พื้นที่ปฏิบัติการโครงการ SUCCESS อีกเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมในพื้นที่ เขต 12

  • photo  , 1000x750 pixel , 146,160 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 133,784 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 114,303 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 119,968 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,320 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 129,124 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 129,350 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 126,160 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 244,096 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 128,720 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 146,369 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 146,840 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 139,463 bytes.
  • photo  , 1000x558 pixel , 84,388 bytes.

อีกเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมในพื้นที่ เขต 12 โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 6 แห่ง ได้แก่ เมืองบ่อยาง(ทน.สงขลา) เมืองปาดังเบซาร์ (ทม.ปาดังเบซาร์) เมืองพะตง(ทต.พะตง) เมืองควนลัง(ทม.ควนลัง) จ.สงขลา เมืองควนขนุน(ทต.โตนดด้วน) จ.พัทลุงเมืองละงู(ทต.กำแพง)จ.สตูล

โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป ผ่านมาทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นเครือข่ายหลัก โดยมีจุดเน้นการพัฒนานโยบายระดับเมืองที่พิจารณาสถานการณ์เมือง ระบบเมือง ระบบนิเวศวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินความเปราะบางที่กระทบต่อคนชายขอบ คนเปราะบางในเมือง พัฒนาระบบแนวทางการการรับมือ การปรับตัว โดยมีภาคประชาสังคมเป็นแกนหลักดำเนินการ รอบนี้ 22-24 ตุลาคม ภาคประชาสังคมในพื้นที่สงขลา สตูล พัทลุงเรียนรู้เครื่องมือการจัดทำวิสัยทัศน์ของเมือง และการประเมินความเปราะบาง 3 เครื่องมือ ประกอบด้วย

1)กรอบแนวคิดเพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาต้นทุนสำคัญ ประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติ ทุนทางกายภาพและทุนการเงิน ใน 3 ระดับได้แก่ ระดับบุคคล/ครอบครัว ระดับชุมชน ระดับเทศบาล

2)เครื่องมือการประเมินตนเอง (UN-DRR LG-SAT) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี 10 คำถามสำคัญในด้านต่างๆที่จะใช้เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ

3)การเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จุดเน้นอยู่ที่บุคคล/องค์กร หน่วยงาน ระบบเมือง/โครงสร้างพื้นฐาน/ระบบนิเวศวิทยา วิถีปฎิบัติ/แผน/นโยบาย

Relate topics