Policy Dialogue การปฏิรูปสาธารณสุข

  • photo  , 812x833 pixel , 47,113 bytes.
  • photo  , 728x960 pixel , 77,895 bytes.
  • photo  , 728x960 pixel , 73,185 bytes.
  • photo  , 779x960 pixel , 91,203 bytes.

Policy Dialogue การปฏิรูปสาธารณสุข


วันที่ 9 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 - 16.25 น. ณ กระทรวงสาธารณสุข

ทิศทางการปฏิรูปสาธารณสุข  โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร

1.พื้นที่ : การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ต้องเกิดขึ้นในบ้าน ครอบครัว และ ชุมชน ดูแลสุขภาพในชุมชน ไม่ต้องมาแออัดในโรงพยาบาล

2.ประเด็น : เน้นปัญหาที่คุกคาม และยังทำได้ไม่ดี ต้องการการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ และต้องส่งผลกับประชาชนโดยตรง : การรองรับโรคอุบัติใหม่ (COVID 19), NCDs, ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ NCDs และผู้สูงอายุ ต้องใช้ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ดูแลให้เป็นรูปธรรม

3.วิธีการ : ต้องเน้นใช้ Digital technology เข้ามาสนับสนุน การใช้ระบบสุขภาพปฐมภูมิ เน้นส่งเสริมป้องกันโรค ปรับระบบกลไกการเงิน มีเงิน PP&P เฉพาะ ระบบพัฒนาบุคลากร

4.ต้องมีรูปธรรม เพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลา 8 เดือน วางระบบ และ 1 ปี ในการนำร่อง ใน 4 เขตสุขภาพ โดยใช้ Sand box เพื่อ งดเว้นกฏระเบียบบางอย่างที่ติดขัด

5.วาง 5 คทง. 5 ประเด็น 1. โรคอุบัติใหม่ (อ.ปิยะมิตร) 2. NCDs (อ.สุขุม) 3.ผสอ.(อ.ศิริอร) 4.การเงินการคลัง (อ.นพพร) 5.เขตสุขภาพ (อ.โสภณ)


นำเสนอ ความคืบหน้าระบบสุขภาพปฐมภูมิกับความสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศฯ  โดย นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผอ.สสป.

1)ข้อมูลพื้นฐาน และผลการดำเนินการสำคัญ ตาม พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562
-การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คณะ ภายใต้ พรบ.ฯ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก้ ระบบลงทะเบียน/การผลิตและพัฒนากำลังคน/ข้อมูลสารสนเทศ/กลไกการเงิน/การมีส่วนร่วมของชุมชน

-ออกกฏหมายลูก 9 ฉบับ รอประกาศราชกิจจานุเบกษา อีก 5 ฉบับ รวมทั้ง

-นิยามและขอบเขตบริการปฐมภูมิ และร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง

2)ตัวอย่างรูปธรรมการทำงาน ภายใต้ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ

1.คลิป คลินิกหมอครอบครัว หล่มเก่า เพชรบูรณ์ https://youtu.be/5IeWVWXuRXw

2.รูปแบบการดำเนินการของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้ พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562

-รพ.สต.บางไผ่ จ.นนทบุรี โดย นพ.ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร และ ดร.ปภาชุดา อึ้งภากรณ์ ผอ.รพ.สต.และกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้ พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562

-โรงพยาบาลกำแพงเพชร ทั้งอำเภอเมืองกำแพงเพชร โดย นพ.ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ

3)กลไกการผลิตและพัฒนาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ภายใต้ พรบ.ฯ และคุณค่าการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแนวทาง Technology enabled Primary Care โดย ดร.พญ.ประกายทิพย์ สุศิลปรัตน์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

4)การส่งเสริมและพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดย บูรณาการกับ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย คกก.พัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับพื้นที่ 2561 และการขับเคลื่อน โดย นพ.จตุภูมิ นีละศรี ผอ.รพ.ท่ายาง และกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้ พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562

5)การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามนโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564

6)ร่างแผนพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 10 ปี และแผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ ระที่ 1 (พ.ศ.2564-2565)

7)สิ่งที่ต้องการสนับสนุน : งบดำเนินการ/การสร้างแรงจูงใจ/การเชื่อมโยงข้อมูลบริการทุกระดับ/กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

ประเด็นแลกเปลี่ยน

1)ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร

-เห็นทิศทางแต่ยังไม่ครอบคลุม ทำอย่างไรจะได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุกพื้นที่โดยเฉพาะระบบปกติได้ (institutionalised) และ Impact กับประชาชนในระยะเวลาอันสั้น ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน ระบบข้อมูลรองรับการเปลี่ยนแปลง

-ทัศนคติและคุณค่า ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นเรื่องสำคัญมาก ในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ

-จะทำอย่างไรในรูปธรรม ใน SAND Box

2)นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.สวรส.

-ระบบสุขภาพประเทศไทย เตรียมมาสำหรับ infections แต่ไม่รองรับ NCDs

-เงิน PP&P เป็นเงินเหลือ ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้เฉพาะ เเละไม่เพียงพอ

-สวรส. จะวิจัย สร้างแรงจูงใจ องค์ประกอบของทีม Competency ของทีม Role ของทีม

-ระบบข้อมูลสารสนเทศ ยัง fragmentใน Sand box ยังไม่

3)รศ.ดร.ศิริอร สินธุ กรรมการปฏิรูป

-รูปแบบและกรอบแนวทางมีความชัดเจน แต่ต้นเเบบไม่ขยายเท่าที่ควร

-ตย.NCDs ทำได้ดี จะขยายไปต่ออย่างไร  การมีระบบบริการที่ดี ใช้สารสนเทศมาช่วย

-แพทย์ต่อยอดจากระบบเดิมที่มีพยาบาลและนักวิชาการสาธารณสุข ทำงานอยู่ ซึ่งเป็นระบบมากขึ้น ต้องมาขยายต่อ ถอดรหัส

-การดูแลผู้สูงอายุ ต้องการดูแลในองค์รวม ระบบปฐมภูมิ ตอบโจทย์ ในการทำงาน

4)นพ.โสภณ เมฆธน กรรมการปฏิรูป

-PCC บริการปฐมภูมิ เป็นของดี เเต่ยังเกิดไม่เร็ว เพราะไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ส่วนหนึ่งเกิดจาก รร.แพทย์ ไม่ได้ recognise จะมีได้ต้องมี ระบบ training / ค่าตอบแทน/ การ engagement ของประชาชน

-ค่าตอบแทนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญ ควรให้ไม่น้อยกว่า แพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ การผลิตให้เพียงพอทันเวลา

-การสนับสนุนงบประมาณ 3 กองทุน การจ่ายตรง รพ.สต.

-การปรับ Mindset บริการสุขภาพปฐมภูมิ ไม่ใช่ของถูก เเต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

-Personal health record ใน NCDs กับ ผสอ. ต้องมีและทำให้เร็ว

5)นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

-การตั้งกองปฐมภูมิ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น ต้องเร่งรัด เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รองรับ พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งเป็น พรบ.ระบบบริการ เฉพาะแรกของประเทศ

6)ศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ กรรมการปฏิรูป

-ปรับระบบการ Training ทั้งแพทย์ พยาบาล ฯลฯ ให้มีโอกาสเลือกเรียน ต้องแต่เเรก ตั้งแต่แรกเข้า ไม่ใช่ให้เลือกเรียนตอนจบแล้ว

7)นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร

-งบดำเนินการในการสนับสนุน เป็นเงิน Ontop ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เช่น เงินทีมละ 1 ล้าน สนับสนุนตรงไป รพ.สต.

-ค่าตอบแทนแพทย์/ทีม ที่เพียงพอ

-การปรับ Paradigm ของโรงเรียนแพทย์

8)นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย

-กรอบ รพศ./รพท. มีแพทย์ GP ได้

-โอนเงิน ตรง รพ.สต.

-ตัวชี้วัด ให้พื้นที่กำหนดเอง เน้นผลลัพธ์

-ให้ พชอ.ดูแลเงิน PP.

-ท้องถิ่น สามารถสนับสนุนงบพัฒนา ที่หน่วยปฐมภูมิได้โดยตรง

9)นพ.โกเมนทร์ ทิวทอง

-โครงสร้าง Primary care ที่เป็นไปตาม พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2562

-หมอ 3 คน โดย หมอ 2 คน ตามนโยบาย ให้เป็นรูปธรรมและเข้มแข็ง เป็น Care manager Care giver

10)คุณสุทธาทิพย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

-นโยบาย Primary Care ที่เป็นหนึ่งเดียว (Primary Care / Primary health care) โดยรวมทั้ง การเชื่อมโยงกับ นโยบาย 3 หมอ

-Mindset ของผู้เกี่ยวข้อง ต้องมี National program ... แผนตาม พรบ.ปฐมภูมิ

-กลุ่มงานที่เป็น Structure ใน สสจ. รับผิดชอบปฐมภูมิชัดเจน

-พัฒนา อสม. ต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณ และอุปกรณ์ สนับสนุนการทำงาน เช่น Smartphone การหา อสม.ทดแทน

11) นพ.ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ

-การสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจาก รพ.แม่ข่าย ทั้ง ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ยา lab ระบบสารสนเทศ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม

-การสนับสนุน Community based training ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

-เพดานงบประมาณเฉพาะ ระบบปฐมภูมิ ไม่ต้องแบ่งกับทตุิยภูมิ / ตติยภูมิ

12)นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ

-เสนอกำหนดจำนวนการผลิตแพทย์ FM ให้ชัดเจน ในระยะสั้น เพื่อเติมให้ครบอีก 4,000 คน

-การสื่อสารสาธารณะ เรื่องระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสร้างการเข้าใจ ยอมรับ และต้องการ

13)นพ.ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร

-หารูปแบบการทำงานกับภาคีเครือข่าย หลายๆ กระทรวง เป็น Multilevel เช่น ประกันสังคม ในโรงงาน สถานประกอบการ ต่างๆ


สรุปโดย นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย รอง ผอ.สสป./ ผชช.ว.นนทบุรี

Relate topics