ภาคีเครือข่าย พอช. ร่วมขับเคลื่อน "ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจดี ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน สู่สังคมอันดามันแห่งความสุข" พื้นที่เขต 11-12

  • photo  , 1000x667 pixel , 100,279 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 62,876 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 69,206 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 106,675 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 54,697 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 68,628 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 103,113 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 64,436 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 90,890 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 85,299 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 86,533 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 75,494 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 99,167 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 86,175 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 112,182 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 79,860 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 80,437 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 98,841 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 86,216 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 97,030 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 97,483 bytes.

"ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจดี ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน สู่สังคมอันดามันแห่งความสุข" พื้นที่เขต 11 และ 12

วันที่ 19-20 สิงหาคม 2563 สัมนากลุ่มจังหวัดอันดามัน ณ The pine apple hotel อ.เมือง จ.กระบี่

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พอช. เปิดเวทีกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาแผนกลุ่มจังหวัดอันดามัน (ภาคประชาชน) โดยมีแกนนำขบวนองค์กรชุมชน 6 จังหวัดอันดามัน (กระบี่/พังงา/ภูเก็ต/ตรัง/สตูล/ระนอง) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนวางแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน โดยมีรายละเอียดแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามัน ดังนี้

วิสัยทัศน์ "ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจดี ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน สู่สังคมอันดามันแห่งความสุข"

พันธกิจ

"ส่งเสริมระบบการพัฒนาศักยภาพคนในการเข้าถึงสิทธิ การจัดการชุมชน (ชุมชนเข้มแข็ง),ส่งเสริมระบบการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ส่งเสริมระบบการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนโดยใช้การจัดการธุรกิจเป็นแกนกลาง,ส่งเสริมการพัฒนานโยบายสาธารณะ"

ประเด็นการพัฒนา 5 ประเด็น

1.ด้านการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน (4 แนวทาง)

2.ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (2 แนวทาง)

3.ด้านการจัดการเศรษฐกิจและทุนชุมชน (3 แนวทาง)

4.ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต (4 แนวทาง)

5.ด้านการจัดการที่ทำกินและที่อยู่อาศัยอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (3 แนวทาง)

โดยมีกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อยพัฒนาโครงการ Project idel ตามความสนใจของแกนนำขบวนฯจังหวัด ตามประเด็นการพัฒนา 5 ประเด็น และให้ทุกกลุ่มได้นำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสรุปเป็นภาพรวม

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณประหยัด ช่อผกาพันธ์ ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดพังงา มาเป็นวิทยากรให้แนวคิด ความสำคัญของแผนพัฒนา แนวทาง และช่องทางการเชื่อมโยงแผนพัฒนาภาคประชาชนกับแผนงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

ทิตอารุณ สัจจสุจริตกุล รายงาน

Relate topics