"อบต.คูหา ยกระดับจัดทำหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ คนยากลำบากขยายผล ๑๕ อปท."

  • photo  , 1600x900 pixel , 139,381 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 117,391 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 91,464 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 158,071 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 141,267 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 137,915 bytes.

"อบต.คูหา ยกระดับจัดทำหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ คนยากลำบากขยายผล ๑๕ อปท."


อบต.คูหา โดยการนำของนายกปัญญา ศรีทองสุข มีนโยบายด้านคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ริเริ่มพัฒนาแนวทางจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคลและครอบครัวเป็นเครื่องมือสำคัญ บวกกับการวางรากฐานการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภายใต้จิตสำนึกรักบ้านเกิด ความเป็นชุมชนเดียวกัน


ปี ๒๕๕๖ จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และคนด้อยโอกาส


ปี ๒๕๖๐ จับมือกับอบจ.สงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา มีการเก็บข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบากแบบทุกครัวเรือน จัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชน ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และมีการวิเคราะห์การทำงานร่วมกับภาคี จัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ และยังเข้าร่วมกองทุน LTC 


ปี ๒๕๖๒ ดำเนินโครงการ Node flag shipกับสสส.สงขลา เริ่มจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล individual care plan มีการวางแผนการทำงานร่วมกับอบต.และองค์กรหลัก ๔ องค์กร คือ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน รพสต. อบต. โรงพยาบาล ว่าจะทำอะไรร่วมกัน


นอกจากนั้นในการทำงานใช้ระบบข้อมูล TCNAP เป็นการทำข้อมูลครัวเรือนและวิจัยเชิงสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสสส. สำนัก ๓ มีการวางแผนรายบุคคล TCNAP เป็นข้อมูลรายครัวเรือน นำมาเชื่อมโยงกับระบบข้อมูล iMed@home นำมาสู่การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล เพื่อให้ทีมสหวิชาชีพของอบต.สามารถติดตามผลรายบุคคลได้  ว่าจะต้องวางแผนในการดูแลอย่างไรบ้าง เช่น การสนับสนุนกายอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องรอรายงานเป็นเอกสาร  เพราะมีการแชร์ข้อมูลเข้าระบบที่ทำให้ทุกคนสามารถดูข้อมูลจากระบบเยี่ยมบ้านหรือ iMed@home ได้โดยตรง 


โดยมีแนวทางดำเนินการสำคัญ


๑.การทำงานเริ่มด้วยการทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และอำนาจตามกฏหมายเพื่อสร้างความชัดเจนในการทำงาน ดูระเบียบ และพรบ.ที่เกี่ยวข้อง นำมาสู่การกำหนดแผนงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจบทบาท สามารถทำงานไปได้ด้วยความสบายใจ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทีมงาน มีวาระการพูดคุยต่อข้อมูลและทำแผนการทำงานร่วมกันสม่ำเสมอ


๒.อบต.คูหายังได้เป็นแม่ข่ายตำบลสุขภาวะของสสส.สำนัก ๓ อีกด้วย โดยก่อนที่จะเป็นแม่ข่ายได้เป็นลูกข่ายตำบลกาบัง จ.ยะลามาก่อน เมื่อพื้นที่มีการพัฒนาศักยภาพเข้มแข็งแล้ว จึงได้ขยับตัวเองมาเป็นแม่ข่าย การทำงานให้ความสำคัญในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล มีการใช้ข้อมูลพัฒนาศักยภาพของคน การจัดองค์ความรู้และการพัฒนาทีมร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) เพื่อเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน และได้บูรณาการงบจาก กองทุนสุขภาพตำบล จาก อบจ. พมจ. ไปด้วยกัน มีการทำงานร่วมกับภาคีต่าง ๆ เพื่อหาทุนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ 


๓.มีการจัดตั้งกองทุนคนหูหาไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อเป็นศูนย์ในการช่วยเหลือคนคูหาด้วยกัน ในการช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่  การประสานเชื่อมโยงจะมีกลไกแบบบูรณาการระดับตำบล ประสานการทำงานกับคณะกรรมการพชอ.สะบ้าย้อย หรือเสนอคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯอบจ.สงขลา หรือพมจ. เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการช่วยเหลือการซ่อมแซมบ้าน นอกจากนี้มีการระดมทุนช่วยเหลือกันในกลุ่ม อสม.กลุ่มอาสาต่าง ๆ รวมทั้งทีมสภาเยาวชนห้วยเต่า ที่มีบทบาทในการประสานงานและช่วยเหลือชาวบ้านในลักษณะจิตอาสา ในการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันสร้างบ้าน  นอกจากนี้มีการอบรมการฝึกอาชีพ โดยการขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อการฝึกอาชีพ การอบรมผู้ช่วยนักกายบำบัด ได้รับงบจากกองทุนฟื้นฟู อบจ.สงขลา


๔.อบต.คูหามีกองทุน LTC มีการทำงานและประชุมร่วมกับ CMและCG อย่างใกล้ชิด ร่วมกับศูนย์สร้างสุขตำบลคูหา และมีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ซึ่งทำหน้าที่เยี่ยมบ้าน มีการประชุมเครือข่ายภาคีร่วมกับ LTC ระดับอำเภอ  ทั้งนี้การทำงานภายใต้กลไกของพชอ.สะบ้าย้อย ขับเคลื่อนประเด็นหลักคือผู้สูงอายุและการจัดการขยะ


๕.ในส่วนของกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุ ต่อยอดมาจากกิจกรรมศึกษาดูงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทีมทำงานได้มีการแลกเปลี่ยนและจัดทำหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นหลักสูตรพื้นฐาน เป้าหมายหลักคือเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ แบ่งเป็นวิชาชีวิต วิชาอาชีพและวิชาการ สอนในเรื่องสังคม การดูแลสุขภาพตัวเอง ประเมินLDL การลดความเสี่ยงเบาหวานความดัน ลดหวานมันเค็ม วิชาเรื่องกินและสุขภาพ มีการประเมินสุขภาพ คัดกรองผู้สูงอายุ ๑๐ เรื่อง


สิ่งที่ได้ตามมาหลังเกิดหลักสูตรของชมรมผู้สูงอายุ เริ่มมีแกนนำ นำร้องนำเต้น และจัดกิจกรรมงาน”คูหาแรกวา” ฟื้นฟูภูมิปัญญาในอดีต รวมทั้งกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ มีการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มมุสลิมที่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการกินหวานมันเค็ม กิจกรรมที่ทำในชมรมส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการกินการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เห็นศักยภาพของตัวเอง การสร้างความภาคภูมิใจ โดยมีการเชิญผู้สูงอายุเป็นวิทยากรสอนเด็กให้เห็นวิถีวัฒนธรรมผู้สูงอายุเชื่อมโยงกับเด็ก และร่วมกับโครงการ Nodeflagship นำกิจกรรมมาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เกิดการเยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุด้วยกัน มีกรณีการพบเจอกันระหว่างพี่น้องที่ไม่ได้ไปมาหาสู่กันมานาน ผู้พิการที่เข้าไม่ถึงระบบทำข้อมูล บางคนบัตรหมดอาย ไม่ได้เบี้ยยังชีพ ได้นำเข้าที่ประชุมพชอ. โดยมีการส่งทีมทำบัตรประชาชนให้ถึงอบต. และมีการเก็บข้อมูลใหม่ทั้งอำเภอ


๖.ในส่วนของศูนย์สร้างสุขชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากอบจ. เริ่มจากการทำงานข้อมูลiMed@home ตำบลคูหาเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายในการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ มีงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุต่าง ๆ ประจำศูนย์ มีผู้ช่วยนักกายภาพที่ทำงานร่วมกับรพ.อำเภอลงมาประจำ มีตารางการลงเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการ มีทีมสหวิชาชีพ ลงเยี่ยมบ้านพร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดการรับรู้ เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เช่น มีการปรับปรุงบ้าน การช่วยเหลือของศูนย์สร้างสุข การดูแลด้านสุขภาพของรพ. สต การให้บริการนวดของแพทย์แผนไทย  ตอนนี้มีการจัดทำกิจกรรมตามหลักวิถีมุสลิม เป็นหลักในการจัดทำหลักสูตร ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น ปัญจสีลัต ซึ่งเป็นศิลปะในการต่อสู้และเป็นท่าการออกกำลังกายปรับประยุกต์ตามวิถีมุสลิมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

๗.ส่วนโครงการ Node flagship ได้ทำให้มีระบบข้อมูลเป็นของตัวเอง และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มีฐานคิดคือ การทำให้ประชาชนในพื้นที่มี care plan เป็นของตัวเอง ลดปัญหาความซ้ำซ้อน ทั้งในแง่ประชาชนแต่ละคนมีโอกาสเป็นผู้เปราะบางซ้ำซ้อนหลายประเภท และเปิดช่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนว่าแต่ละคนต้องการอะไรเป็นรายบุคคลซึ่งจะทำให้การทำงานมีความง่ายมากขึ้น โดยนำข้อมูลมาบูรณาการประเมินซ้ำและเข้าคิว จัดลำดับ ๑- ๒๐ เพื่อการช่วยเหลือดูแลคนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ในส่วนของกายอุปกรณ์ที่ได้รับสนับสนุนมีประมาณ ๑๐ กว่าอย่างจากอบจ.ประจำอยู่ในศูนย์สร้างสุข และนายก อบต. ได้มีการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม


ผลที่ได้ นอกจากประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเกิดทักษะในการทำงาน เกิดทักษะในการดูแลกลุ่มเปราะบาง มีความชำนาญในการใช้ข้อมูล มีการร่วมกันทำงานร่วมกันแลกเปลี่ยนร่วมกันดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง  ส่งผลให้โครงสร้างของชุมชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ได้ทักษะการเรียนรู้ระบบข้อมูล iMed@home เรียนรู้การทำงานร่วมกับโครงการ Node flagship สงขลา เป็นแม่ข่าย TCNAP มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ตัวเองและวิเคราะห์ภาพรวมของตำบล เกิดกองทุนคนคูหาไม่ทอดทิ้งกัน การทำงานโดยหลายภาคีมาช่วยกันดูแล มีการขยายผลโดยจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับเครือข่ายอีก ๑๕ อปท. มีการประเมินผลร่วมกับสสส.สำนัก ๓  และได้รับรางวัลนวัตกรรมการดูแลต่อเนื่องจาก สสส สำนัก ๓


หมายเหตุ ร่วมถอดบทเรียนโดย กขป.เขต12

Relate topics