เรียนรู้พื้นที่กะมิยอ เพื่อร่วมขับเคลื่อนปฏิบัติการประเด็นยุทธศาสตร์เขต ๑๒

  • photo  , 1000x667 pixel , 96,919 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 95,984 bytes.
  • photo  , 1686x1125 pixel , 179,061 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 94,300 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 81,777 bytes.
  • photo  , 1686x1125 pixel , 169,888 bytes.
  • photo  , 1686x1125 pixel , 156,169 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 84,867 bytes.
  • photo  , 1686x1125 pixel , 168,107 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 95,249 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 95,570 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 104,594 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 104,500 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 116,647 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 109,218 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 102,083 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 117,905 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 114,909 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 98,784 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 96,521 bytes.

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑  ประเด็นสุขภาวะตามช่วงวัย คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ โดยการนำของคุณประเวศ หมีดเส็น

จัดประชุมนัดแรกช่วงเช้า ณ รพ.สต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี ช่วงบ่าย ณ มัสยิดนูรุลยากีน ม.๒ ผู้เข้าร่วมจำนวน ๖๐ คน ประกอบด้วย กขป เลขาร่วม ประธานกขป. เครือข่ายสสส.ในพื้นที่ ศูนย์ประสานงานภาคประชาชน ทีมงานรพ.สต.กะมิยอ นายกอบต. ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ปลัดและรองปลัดอบต. สสอ.เมือง และชุมชน

มีข้อสรุปสำคัญๆดังนี้

๑.ร่วมเรียนรู้กะมิยอโมเดล : การพัฒนาระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน ต.กะมิยอ มีอายุสี่ร้อยกว่าปี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนาข้าว/ผลไม้/ตาลโตนด และทำหมวกกะปิเยาะห์ ประชากร กว่าสี่พันคนเป็นมุสลิมร้อยเปอร์เซ็นต์ มี ๗ หมู่บ้าน จุดแข็งของชุมชนที่นี่ มีพื้นฐานเครือญาติเดียวกัน ช่วยเหลือสามัคคีกันดี ไม่มีชนชั้น มีผู้นำเก่ง มีจิตอาสามาก เป็นสังคมเครือญาติ

“เริ่มจากการตั้งกลุ่มรวมพลคนรักษ์กะมิยอ เพื่อแก้ปัญหาชุมชนที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การแก้ปัญหาเน้นการพึ่งตนเอง มีการลงขันร่วมกัน เช่น จัดงานผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพ ให้เยาวชนมีส่วนร่วม มีการจัดทัศนะศึกษาชุมชนโดยเงินของชุมชนลงขันกัน ทำให้ได้พูดคุยกัน นำมาสู่การจัดการขยะในชุมชน ขยายผลมาเป็น “ขยะเพื่อความดี” ดำเนินการโดยเยาวชน มีกิจกรรมเพื่อความสัมพันธ์ร่วมกับการพัฒนา ชุมชนร่วมดำเนินการในรูปแบบชมรมต่างๆ เช่น ชมรมคนรักษ์กะมิยอ ชมรมจักรยาน(ออกกำลังกาย ช่วยกิจกรรมงานกุศล) ชมรมเยาวชน ชมรมฟุตบอล ชมรมผู้สูงอายุ  มีกองทุนซาดาเราะห์(ฌาปนกิจ) มีการจัด Big Cleaning ปีละ 2 ครั้ง จัดการขยะในช่วงเวลานอกราชการ ร่วมกันพัฒนากุโบร์ทุกเดือน ชุมชนร่วมคัดแยกขยะนำเงินที่ได้ไปให้มัสยิด มีกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ "

๒.ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน สาเหตุการป่วยหลักๆ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ซีดในหญิงมีครรภ์ วัคซีนได้รับต่ำกว่าเกณฑ์ มะเร็งปากมดลูก เด็กขาดสารอาหาร ผอม เตี้ย เด็กฟันผุ การแก้ปัญหา ให้สุขศึกษารายบุคคล เยี่ยมบ้านโดยภาคีเครือข่าย ทำงานผ่านผู้นำศาสนาทำความเข้าใจกับสามีในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้อาหารเช้า มีกติกาชุมชนไม่มีร้านอาหารหน้าโรงเรียน ในส่วนเด็กเล็ก เยาวชน มีนโยบาย Smart kids (อำเภอเมือง) ที่มีปัญหาพัฒนาการและโภชนาการ เด็กผอมกับเตี้ย ฟันผุ มีการทำโรงเรียนพ่อแม่ วัยทำงาน มีปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ ผิดปกติทางสายตา  ผู้สูงอายุ แยกติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ผู้พิการมี 51 คน เป็นตำบลนำร่อง LTC เยี่ยมบ้านทำงานกับทุกภาคส่วน มีกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและกองทุนเพื่อนช่วยเพื่อน

๓.ฐานคิดสำคัญในการดำเนินงาน : ใช้พื้นที่เป็นฐาน บูรณาการ5 กลุ่มวัย สำนึกรักบ้านเกิด ใช้พลังจิตอาสา เรียนรู้ตัวเอง ทำกิจกรรมเพื่อสนองปัญหา มัสยิดคือศูนย์กลางการพัฒนา การพัฒนาไม่สิ้นสุด ไม่หยุดนิ่ง ขับเคลื่อนงานโดยพลังเยาวชน ทุกคนเป็นเจ้าของชุมชนช่วยเหลือกันเองได้
“การทำงานเน้นจิตอาสา เป็นคนสาธารณะ ทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจ ยึดถือการไม่แบ่งแยกสูงต่ำ ไม่ยึดตำแหน่งระดับ/สถานภาพทางสังคม ชนชั้น”

๔.พื้นที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี ปัจจัยความสำเร็จสำคัญคือ การสร้างคนบนพื้นฐานการให้ตามหลักศาสนา ยึดประโยชน์สาธารณะในการพัฒนา : แกนนำภาคส่วนต่างๆ คุยกัน แก้ปัญหาบนฐานพึ่งตนเอง อาศัยจิตสำนึกรักบ้านเกิด...ใช้ปัญหาของพื้นที่นำ ตามด้วยนโยบาย แล้วสร้างกลุ่มชมรมต่างๆที่อยู่ในฐานะมีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมดำเนินการโดยเฉพาะเยาวชน มีรูปธรรมความสำเร็จจากเรื่องเล็กๆจากความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการของคนตัวเล็กๆทำให้เกิดความมั่นใจและเชื่อมั่น รู้จักคุณค่าของตัวเอง ก่อนขยายผล เชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ค่อยแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ

๕.แนวทางดำเนินการต่อไป

๑)กขป.Mapping ภาคีเครือข่าย ร่วมกันเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบ ถอดบทเรียนนำไปขยายผล เช่น ตัวแบบกะมิยอโมเดล/วัดโคกงู/บ้านเขานา

๒)มองภาพใหญ่ ใช้พื้นที่เป็นฐานตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ บูรณาการทุกกลุ่มวัย  นำเครือข่ายไปเรียนรู้แล้วเติมเต็มการทำงาน ปรับรูปแบบการทำงานเดิมเพื่อไปสู่เป้าหมายสุขภาวะชุมชน ร่วมมือกันดำเนินการในพื้นที่ โดยสามารถทำได้ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ /ศูนย์เด็กเล็ก ฯลฯ คู่ขนานกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

๓)หลังจากนี้สร้างช่องทางสื่อสารกลาง นัดแกนนำกขป.และเครือข่าย กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ค้นหาพื้นที่เป้าหมายร่วมดำเนินการต่อไป

Relate topics