ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๕)

  • photo  , 960x640 pixel , 82,695 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 101,523 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 100,649 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 86,021 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,997 bytes.

การประชุมกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ครั้งที่ ๕ (ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑) วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑  เวลา ๐๙.๐๐ -  ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมแคทลียา  สยามนครินทร์คอมแพล็กซ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ - แนะนำกขป.ในสัดส่วนภาครัฐที่เข้ามารับหน้าที่ใหม่ - การประชุมของกขป.เขต ๑๒ ไม่เป็นทางการ เน้นความเป็นกันเอง

วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม มติที่ประชุม  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ (๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๐)

วาระที่ ๓  เรื่องเพื่อพิจารณา

    ๓.๑.นำเสนอผลการดำเนินงานภาพรวมโดยนายชาคริต โภชะเรือง เลขานุการร่วม สช.<br />

การดำเนินงานที่ผ่านมา คือ สร้างกรอบการทำงานและกรอบปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิตร่วมกัน ในมิติต่างๆ  โดยมีนักวิชาการทำการศึกษาสถานการณ์สุขภาพของภาคใต้ ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับ ๔ องค์กรหลักและกขป. นำมาสู่การกำหนดประเด็นร่วม โดยมี ๔ ประเด็นร่วมได้แก่ ๑.บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ๒.สุขภาวะของกลุ่มช่วงวัย ๓.สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม ๔.เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ
กขป.มีหน้าที่ในการประสานความร่วมมือ โดยประสานภาคีต่างๆ มากำหนดยุทธศาสตร์และการวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยมี ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการความรู้ การบูรณาการระดับพื้นที่ และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ในการดำเนินงานมีพื้นที่ต้นแบบเป็นพื้นที่รูปธรรมเพื่อขยายผล พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อการทำงานร่วมกัน โดยเป้าหมายคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขต ๑๒ โดยแต่ละประเด็นจะมีรูปแบบการทำงานหลากหลาย สามารถที่จะออกแบบให้สอดคล้องกับองค์กรหรือภาคีร่วมได้ ซึ่งการขับเคลื่อนมีหลายมิติหลายแนวทางตามเหมาะสมของสถานการณ์พื้นที่และภาคีเครือข่าย

๓.๒ ความคืบหน้าแนวทางและผลการดำเนินงานกขป เขต ๑๒ ใน ๔ ประเด็นร่วม

 ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง นำเสนอโดยนายวันอาฟันดี เจ๊ะสาเหาะ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงมีจุดหมายคือ คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเขต ๑๒ เป้าหมายคือ สกัดผู้เสพรายใหม่และลดจำนวนผู้เสพรายเก่า มีการMapping เครือข่ายแต่ละประเด็น ต่อยอดพื้นที่ตัวอย่างเป็นแหล่งเรียนรู้  ซึ่งได้มีการจัดเวทีย่อยไปแล้ว ๒ ครั้ง โดยเชิญภาคีเครือข่ายองค์กรทั้ง ๗ จังหวัดมาเข้าร่วม  พบช่องว่างการทำงานที่ยังไม่ได้เชื่อมโยงกัน มีความสำเร็จเฉพาะจุด ยังต้องการการทำงานให้ครบกระบวนการต้นน้ำ-ปลายน้ำ ได้รับสมัครพื้นที่ต้นแบบในประเด็นดังกล่าวได้ก็คือ พื้นที่ยะลา และพื้นที่สตูล พัฒนาองค์ความรู้นำไปขยายผลยังภาคีที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อสังเกต -ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญคือ พื้นที่อยู่นอกสาธารณสุข และพื้นที่สาธารณะ  ซึ่งต้องสร้างจิตสำนึกในการณรงค์เลิกการสูบบุหรี่

 ประเด็นสุขภาวะของกลุ่มช่วงวัย  นำเสนอโดยนายประเวศ หมีดเส็น เลขานุการร่วม สธ. กรรมการประเด็นสุขภาพตามช่วงวัย มีโอกาสลงพื้นที่ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมมีอายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี  ชุมชนกะมิยอมีจุดเด่นในเรื่องของสำนึกรักบ้านเกิด เริ่มการทำงานจากสิ่งง่าย ๆ  โดยมีกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปีให้กับชุมชน มีผู้สูงอายุมาร่วมกิจกรรมกับชุมชน มีกลุ่มเยาวชนเป็นแกนหลัก มีการจัดการสิ่งแวดล้อมคือ ขยะความดี ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลายทำให้ชุมชนขับเคลื่อนงานไปได้  ตำบลกะมิยอมีการทำหมวกกะปิเยาะห์ ซึ่งเป็นวิสาหกิจของชุมชนแต่มีปัญหาคือ ฝุ่นผงจากเศษผ้า และปัญหาเรื่องการนั่งนานๆ ส่งผลต่อระบบสุขภาพระยะยาว

ข้อสังเกต -ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งบูรณาการทุกกลุ่มวัย แล้วแต่พื้นที่ นำองค์ความรู้จากตำบลกะมิยอไปขยายผลยังพื้นที่อื่น หรืออาจจะมีบางกลุ่มจังหวัดที่เลือกนำปัญหาของกลุ่มวัยมาดำเนินการ
 ประเด็นสุขภาวะชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม นำเสนอโดยนางนิธินาถ ศิริเวช เลขานุการร่วม สปสช. ได้มีการแยกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดคือ กลุ่มชาติพันธุ์ คือ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มมานิและอูรักลาโว้ย และกลุ่มที่ ๒ คือ กลุ่มเปราะบางทางสังคม เช่น กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มเยาวชนที่มีสารเสพติด ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กกำพร้า/เด็กและหญิงหม้ายที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ คนไร้บ้าน ชุมชนแออัด ชาวประมง คนไร้รัฐ คนพิการ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง กลุ่มที่ไม่ได้แจ้งเกิดฯลฯ  โดยมีเป้าหมาย  คือ แก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิ์ในด้านต่างๆ และการเข้าไม่ถึงปัจจัยสี่  ที่ผ่านมาสปสช. ได้มีการรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มมันนิและกลุ่มอูรักลาโว้ย  นอกจากนี้ได้มีการประสานองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามา เช่น กลุ่มสิทธิมนุษย์ชน กลุ่มองค์กรการแพทย์  ล่าสุดได้มีการร่วมเวทีรวมญาติของกลุ่มมันนิในเขตรอยต่อของจังหวัดพัทลุง สตูลและตรัง เพื่อสร้างความเข้าใจ และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ซึ่งภาคีที่เป็นเจ้าภาพหลัก คือ สช. และศปจ.(ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดสงขลา-ภาคประชาสังคม)  ในส่วนของศปจ. ได้รับงบจากรัฐบาลดำเนินการเก็บข้อมูลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมทุกจังหวัด เฉพาะพื้นที่จังหวัดสงขลามีข้อมูลคนยากลำบาก ที่ได้พัฒนาเป็นระบบข้อมูลกลางเพื่อเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานต่างๆผ่านแอพพลิเคชั่น สามารถนำบทเรียนมาขยายผลต่อได้

 ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ นำเสนอโดยนายชาคริต โภชะเรือง เลขานุการร่วม สช. การทำงานของประเด็นนี้ ได้ทดลองดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายสวนยางพาราในจังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมายคือ ให้ชาวสวนยางพออยู่พอกิน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของเขต ๑๒ ไม่ให้พึ่งพายางพารามากเกินไป และส่งเสริมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ แนวคิดคือใช้ตลาดและปัญญานำการผลิต การทำงานต้องทำให้เห็นตัวแบบก่อนคือ ใช้หลักการตลาดนำ และชวนผู้ผลิตมาสู่กระบวนการรองรับ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ในช่วงเบื้องต้นคือ หารูปแบบและขยายผลไปพร้อมๆกัน โดยใช้ต้นแบบ ๕๐ ราย และเชื่อมโยงการผลิตระดับครัวเรือนและการตลาด เชื่อมโยงกับสาธารณสุขให้เป็นอาหารปลอดภัย และการปลูกพืชสมุนไพรร่วมยาง การแก้ไขปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางต้องให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นด้วย ถึงจะสามารถทำงานเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้

๓.๓.World  Café แนวทางการดำเนินงานกขป เขต ๑๒ ใน ๔ ประเด็นร่วม ปี ๒๕๖๑

๓.๓.๑. กลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม

ข้อเสนอเพิ่มเติม ๑.วิเคราะห์เชิงระบบและจัดบริการที่เหมาะสม เช่น โครงการหมอน้อย(อสม.) ส่งเสริมให้ได้รับ การศึกษาเพิ่มโดย กศน.และการส่งเสริมอาชีพโดยสำนักงานแรงงานนอกระบบ

๒. หาที่ทำกิน/ที่ประกอบอาชีพ

๓. มีบัตรประชาชนแล้วคือ กลุ่มมันนิ แต่ยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่มีบัตรประชาชน เช่น กลุ่มไร้ที่อยู่ใน เขตเมือง/กลุ่มเร่ร่อนในเขตเมือง คนไทยที่ยังไม่มีเลข ๑๓ หลัก

๔. การเข้าถึงสิทธิ์ สิทธิ์อื่นๆเช่น เด็กแรกเกิด บัตรคนจน(มาตรการสวัสดิการของรัฐ)

๓.๓.๒.ประเด็นสุขภาวะของกลุ่มช่วงวัย

ข้อเสนอเพิ่มเติม ๑. ต่อยอดทุนของชุมชนที่มีอย่างหลากหลาย/ขยายผล ไม่ติดยึดเฉพาะภาคีองค์กรความร่วมมือ

๒. นำข้อมูลที่มีอยู่มาถอดบทเรียนเป็นชุดความรู้  ให้ชุมชนวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง  นำชุดความรู้(ต้นแบบ) มาให้ชุมชนเลือกให้เหมาะสมกับชุมชนของตนเองตามความสนใจและบริบทของพื้นที่ (shopping)

๓. ขยายผลสู่ภาคี ร่วมแก้ปัญหาระดับกลุ่มจังหวัด/เขต ให้เกิดเป็นรูปธรรม หนึ่งพื้นที่หนึ่งโมเดล ผลักดันจากพื้นที่ต้องมีต้นแบบ
๔. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อท้องถิ่น การนำข้อมูลไปสนับสนุนพื้นที่ เพื่อผลักดันเชิงนโยบาย ใช้ระบบพี่เลี้ยงลงไปเสริมสนุนพื้นที่ ต้องมีการทำความเข้าใจท้องถิ่นให้มีการผลักดันเชิงนโยบายให้เป็นเป้าหมายร่วมกัน คำนึงถึงพื้นที่ซึ่งไม่มีความพร้อมด้วย

๕.การทำงานทุกระดับต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบกันได้ ซึ่งจะเป็นการทำงานที่ทำให้ชุมชนเกิดการยอมรับ

๓.๓.๓.ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

ข้อเสนอเพิ่มเติม

๑.ปรับกระบวนทัศน์ของผู้สูบทั้งรายใหม่และรายเก่า

๒. ในมิติของพี่น้องไทยพุทธ ใช้ธรรมนูญพระสงฆ์ ใช้กับพระในวัด พัฒนาวัดให้เป็นต้นแบบ (วัด เกาะบก/วัดเกาะเสือ/วัดสมเด็จ  )

๓.การประสานการทำงานร่วม เช่น ทำงานกับโรงเรียน เช่น ญว.๒ เนื่องจากมีมาตรการด้านการ ลงโทษที่ชัดเจน  โรงงานสีขาว (รณรงค์ลดละเลิกสูบบุหรี่ในโรงงาน) การทำงานระดับครอบครัว

๔.ถอดความรู้ระดับตัวบุคคล เรียนรู้/รณรงค์ในเรื่องผลกระทบของพิษภัยบุหรี่กับตัวเอง สังคมและ คนรอบข้าง

๕. Mappingเครือข่ายแต่ละประเด็น/สธ/รพ.สต./เครือข่ายชุมชน/ ต่อยอดพื้นที่ตัวอย่างเป็นแหล่ง เรียนรู้

๖.ประสานขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบ รัฐมีบทบาทสนับสนุน และชุมชนเป็นผู้จัดการโดยมีผู้นำ

๗. ผลักดันเชิงนโยบาย เช่น ยาสำหรับผู้เลิกสูบบุหรี่ให้อยู่ในบัญชียาหลัก  กฎหมายจำกัดพื้นที่สูบ บุหรี่ นโยบายรับคนไม่สูบบุหรี่เข้าทำงาน การตรวจสุขภาพระดับพื้นที่ เพื่อคัดกรองผู้สูบบุหรี่

๘. สิ่งที่เป็นความท้าทายของกขป.เราจะทำอะไรที่นอกเหนือจากบทบาท/สิ่งที่หน่วยงานรัฐทำอยู่
เช่น การฟ้องรวมกลุ่มกรณีผลกระทบจากการสูบบุหรี่

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

-  อนาคตควรผลักดันให้มีศาลสุขภาพเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน
-  สถานการณ์ตอนนี้คือมีเยาวชนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น  ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่กขป.ต้อง ดำเนินการด้วย

๓.๓.๔. ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ

ข้อเสนอเพิ่มเติม

๑.ปรับปรุงเป้าหมาย ๑)เกษตรกรให้พออยู่พอกินและผู้บริโภคมีอาหารสุขภาพเพียงพอ ๒)เพื่อปรับโครงสร้างการพึ่งพืชเศรษฐกิจจากยางพารามาส่งเสริมพืชเศรษฐกิจที่สามารถผลิตอาหารให้ประชาชน ๓)ส่งเสริมการผลิตอาหารและตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ

๒.กลไกสนับสนุน  ร่วมสร้างตัวแบบที่ชัดเจนโดยมีพื้นที่เป้าหมายระดับตำบล  ดำเนินการโดยกลไกแบบไม่เป็นทางการและทางการ ภาคีได้แก่ บริษัทประชารัฐประสานงาน สถาบันวิชาการ สภาเกษตรกรจังหวัด ท้องถิ่น ผู้ส่งออก การขนส่ง กยท. เกษตรและสหกรณ์ สาธารณสุขจังหวัด สื่อ

ข้อเสนอแนะต่อทิศทางการดำเนินงานภาพรวม

๑)ปรับยุทธศาสตร์ให้การจัดการความรู้ดำเนินการในทุกยุทธศาสตร์ รวมทั้งเรื่องการสื่อสารทางสังคมและการประเมินผล โดยมองทั้งระบบ

๒)ยึดถือหลักการทำงาน “เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด และขยายผล” ร่วมกัน การทำงานไม่ได้มีการแยกส่วน แต่พยายามทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน

๓)ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ควรเน้นการปรับกระบวนทัศน์และการจัดการความรู้ ทั้งของบุคคลและกลุ่ม ลองศึกษามาตรการในการฟ้องต่อศาลในฐานะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของกขป.ที่ดำเนินการร่วมกัน เป็นประเด็นความเสียหายที่เกิดจากการดูแลสุขภาพ และผลักดันให้เกิดศาลสุขภาพในอนาคต จะทำให้คนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต้องระมัดระวังไม่ว่าจะเป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง/มือสาม หรือในประเด็นเกษตร ที่อาจเกิดผลกระทบต่อการสุขภาพ เช่น กรณีที่รัฐส่งเสริมให้มีการปลูกยาสูบแต่ในขณะเดียวกันที่ชาวบ้านทำเกษตรเพื่อพอมีพอกิน

๔)กขป.อาจเลือกทำบางเรื่อง วิเคราะห์เครือข่ายและองค์กรที่ทำเรื่องต่างๆ การตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา ๔ ปี กขป.จะทำงานระยะสั้น ระยะยาวแค่ไหนอย่างไร รวมทั้งการวัดผลสำเร็จของกขป.ในระยะยาวด้วย

๕)Mapping ให้เห็นรูปแบบว่ามีกี่รูปแบบใน ๔ ประเด็น  ต้องวิเคราะห์ว่ารูปแบบนั้นๆมีช่องว่างอะไรบ้าง การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนเป็นอย่างไร พื้นที่ต้นแบบเป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน และผลงานเป็นของเครือข่ายร่วมกัน

๖)ใช้การเรียนรู้จากพื้นที่ตัวอย่างปรับกระบวนทัศน์การทำงานร่วมกัน ตั้งแต่กขป.และภาคีความร่วมมือ พร้อมสร้างระบบสนับสนุนที่จะรองรับเพื่อให้ทุกคนเป็นเจ้าของร่วม

๗)ยุทธศาสตร์ที่อยากเห็นคือ การเปลี่ยนความคิดของบุคคล การรวมตัวกันรายบุคคลเป็นกลุ่ม เครือข่าย และให้ความสำคัญกับการสื่อสารสาธารณะ ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของ กขป.ที่ต้องดำเนินการ และควรต้องมีตัวแบบแล้วนำไปสู่การขยายผล ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นจุดอ่อน การจัดการความรู้และการผลักดันนโยบายทั้งระดับพื้นที่และระดับชาติ  ลงมือทำจริงและทำแบบมีส่วนร่วม

๓.๔ การติดตามประเมินผล

นำเสนอ Output งานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ โดยนายชาคริต โภชะเรือง เลขานุการร่วม สช. บทบาทของกขป. คือประสานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน และการติดตามประเมินผล การประเมินผลภายใน โดยมี input  output และ outcome ดังนี้ input มีการรวบรวมปัญหา/ทุนเดิม ประชุมกลุ่มย่อยทั้งทางการและไม่เป็นทางการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนากลไกหนุนเสริม ระบบข้อมูลกลาง และการพัฒนาศักยภาพ output ยุทธศาสตร์ร่วมของงานประเด็น อันมาจากความเห็นร่วมของภาคีภาครัฐ/ท้องถิ่น/วิชาการ/เอกชน/ประชาสังคม/ชุมชน ร่วมกับเขตสุขภาพ สธ/4PW/DHB/กองทุนตำบล/หมู่บ้าน/องค์กรในกขป. มีการบูรณาการแผน One Plan และพื้นที่ปฎิบัติการ ความร่วมมือสร้างตัวแบบใหม่ มีการรายงานผลการทำงานร่วม วัดผลสำเร็จที่บุคคล/ครัวเรือน/พื้นที่ outcome จัดการความรู้/ภาคี ปรับแนวคิดและแนวทางเชิงนโยบายในการจัดทำแผนและกิจกรรม นโยบายสาธารณะในการปรับเชิงระบบ และการรับรู้ผลความสำเร็จร่วมของภาคี ทุกคนต้องเป็นเจ้าของการทำงานร่วมกัน การทำงานที่ต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ เน้นการต่อยอดและให้เครดิตพื้นที่ สิ่งใดที่เกิดใหม่นั่นคือผลงานของกขป.
การประเมินมีทั้งภายในและภายนอก  โดยแต่ละเขตฯจะต้องมีการทำรายงานประเมินทุก ๓ เดือน และมีรายงานคสช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ซึ่งต้องรายงานปีละ ๑ ครั้ง การจัดทำรายงานเป็นการทำรายงานภาพรวม  แต่ละเขตรายงานเขตละ ๑ ประเด็น โดยมีตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้ ปีนี้ภาคใต้จะนำเสนอเป็นภาคแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม

ข้อเสนอแนะการดำเนินงานเพิ่มเติม

๑.การกำหนดเป็น input&nbsp; output และ outcome มีระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี ให้มีความชัดเจนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคืออะไร อะไรคือผลกระทบที่สามารถวัดได้ และสิ่งที่เป็น input ที่อยากเห็นคือ มีการใช้แผนแม่บท ให้ทุกหน่วยงานเห็นและทำร่วมกัน

๒.เสนอให้มีปฏิบัติการ คือ ๑) ศึกษาวิจัยด้านคุณภาพชีวิตใน ๔ ประเด็น เป็นการประเมินคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขต ๑๒ และมีการประเมินภาพรวมว่าคุณภาพชีวิตของคนทั้งภาคใต้มีคุณภาพชีวิตอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ไหน และชี้ทิศทางที่ชัดเจนได้ รวมทั้งการทำงานเพื่อประสานงานร่วมกับเพื่อนเขตอื่นๆ และระดับประเทศ ๒)ศึกษาวิจัยเฝ้าระวังปัจจัยที่จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน  นำไปสู่การสื่อสารกับสังคมเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

๓.เชื่อมโยงการทำงานกับภาคีตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ(DHB) ภูมินิเวศ จังหวัด(4P-W) โดยมีฐานคิดว่าทุกคนเป็นเจ้าของเขตสุขภาพร่วมกัน โดยมียุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน ดังนี้ ๑.ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้อมูลองค์ความรู้และการสนับสนุนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย  ๒.ยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในรูปแบบการบูรณาการ เพื่อเสริมพลังในการทำงาน  ๓.ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายผ่านการสื่อสารทางสังคม  การทำงานต้องมีการวิเคราะห์ทั้ง ๔ ประเด็นว่ามีข้อมูลไหนที่ยังขาด การทำงานของกขป ที่ต้องมีการทำงานที่เกิดการยอมรับกัน และต้องมีการสื่อสารสังคม ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนเชิงนโยบายไปในตัว โดยทำให้สังคมเห็นว่าบทบาทของกขป ในการขับเคลื่อนนโยบายเป็นอย่างไร

๔.การทำงานของกขป.ควรนำไปสู่การใช้ข้อมูล ความรู้ และสานพลัง การไม่มองว่าใครเป็นศัตรู เป็นการตกลงกันแบบสันติวิธี

สรุปการประชุม
๑)การกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ควรทำควบคู่กับมีปฏิบัติการไปด้วย คิดแล้วทำ เตรียมประสาน ซึ่งสิ่งที่จะทำต่อไปคือการบูรณาการแผน เตรียมรายงานสู่สาธารณะ Kick off ดำเนินการ และการรายงานผลในช่วงแรกในช่วงเดือนมิถุนายน

๒)คณะทำงานประเด็นร่วมทั้ง ๔ จัดทำแผนปฎิบัติการในระยะเวลา ๑ ปี

๓)การติดตามประเมินผลภายใน มอบให้รองประธาน ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ เป็นหัวหน้าทีม

๔)นัดประชุมกขป.ครั้งถัดไปวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ณ โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ ขอเชิญตัวแทนกขป.เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ในวันที่ ๒๘-๓๐ มีนาคม ๖๑ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติมอ.หาดใหญ่ ซึ่งทางผู้จัดขอเชิญจำนวน ๒ ท่าน โดยสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมได้ที่ทีมกองเลขา

Relate topics

Comment #1
Krolik (Not Member)
Posted @6 พ.ค. 62 19:53 ip : 213...71

(NBAS) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ New Balance (นิว บาลานซ์) แบรนด์ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้ากีฬาสัญชาติอเมริกัน ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Brighton ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองบอสตัน แห่งรัฐแมสซาชูเซท ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัท New Balance ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1906 โดยนาย William J. Riley ในชื่อของ 'New Balance Arch Support Company' ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้ากีฬารายใหญ่รายหนึ่งของโลก

นิวบาลานซ์ผู้หญิง ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์รองเท้าภายใต้แบรนด์ New Balance ซึ่งมีโรงงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกันกับในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับลูกค้าชาวยุโรป โดยรองเท้ารุ่นยอดฮิตที่ขายดีในแถบกลุ่มประเทศยุโรปนั้นเป็นรุ่น 990 ซึ่งรองเท้ารุ่นนี้ออกแบบและผลิตออกมาให้มีความโดดเด่นกว่าคู่แข่งอื่น ๆ ในกลุ่มผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้ากีฬาในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของรองเท้ากีฬาแบรนด์คู่แข่ง

ซื้อรองเท้าและสินค้าอื่น ๆ จาก New Balance พร้อมโปรโมชั่นและส่วนลดมากมาย New Balance ไม่ได้เพียงแต่มีชื่อในเรื่องรองเท้าวิ่งและรองเท้ากีฬาเท่านั้น ปัจจุบัน New Balance ยังคงผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าด้านกีฬาอื่น ๆ อีกมากมายที่มีชื่อเสียงและได้รับยอมรับถึงประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าที่ได้ผลิตออกมาจัดจำหน่ายทั่วโลก โดยเห็นได้จากการใช้งานจริงของนักกีฬาหรือเซเลบริตี้ชื่อดังทั่วไป

สินค้าสำหรับสุภาพบุรุษ ได้แก่

รองเท้า อาทิเช่น New Balance รองเท้าวิ่ง, รองเท้าไลฟ์สไตล์, รองเท้า Training, รองเท้าสำหรับเบสบอล, รองเท้าสำหรับเดินป่า, รองเท้าฟุตบอล และรองเท้าเทนนิส เป็นต้น เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อาทิเช่น แจ็คเก็ต, เสื้อคลุม, เสื้อแขนยาว, เสื้อแขนกุด, กางเกง และกางเกงขาสั้น เป็นต้น เครื่องประดับและของใช้อื่น ๆ อาทิเช่น ถุงเท้า, กระเป๋า, หมวก, ถุงมือ และริสแบนด์ เป็นต้น สินค้าสำหรับสุภาพสตรี ได้แก่

รองเท้า อาทิเช่น, รองเท้าไลฟ์สไตล์, รองเท้า Training, รองเท้าสำหรับเดินป่า, รองเท้าเทนนิส, รองเท้ากอล์ฟ และรองเท้าแตะ เป็นต้น รองเท้าวิ่งNew Balance เครื่องแต่งกาย อาทิเช่น แจ็คเก็ต, เสื้อคลุม, เสื้อแขนยาว, เสื้อแขนกุด และเดรส เป็นต้น เครื่องประดับและของใช้อื่น ๆ อาทิเช่น ถุงเท้า กระเป๋า, หมวก และกระเป๋า เป็นต้น