"ปลูกได้ ขายเป็น จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค" การจัดการสินค้าเกษตรผ่านบทเรียนตลาดต้นไม้ชายคลอง พัทลุง

  • photo  , 960x720 pixel , 136,462 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,249 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 114,030 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,977 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 103,821 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,244 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 66,996 bytes.

"ปลูกได้ ขายเป็น  จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค"  การจัดการสินค้าเกษตรผ่านบทเรียนตลาดต้นไม้ชายคลอง

ความเป็นมาตลาดชายคลอง

จากจุดเริ่มต้นผลิตกล้าไม้ป่า  สูธุรกิจรับปลูกป่า สู่ความท้าทายมองบริบทต้นไม้ ตลาดต้นไม้ ตามแนวคิดแนวกรีน  มองอัตลักษณ์ ตอบโจทย์คนในพื้นที่ได้ประโยชน์ มุมมองสนองต่อ คนมาชมเที่ยว กว่า2ปี กับการปรับตัว ร้านค้ามีจำนวนพอประมาณ เน้นความสุข การใาพักผ่อน  ตลาดปลอดฝุ่น. ใช้อิฐกว่า 2 แสนก้อน ตอบโจทย์ เที่ยว กิน เล่น ของฝาก เดินชม ทุกกลุ่มวัย  ตลาดนี้เน้นความปลอดภัยสำหรับทุกคน

มุมมองผู้ผลิตในตลาดนัดชายคลอง

มีการพูดคุย แนวคิดตลาด กว่า 2 ปี ของกลุ่มผลิตอาหารแปรรูปลูกหยี ก้อเห็นด้วยกับการก้าวจากผู้ผลิต มาสู่ การโปรโมทสินค้า ..เกิดการเชื่อมปลูก ผลิต แปรรูป ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่นๆ สู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่นกล้วย เน้นตอบโจทย์อาหารปลอดภัย ปลูก ผลิต แปรรูปเพิ่มมูลค่า ได้ตู้อบจากพลังงานจังหวัด ได้แรงสนับสนุนจากสมาชิกในชุมชน ลูกหยีในอำเภอปากพะยอม  สินค้าต้นลูกหยี ลูกหยีกวนลูกหยีฉาย กล้วยแปรรูป เน้นผลิตตามคำสั่งซื้อ เน้นการจัดการที่ตลาด เน้นการขายออนไลน์  พบว่าหลังCOVID19 ตลาดออนไลน์ และตลาดชายคลองเติบโตอย่างดี  สมาชิกแบ่งเป็น ประจำและยามว่าง ได้รับแรงจากพัฒนาที่ดิน เกษตร พัฒนาการอำเภอ พลังงานจังหวัดสนับสนุนตู้อบ4*3 เมตร. จุดท้าทายของกลุ่มด้านระบบการผลิต  ทุน วัตถุดิบ การขอมาตรฐานสินค้า อย.  การเก็บวัตถุดิบ ปัจจุบันสมาชิกมีการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

สวนสละ สวนสำเร็จริเวอร์ไซด์

จากชื่อบิดา สำเร็จ. มาสู่ชื่อสวน เป็นพื้นที่ทางเลือกของเกษตรกร ทำสวนยางพารา เพื่อให้สามารถเป็นทางเลือกในการทำสวนสละ  จากประสบการณ์ทำพืชสวนหลายตัว เจออุปสรรคราคา โรคพืชมาสู่สวนสละในปี2556 เนื่องจากสละให้ผลผลิตทั้งปี มีรายได้ทั้งปี สามารถวางแผนการผลิตได่แน่นอนประกอบกับความชอบส่วนตัว ได้กิน ได้เป็นของฝาก ได้ขาย ...เริ่มจากพื้นที่22ไร่ ทำไปทำมามีข้อจำกัด ต้นทุน แรงงาน. ได้ต้นพันธ์สุมาลี มาลงในครั้งแรก.หลังปลูก2ปี ออกดอก  หลังผสมเกสร8 เดือนก้อสามารถตัดออกมาขายได้ จนถึงปัจจุบัน ใช้แรงงาน4ไร่ต่อ1คน. จากประมาณการรายได้ 2-5พันต่อวัน เดือนละ2-3ตัน ขายกิโลกรัมละ70บาทโดยเฉลี่ยก้อสามารถให้ลูกมาสานต่อได้ในอนาคต การมาเชื่อมกับตลาดไม้ชายคลอง โดยเริ่มจากวิสาหกิจท่องเที่ยว สวนผลไม้  ที่พักผ่อน จุดประกายมีตลาดมีเชื่อมโยงเครือข่าย  ตั้งแต่ต้นนำ้ สู่ผู้บริโภค  ...มีจุดเด่นด้านการมีตลาด. มีการแวะเวียนมาทั้งในวันหยุด และวันปกติ

ตัวแทนนักวิชาการในพื้นที่

สร้างเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ตามแนวคิด ใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้. ทุ่งปศุสัตว์. เกษตร  บริการวิชาการ  ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยน สนับสนุนนวัตกรรมขับเคลื่อน .ร่วมกับตลาดชายคลอง..แนวคิดการเพาะกล้าพืชป่า การจัดการเมล็ดพันธุ์  การพัฒนาสารเคลือบเมล็ด. แก้จุดอ่อน การเก็บ  การเสื่อม การรักษาอัตราการงอกของเมล็ด ง่ายต่อการจัดการ

คณะอุตสาหกรรมเกษตรฯ ก้อจะสนับสนุนการแปรรูป ร่วมกับทางชุมชน มีเครือข่ายฐานเมล็ดพันธุ์ เช่น ข้าว เป็นต้น สร้างความมั่นคงทางอาหาร. สร้างความเข้มแข็งระดับจังหวัดของกลุ่ม  พัฒนาเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานอื่นๆของจังหวัด อนาคตยกระดับมาตรฐานอื่นๆต่อไป


นพ.มาหะมะ เมาะมูลา บันทึก/รายงาน

Relate topics