"ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง" พื้นที่ความร่วมมือกับงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมเขต ๑๒

  • photo  , 960x720 pixel , 58,051 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,700 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,127 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,563 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,488 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 91,437 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,507 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,879 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,138 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,620 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,726 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 83,492 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,237 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,171 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,929 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,767 bytes.

"ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง"

อีกพื้นที่ความร่วมมือกับงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมกับกขป.เขต ๑๒

วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ นัดนายกอบต. หน.สำนักปลัด ผญ. โต๊ะอิหม่าม ผู้นำชุมชน พมจ. กศน. มาร่วม ขอบคุณท่านนายอำเภอหร่ออ๊บ มุเส็มสะเดา ท่านสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง สะแลแม และทีมพชอ.  คุณกัลยา กขป.และทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี ที่ช่วยประสานงานจนนำมาสู่การหารือความร่วมมือ

เป้าหมายเพื่อเสริมหนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมภายใต้ช่องว่างการทำงานที่ยังแยกส่วนกันอยู่ มีเป้าหมาย แนวทางของตนเอง มีข้อจำกัดในเชิงงบประมาณ มีคนตกหล่นจากระบบ เหล่านี้นำมาสู่ความร่วมมือในการปรับระบบการทำงาน

๑)พัฒนากลไกกลางระดับตำบลร่วมกัน โดยทีมเล็กจะพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมโดยต่อยอดจากทีมปฎิบัติการระดับตำบล ทีมแก้ปัญหาโควิด ให้มีความครอบคลุมองค์ประกอบ ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ส่วนภูมิภาค โดยมีปลัดอำเภอประจำตำบล สสอ. มาเป็นที่ปรึกษา ให้เป็นกลไกที่สามารถตัดสินใจ สร้างความร่วมมือในการทำงาน อบต.จะเสนอไปยังอำเภอเพื่อแต่งตั้ง และนัดหมายมาประชุมสร้างความเข้าใจอีกรอบ เพื่อกำหนดเป้าหมาย การจัดระบบข้อมูลประชากรให้เป็นฐานเดียวกัน
๒)พัฒนาระบบข้อมูลกลาง นำข้อมูลพื้นฐานจากพมจ./อปท. มัสยิด รพ.สต. อพม. รร. และข้อมูลที่ศปจ.ปัตตานีและบัญฑิตอาสาสำรวจไว้เบื้องต้น ๒๓๐ คนใน iMed@home มาทบทวนเติมเต็ม พร้อมพัฒนาระบบข้อมูลของพื้นที่เพื่อเป็นเครื่องมือกลางให้แต่ละหน่วยงานได้ใช้ฐานข้อมูลประชากรเป็นตัวตั้งในการทำงาน นำมาสู่การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล(สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม)

๓)ทางอำเภอจะประสานทีมกขป.ไปร่วมนำเสนอแนวทางดำเนินการให้กับหัวหน้าส่วนของหน่วยงานต่างๆในที่ประชุมของอำเภอเพื่อให้เกิดการเสริมหนุนพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกระดับการทำงานที่มากกว่าเชิงสงเคราะห์ โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ลดความยากจน

ที่ประชุมได้ร่วมเรียนรู้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมของกขป.เขต ๑๒ รวมถึงการใช้แอพฯ iMed@home เพื่อบูรณาการงาน การเก็บข้อมูลผ่านระบบเยี่ยมบ้านด้วยภาพถ่าย การสำรวจความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ ดัชนีบาร์เทล การใช้ระบบกลุ่มในการทำงานฯ

Relate topics