

ปราณี วุ่นฝ้าย รายงาน

Relate topics