"ร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมตำบลเกตรี"

  • photo  , 1560x1170 pixel , 115,966 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 131,085 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 131,689 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 136,144 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 159,491 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 128,614 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 169,500 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 93,730 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 175,092 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 116,838 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 123,936 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 102,246 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 144,986 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 142,432 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 137,049 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 98,616 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 161,172 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 128,313 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 142,109 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 185,836 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 151,689 bytes.

"ร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมตำบลเกตรี"

ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบความร่วมมือในการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมร่วมกันระหว่าง กขป.เขต ๑๒ มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาคมผู้บริโภคจังหวัด อบต.เกตรี รพ.สตูล กรรมการอิสลามจังหวัด และเครือข่าย

วันนี้ (วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓) ประชุมคณะทำงานร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ เป็นแผน ๓ ปี เริ่มจากวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเปราะบางจำนวน ๒๐๖ คน พบว่ากลุ่มใหญ่เป็นคนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ความต้องการมุ่งเน้นไปที่เงิน การปรับที่อยู่อาศัย อาหาร วัสดุสิ้นเปลืองในการรักษาพยาบาล ทิศทางที่จะดำเนินการ มุ่งเน้นให้เกิดกลไกคณะทำงานกลางที่จะดูแลภาพรวม และคณะทำงานตามยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนกลางระดับตำบล การจัดการปัจจัยสี่ เน้นการปรับสภาพที่อยู่อาศัย การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน และการดูแลสุขภาพที่อบต.จะสมัครเข้าร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และทำงานบนฐานข้อมูลที่รองรับการทำงานอย่างครอบคลุม

ทีมงานร่วมกันวิเคราะห์ทุนทางสังคม ทบทวนประวัติความเป็นมาคำว่าเกตรีเป็นภาษามลายูมาจากคำว่า บูเกต แปลว่าภูเขา และบุตรี คือ หญิงสาว ตระกูลหลักที่นี่ คือ อาดำ มาจิ แก้วสลัก สมัยก่อนขึ้นอยู่กับตำบลบ้านควน ต่อมาปี ๒๕๒๗ ทางกระทรวงมหาดไทย ได้แยกจากตำบลบ้านควน ตั้งเป็นตำบลเกตรี ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน และแยกเพิ่มอีก ๑ หมู่บ้าน คนเกตรีมีความสัมพันธ์กับชุมชนในประเทศมาเลเซียมาตั้งแต่สมัยอดีต ชุมชนอาศัยอยู่ร่วมกัน เดินทางไปมาหาสู่กัน ทำให้ชื่อหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นภาษามลายู อาชีพในอดีตทำนาเป็นหลัก ข้าวและสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างพื้นที่ มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชนคือ พันธุ์ข้าวข้าวอัลฮัมดูลิลละห์ การดูแลช่วยเหลือกันในอดีต ชุมชนเกตรีอาศัยอยู่กันแบบสังคมเครือญาติ มีโต๊ะอิหม่ามเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีความเป็นสังคมเครือญาติสูง และเป็นแนวทางหลักในการไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ทุกคนอยู่ร่วมกันในฐาน "ลูกหลานโต๊ะเราะ" (ซึ่งเป็นหญิงชราใจดีเป็นบุคคลต้นแบบของคนในชุมชน)

นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าทั้ง ๗ หมู่บ้านของที่นี่เป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก มีมัสยิด วัด โรงเรียน ตาดีกา นับเป็นพื้นที่ที่มีฐานการทำงานที่ดีรองรับ ผู้นำชุมชนเองก็เติบโตมาจากงานกองทุนเพื่อการพัฒนาทางสังคม (SIP)อีกด้วย

และร่วมปฎิบัติการพลเมืองตื่นรู้สู้ภัยโควิด กขป.เขต๑๒ ได้ส่งมอบโปสเตอร์รณรงค์สู้โควิด จำนวน ๓๕๐๐๐ ใบ ให้กับเครือข่ายนำไปมอบต่อให้กับครัวเรือนในจังหวัดสตูล แนวทางดำเนินการต่อไป

๑.ประชุมคณะทำงานชุดเล็กยกร่างแผนฯ เตรียมเอกสารการประชุม ข้อมูลในภาพรวมและข้อมูลบุคคล

๒.ประชุมคณะกรรมการระดับตำบล พิจารณาเห็นชอบแผนฯ จัดตั้งคณะทำงานแต่ละด้าน และกำหนดกิจกรรมเร่งด่วน ได้แก่ การประสานเครือข่ายภาคส่วนต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ผลักดันแนวทางการแก้ปัญหา ส่งต่อความต้องการไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันระดมทุนจัดตั้งกองทุนกลางระดับตำบล โดยอาศัยทุนทางสังคมของผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และความเป็นเครือญาติร่วมดำเนินการ

ชาคริต โภชะเรือง  รายงาน

Relate topics