สมาคมอาสาสร้างสุขและภาคีเครือข่าย CSOs จ.ตรังจับมือเพื่อหนุนเสริมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

  • photo  , 1000x667 pixel , 129,832 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 119,896 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 140,816 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 81,681 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 106,315 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 113,934 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 114,435 bytes.
  • photo  , 1000x751 pixel , 154,236 bytes.
  • photo  , 1000x751 pixel , 156,224 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 118,225 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 96,356 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 96,197 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 89,037 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 114,976 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 84,943 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 61,132 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 83,326 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 81,344 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 70,967 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 84,545 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 67,055 bytes.

พบเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมกับหน่วยงานองค์กรเครือข่ายจังหวัดตรัง ประสานความร่วมมือหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

วันที่ 1 ตุลาคม 63 สมาคมอาสาสร้างสุขร่วมกับหน่วยวิจัยพัฒนาศักยภาพเยาวชนจังหวัดตรัง เป็นเจ้าภาพทำหน้าที่เชื่อมร้อยเครือข่ายภาคประสังคมและองค์กรภาครัฐในการประสานงานภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ตัวแทนหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวน 18 คนมีความหลากหลาย ได้แก่ สถานพินิจจังหวัดตรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมดตะนอย เกาะลิบง อุทยานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชฯ อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ตัวแทนกำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ เครือข่ายสลัม 4 ภาค ตัวแทนชุมชนและอื่นๆ  ในจังหวัดตรัง

ผู้เข้าร่วมต่างสะท้อนความห่วงใยที่มีต่อกลุ่มเยาวชนและเด็กนอกระบบการศึกษา โดยในพื้นที่จังหวัดตรังมีเป้าหมายดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา 200 คนและพัฒนาทักษะครูพี่เลี้ยงจำนวน 20 คน ทุกฝ่ายต่างมองว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะการหนุนเสริมเด็กครั้งนี้เป็นเหมือนกันให้โอกาสและจุดประกายให้เด็กมีชีวิตที่ดีขึ้น

ความท้าทายสำคัญของเป็นที่ตรังนอกจากเยาวชนนอกระบบในชุมชนก็คือ กลุ่มเยาวชนนอกระบบที่อยู่ในการกำกับดูแลของสถานพินิจ ซึ่งรูปแบบการเสริมศักยภาพเด็กจะเน้นการให้ความรู้ทักษะอาชีพที่เด็กเยาวชนสามารถนำไปใช้หลังจากออกจากสถานพินิจไป ทั้งนี้ ตัวอย่างอาชีพที่น้องๆสนใจ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเชื่อม ช่างเสริมสวย ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 ที่น่าสนใจคือ กลุ่มเยาวชนที่เป็นชาติติพันธ์มันนิ ที่อาศัยอยู่ในแนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งในครั้งนี้เลือกนำร่องในพื้นที่ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และการดูแลหนุนเสริมเยาวชนก็จะเป็นเรื่องของทักษะทักษะความรู้อ่านออกเขียนได้ และต้องวางแผนการทำงานให้ละเอียดปราณีตมากเพราะเป็นกลุ่มเพราะเป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตเป็นเอกลักษณ์ของตนเองชัดเจน

ผู้เข้าร่วมโครงการต่างมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกันว่าทางสามารถนำร่องในระยะพี่หนึ่งประสบความสำเร็จก็จะสามารถเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆได้และหวังว่าโครงการจะมีอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

ศูนย์อาสาสร้างสุขภาคใต้ รายงาน

Relate topics