เข้มข้นกับหลักสูตรผู้ตรวจแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สงขลาร่วมขับเคลื่อนเกษตรสุขภาพเพื่อทุกคน

  • photo  , 1000x750 pixel , 132,766 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 137,099 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,871 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 138,568 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 180,026 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 172,674 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 175,994 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 187,193 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 199,354 bytes.

เข้มข้นกับหลักสูตรผู้ตรวจแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS รุ่นที่ 6 (4/2) ซึ่งรวมุภาคส่วนต่างๆ ในรุ่นเดียวกัน ที่มีความหลากหลาย ทั้ง เกษตรกร กลุ่มอาชีพ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ภาครัฐ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เอกชน ผจก. ฟาร์มตัวอย่าง

โดยใช้เวลา 3 วัน 2 คืน เต็มๆ

โดยวันแรกภาคทฤษฏี ปูพื้นความรู้สัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGsPGS) กับเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เกษตรกรรมยั่งยืน กลไกในการพัฒนา 4 กลไก แบบครบห่วงโซ่ภาคี ข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม การจัดการระบบฐานข้อมูลอัจฉริยะ OAN  พร้อมฝึกปฏิบัติการบันทึกฟาร์ม Online บทบาทผู้ตรวจแปลง และการเตรียมตัวก่อนลงตรวจแปลง

วันที่สองลงปฏิบัติพื้นที่จริง จำนวน 4 แปลง โดยนำเครื่องมือ SDGsPGS Application form Inspection form ไปใช้จริง การสังเกตุ การสัมภาษณ์ ถ่ายภาพ เก็บข้อมูล  ใช้เวลาครึ่งวันในภาคเช้า ในช่วงบ่ายทำการวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันในกลุ่ม แต่ละกลุ่ม นำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน Comment เพื่อให้เกิดการพัฒนา หลังจากนั้น นำข้อมูลลงสู่ระบบ OAN เพื่อเสนอเข้ากลั่นกรอง ในที่ประชุม โอกาสต่อไป

วันที่สามสรุปกลไกการขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ การจัดการคาร์บอนเครดิต ในรูปแบบธนาคารต้นไม้ การออม การส่งต่อเมล็ดพันธุ์ ตามด้วยกลไกทางการตลาด ในรูปแบบ SE วิสาหกิจเพื่อสังคม การทำ Business macthing การจัดกลุ่มผลผลิต เพื่อทำ MOU ผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ มาเจอกัน ในช่วงของการรับรองมาตรฐาน

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา

ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตาและสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา  รายงาน

Relate topics