"ความร่วมมือกับธกส.ฝ่ายกิจการพิเศษภาคใต้ตอนล่างและภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา Platform : Greensmile"

  • photo  , 1000x563 pixel , 93,662 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 94,790 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 597,446 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 598,472 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 95,172 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,844 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 156,206 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 674,728 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 272,313 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 420,603 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 741,747 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 560,556 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 617,929 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 308,384 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 331,974 bytes.
  • photo  , 892x1834 pixel , 201,096 bytes.
  • photo  , 842x1192 pixel , 707,621 bytes.
  • photo  , 1000x1088 pixel , 190,066 bytes.
  • photo  , 1000x1414 pixel , 218,057 bytes.
  • photo  , 1000x1414 pixel , 135,292 bytes.

"ความร่วมมือกับธกส.ฝ่ายกิจการพิเศษภาคใต้ตอนล่าง ในการพัฒนา Platform : Greensmile"

อีกความก้าวหน้าการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต 12 นั่นคือ การพัฒนาPlatform : Greensmile มีการประชุมร่วมกัน นำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินการ ณ สำนักงานธกส.ภาคใต้ตอนล่างเมื่อ 26 พย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ธกส.ให้ความสำคัญกับนวตกรรมและงานวิจัย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ อาศัยเทคโนโลยีมาประกอบการเกษตรในทุกมิติ บทบาทของธนาคารจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนาลูกค้า เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีลดแรงงาน การผลิต เพิ่มผลผลิต และได้มาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ธนาคารเองก็ต้องการให้พนักงานคิดนวตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ ลดระยะเวลา ลดคน ลดแรงงาน เพิ่มกำไรได้มากขึ้น และร่วมกับชุมชนในการพัฒนานวตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้งผลิต แปรรูป ส่งเสริมการตลาด เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

แอพพลิเคชั่น Greensmile ประกอบด้วยการดำเนินการด้าน 1)จัดการห่วงโซ่การผลิตอย่างเป็นระบบ อาศัยเทคโนโลยีระบบ 4.0 อาศัย Bigdata ในการทำงานผ่าน แอพพลิเคชั่น Greensmile ส่งเสริมการผลิตผ่านกลุ่มสวนยางยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ ธนาคารต้นไม้ 2)ระบบการจัดการห่วงโซ่ 3)ระบบการตลาดนำ มีระบบสั่งจอง มีการสอบย้อนผลผลิต มีตลาดรถเขียว/ตลาดเคลื่อนที่รองรับ 4)การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียน BMC ผ่านแอพฯ

การพัฒนาPlatform ดังกล่าว หลังคุณภาณุมาศ โปรแกรมเมอร์ มูลนิธิชุมชนสงขลาได้พัฒนาแอพฯ ขึ้นมาแล้วจะมีกลุ่มทดลองใช้ ประกอบด้วยกลุ่มสวนยางพรีเมี่ยม รัตภูมิ 60 แปลง สวนยางยั่งยืนในจ.สงขลา 3 กลุ่มย่อยได้แก่ สกย.หูแร่ 70 ราย เกษตรธาตุ 4 วิสาหกิจอาเซี่ยนอาศรม 10 ราย และเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดในกลุ่มผักผลไม้อินทรีย์จำนวน 67 ราย ให้สามารถสะท้อนผลลัพธ์การลดต้นทุนหรือเพิ่มมูลค่าการผลิต

รูปแบบการใช้งาน ในส่วน Application กลุ่มผู้ที่่จะเป็นเกษตรกรจะเน้นการทำงานเป็นกลุ่มมากกว่าบุคคล ให้มีAdmim ของกลุ่มเป็นผู้ใช้หลัก บันทึกข้อมูลแปลงสวนยางยั่งยืน จำนวนต้นยาง ช่วงเวลาเริ่มปลูก ปริมาณน้ำยางที่ได้ พืชผสมผสานในสวนยางว่ามีอะไรบ้าง ปริมาณที่มี  ปศุสัตว์ ธนาคารต้นไม้(นำเสนอภาพและเส้นรอบวงในแต่ละปี มีรหัสต้นไม้ พิกัด) การนำเสนอผลผลิตแต่ละชนิด(วันเวลาเริ่มปลูก จำนวน ราคาขาย ราคาจอง คงเหลือ เวลาเก็บเกี่ยว) การประมวลผลจะนำเสนอในรูปแบบแผนที่แปลงการผลิตที่ใช้กระจายในพื้นที่ภาคใต้ และรายงานประกอบผลการวิเคราะห์เป็นกราฟ/สถิติต่างๆ เพื่อให้กลุ่มสามารถนำไปวิเคราะห์ประกอบการจัดทำแผนการผลิต การตลาด

Platform ดังกล่าวจะรวมไปถึงระบบข้อมูลกลาง Bigdataนำเสนอข้อมูลเกษตรกรแต่ละพื้นที่ แต่ละประเภทผลผลิต มาตรฐาน เพื่อประกอบการจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์การสนับสนุนระดับจังหวัด โดยมีหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายสามารถเข้ามาใช้งาน และเชื่อมโยงกับการตลาด ทั้งที่เป็นตลาดรพ. รร. ตลาดเคลื่อนที่ และผู้บริโภคสามารถสั่งจองผลผลิตได้โดยตรง

ธกส.ยังต้องการให้เชื่อมโยงกับลูกค้าของธกส.ได้ใช้ประโยชน์รวมไปถึงเป็นช่องทางที่จะให้มีลูกค้าใหม่เข้ามาสู่ระบบบริการ ในอนาคตจะขยายผลไปยังเครือข่ายของธกส. 5 จว.ได้แก่ กลุ่มมังกรทอง จ.พัทลุง กลุ่มลองกอง กลุ่มnew gen จ.ยะลา กลุ่มผลไม้ กลุ่มโค จ.ปัตตานีจะมีกลุ่มโคต้นน้ำและธนาคารต้นไม้

ในส่วนของกขป.เขต 12 จะขยายผลไปยังเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดในแต่ละจังหวัด รวมถึงเครือข่ายภาคีภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีแผนจะจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการ สานพลังความร่วมมือ เปิดตัว Platform ดังกล่าวในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ ณ โรงแรมเบญจพรแกรนด์วิว อ.เมือง จ.สงขลา โดยเชิญชวนหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กยท. เกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร สาธารณสุขจังหวัด สภาเกษตรกร สมาคมคนกรีดยางฯ สมาพันธุ์เกษตรกรรมยั่งยืน เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ (สวนยางยั่งยืน เกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ ปศุสัตว์) จำนวน 120 คน(แบ่งโควต้าให้กลุ่มเครือข่ายของธกส.60 คน เครือข่ายของกขป.เขต 12 จำนวน 60 คน) โดยจะประสานงานต่อไป

Relate topics