ตำบลเกตรีกับการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม

  • photo  , 1000x750 pixel , 96,045 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,280 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 108,171 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 72,557 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 90,940 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 104,063 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 85,285 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 90,643 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 96,620 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 98,726 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 272,987 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 297,660 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 242,562 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 182,271 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 60,908 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 737,649 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 812,224 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 921,341 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 106,982 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 89,501 bytes.

"ต.เกตรี"

อีกพื้นที่ความร่วมมือในการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมกับกขป.เขต ๑๒ สมัชชาสุขภาพจังหวัดสตูล อบต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล

วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  ได้นัดคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง

ทีมบัณฑิตอาสาลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความต้องการผ่านระบบเยี่ยมบ้านของแอพฯ iMed@home คืนข้อมูลที่มีการดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน พบความต้องการหลักอยู่ที่เงินสงเคราะห์ ๑๑๐ คน ซ่อมแซมบ้าน ๔๐ คน ปรับปรุงบ้าน ๑๑ คน ผ้าอ้อม ๑๕ คน อาหาร ๑๓ คน รถเข็น ๑๐ คน เสื้อผ้า ๘ คน เครื่องช่วยฟัง ๗ คน ไม้เท้า ๕ คน เป็นต้น

ได้ข้อสรุปการดำเนินการต่อไปนี้

๑.ทีมงานวิเคราะห์ภาพรวม ทั้งความต้องการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องหลักๆ คือ เงินสงเคราะห์ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ

๒.ยกระดับการทำงานให้เป็นเรื่องของคนเกตรี ช่วยกันบูรณาการงานร่วมกัน โดยทีมบัณฑิตอาสาช่วยกันจัดระบบข้อมูล เริ่มด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย ที่จะมี

๒.๑ สภาพบ้าน ๑)ซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม ๒)ปรับปรุง ต่อเติมใหม่ให้สามารถใช้ประโยชน์

๒.๒ สภาพปัญหาโดยรวม ต้องการวัสดุเพื่อการซ่อมแซม ได้แก่ หลังคา ฝาบ้าน ห้องน้ำ บางส่วนไม่มีแรงงาน ในส่วนการปรับปรุงต้องการห้องน้ำ ราวจับ ผู้สูงอายุต้องการอยู่บ้านของตนจึงไม่ย้ายไปอยู่กับลูกหลาน แต่สภาพบ้านต้องการการปรับปรุง โชคดีว่าทุกคนมีเอกสารสิทธิ์เป็นของตนเอง

๒.๓ ทุนเดิมในพื้นที่ จะมีงบสนับสนุนวัสดุจากพมจ. ๒ หมื่นต่อครัวเรือน เงินไทยเข้มแข็งเดิมในพื้นที่ ๑๒ ล้านบาท(หมุนเวียนใช้อยู่ในตำบล) บ้านพอเพียงจากพอช. บวกกับช่างอาสาของแต่ละหมู่บ้าน

๒.๔ การดำเนินการ จัดเวทีการเรียนรู้ระหว่างช่างอาสาแต่ละหมุ่บ้านกับทีมบัณฑิตอาสาเพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหาและแนวทางประเมินการซ่อมแซม การปรับปรุง นำมาสู่การลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มกลาง เพื่อจัดระบบข้อมูลประเภทบ้าน วัสดุที่ต้องการ แรงงานที่ใช้ และนำมาสู่การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือ ลำดับความสำคัญเร่งด่วน และขยายผลคืนข้อมูุลสู่ชุมชนผ่านเสืยงตามสาย มัสยิด กรรมการหมู่บ้าน สร้างความตระหนักถึงปัญหาและหลอมรวมพลังของชุมชนในการช่วยเหลือกันและกัน

แนวคิดสำคัญที่เห็นร่วมกันคือ การยกระดับข้อมูล ขยายผลให้เป็นประเด็นสาธารณะสร้างความรับรู้และตระหนักร่วมกันของชุมชน ฐานการสานพลังผ่านกลไกกลางเช่นนี้จะช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ของชุมชน นำมาสู่ความเข้มแข็งของตนเองต่อไป

Relate topics