"โครงการดืองันฮาตีจังหวัดสงขลา"

  • photo  , 960x540 pixel , 49,637 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,969 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 80,437 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,637 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,922 bytes.

"โครงการดืองันฮาตีจังหวัดสงขลา"

ดืองันฮาตีหรือด้วยหัวใจ เป็นหนึ่งโครงการเชิงนโยบายที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ โดยนำโมเดลจากประเทศจีนมาทดลองใช้เพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยคาดหวังให้เกิดการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน

วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓  สงขลานัดประชุมคณะกรรมการนัดแรก กำหนดเป้าหมายครัวเรือนจำนวน ๕๕๐ หลังยึดเป้าหมายที่มีกิจกรรมปรับสภาพบ้านเป็นฐาน แล้วบูรณาการแก้ปัญหาด้านอื่นๆควบคู่กันไปในครัวเรือนดังกล่าว โดยมีหน่วยงาน one home เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ

ถือเป็นโอกาสในการทำงานร่วมกันกับส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด ก่อนหน้านั้นได้เห็นโอกาสทำงานกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯอบจ.สงขลา ผ่านคณะกรรมการต่างๆ รอบนี้นโยบายจากรัฐมนตรีสั่งการณ์ลงมาเฉพาะในพื้นที่

โจทย์สำคัญคือ พมจ.จะการบริหารจัดการจะบูรณาการความร่วมมือสานทรัพยากรและสรรพกำลังที่มีร่วมกันอย่างไร ไม่ให้ติดกับดักวัฒนธรรมองค์กรที่เน้น "แยกส่วน" รับผิดชอบ รวมถึงการสงเคราะห์ลงไป "ทำให้" และจะสร้างกระบวนการ "ทำร่วม" กับภาคีเครือข่ายที่มีจำนวนมาก

หน่วยงานของพม.จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัด นิคมสร้างตนเองเทพาจังหวัด สนง.พมจ. ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรี/พอช. นิคมสร้างตนเองรัตภูมิ/การเคหะฯ สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ฯ สถานสงเคราะห์เด็กฯ บ้านพักเด็กและครอบครัวฯ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งฯ หน่วยงานเหล่านี้มีทั้งงบจากกองทุนฯ งบของตนเอง งบพัฒนาจังหวัด

ยกตัวอย่าง กรณีปรับสภาพบ้านเฉลี่ย ๒๐,๐๐๐ บ. นอกนั้นยังมีงบยุทธศาสตร์จังหวัด ๔๐,๐๐๐ บ.๒๐ หลัง ขยายผลโครงการพระราชดำริ ๒๐ หลังๆละ ๕๐,๐๐๐ บ. ยังไม่นับรวมงบอื่นๆ เช่น งบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ จังหวัดที่อบจ.ดูแล จะมีงบ๒๐,๐๐๐/๔๐,๐๐๐/๖๐,๐๐๐ บาท งบเหล่านี้ส่วนใหญ่ให้เพียงวัสดุไม่มีแรงงาน และยังจะต้องมีทีมช่างไปสำรวจความต้องการเพื่อจัดหาวัสดุที่ต้องการ ขณะที่ความต้องการส่วนใหญ่ในกลุ่มประชากรที่ยากจน มีตั้งแต่ต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ หรือต้องการปรับหรือซ่อมแซมบ้านที่ต้องการงบที่มากกว่าที่มีให้ ล้วนเป็นปัญหาที่จะต้องจัดการ ไม่นับรวมปัญหาบ้านไม่มีเลขที่ บ้านที่บุกรุกที่สาธารณะ หรืออื่นๆที่เป็นปัญหาด้านสังคมที่จำเป็นจะต้องอาศัยพลังจากภาคส่วนต่างๆมาร่วมดำเนินการ

แนวคิดของพมจ.จะเลือกเดินระหว่าง การกำหนดตัวเองเป็นเจ้าภาพและดำเนินการเอง หรือว่าจะชวนหน่วยงานอื่นมาร่วมกันวางระบบ มองเป้าหมายคุณภาพชีวิตเป็นตัวตั้ง คิดเชิงระบบ ซึ่งผมคิดว่าพมจ.ยังวางตัวเองสนองตอบนโยบายฯเป็นหลัก ก็เลยออกแบบการทำงานจากฐานต้นทุนขององค์กรมากกว่ามองเห็นภาพทั้งหมดเชิงระบบ หน่วยงานอื่นก็เป็นเพียงเข้าไปเติมช่องว่างในส่วนงานที่พมจ.ทำอยู่ ช่องว่างเช่นนี้บทบาทของกขป.เขตก็อาจจะเข้ามาเติมเต็มได้

ที่แน่ๆก็คือ ช่องว่างความต้องการและปัญหา ยังมหาศาล ถมอย่างไรก็ไม่มีวันเต็มด้วยเกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เหลื่อมล้ำรุนแรง

Relate topics