"เตรียมสมัชชา PM.2.5 สงขลา"

  • photo  , 1000x750 pixel , 119,456 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 88,140 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,122 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 92,655 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,866 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 97,978 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,392 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 95,180 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 102,330 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 91,193 bytes.
  • photo  , 1000x1334 pixel , 182,084 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 228,820 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 257,231 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 99,369 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 226,109 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 185,558 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 169,552 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,631 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,567 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,259 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 103,617 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 109,352 bytes.

"เตรียมสมัชชาPM.2.5 สงขลา"

แม้ปีนี้สถานการณ์ไฟป่าจากอินโดฯไม่มีเข้ามา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดอีก สช.โดยการสนับสนุนจากสสส.นำโดยรองเลขาฯ นพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี ชวนมูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัดประสานภาคีภาครัฐ ประกอบด้วย สวล.16 ทสจ. สสจ. ปภ. ภาควิชาการจาก มอ.  ทั้งคณะวิศวะฯ  คณะแพทย์  นำโดย รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ท้องถิ่นจาก อบต.ควนโส  ประชาสังคมจาก ทม.ปาดังเบซาร์ เครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ สมาคมการท่องเที่ยวชุมชนสงขลา  หน่วยจัดการอาสาสมัคร มอ. ชุมชน หารือร่วมกันในวันที่ 29 ธันวาคม 2563  ณ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 โดยผอ.ธนัญชัย วรรณสุข อำนวยความสะดวก

เป้าหมาย ประสานความร่วมมือภายในจังหวัดในการรับมือกับปัญหา PM.2.5 ทั้งในเชิงนโยบายและปฎิบัติการ รวมถึงร่วมกับอีก 5 จังหวัดของแต่ละภาคผลักดันมาตรการหรือข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับชาติ

รอบนี้ประชุมชี้แจงความเป็นมาและร่วมหารือแนวทางดำเนินการ มีข้อสรุปดังนี้

1.แนวคิดการแก้ปัญหา จะพิจารณาองค์ประกอบสำคัญคือ การจัดการแหล่งกำเนิด และผู้ที่ได้รับผลกระทบ

2.แหล่งกำเนิดสำคัญ ประกอบด้วย

2.1 ฝุ่นควันจากการเผาไหม้ทั้งจากเผาในที่โล่ง เผาป่า เผาเพื่อบุกรุก เผาขยะในครัวเรือน ปัญหาสำคัญของสงขลามาจากไฟป่าอินโดฯ โดยเฉพาะปี 58 ซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์เอลนิโย กรณีไฟป่าจากในพื้นที่จะมีการเผาไม้ยางพารา ไฟไหม้พรุบางนกออก

2.2 การจราจร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ บวกกับการอัดแปลงสภาพรถโหลดเตี้ยทำให้เกิดควันดำ

2.3 การประกอบอุตสาหกรรม กรณีฝุ่นควันจากโรงงาน สถานประกอบการ

3.ผู้ที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มเสี่ยงสำคัญประกอบด้วย เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ไม่อาจเดินทางหลีกเลี่ยง

4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากสนง.สิ่งแวดล้อมภาค 16 ที่เป็นหน่วยรับผิดชอบระดับภาคแล้ว ยังมีทสจ. ปภ.จัดทำแผนเผชิญเหตุระดับจังหวัด ประสานอปท.ทำแผนระดับพื้นที่ สสจ.ดูแลด้านสุขภาพ นอกจากนั้นแล้วยังเกี่ยวข้องกับ ศูนย์อุตุฯ สนง.อุตสาหกรรม ตำรวจจราจร กรมป่าไม้ เป็นต้น

5.จุดเน้นและแนวทางดำเนินการ

5.1 การรับมือสถานการณ์ด้วยมาตรการระดับประเทศ โดบเฉพาะปัญหาไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย ทางมอ.ได้มีการสร้างเครือข่ายวิจัยระดับประเทศร่วมดำเนินการไปแล้ว

5.2 การรับมือสถานการณ์ PM.2.5 ระดับจังหวัด

1)ร่วมกับทสจ.ปภ.สสจ.อุตสาหกรรม ศูนย์อุตุฯ ท้องถิ่นจังหวัด หน่วยงานวิชาการ ประชาชน ปรับแผนเผชิญเหตุระดับจังหวัด คำนึงถึงการแก้ปัญหาตามปฎิทินแหล่งกำเนิด การกำหนดพื้นที่เสี่ยง/ปักหมุดให้ชัด กรณีไฟป่าให้มีมาตรการก่อนเกิดภัยมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ผ่านเครื่องวัดที่ประชาชนเข้าถึงได้ และน่าเชื่อถือ สร้างเอกภาพในการสื่อสาร มีช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย และมีมาตรการย่อยในการจัดการแหล่งกำเนิดอื่น อาทิ ลดควันดำจากรถ โรงงานสีเขียว

2)ผลักดันเชิงนโยบาย ให้มีการกำหนด Green zone ในจดสำคัญ เช่น สถานที่ออกกำลัง สถานที่ท่องเที่ยว สร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์(ต.สะท้อน) ผลักกันนโยบายในระดับเมือง Greencity มีข้อตกลงกับชุมชนเลิกเผาขยะจากครัวเรือน

3)วิจัย จัดการความรู้ เติมเต็มในส่วนของช่องว่างการแก้ปัญหา

4)การรับมือระดับพื้นที่ลดปัญหามลภาวะจากแหล่งกำเนิด อาทิ แก้ปัญหาไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก ต.ควนโส อันเกิดจากขาดความตระหนักของประชาชน เผาใบไม้แห้งทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามบวกกับปัญหาการควบคุมปริมาณน้ำในป่าพรุ คลองตื้นเขิน เกิดไฟใต้ดิน ที่สามารถดำเนินการเชิงป้องกันด้วยการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญกับชุมชน พิทักษ์ฐานทรัพยากรสำคัญในป่าพรุที่มีผึ้้งหลวงหายาก หรือกรณีตำบลปาดังเบซาร์ที่เป็นพื้นที่ในหุบเขา รับปัญหาไฟป่าจากอินโดฯและการเผาอ้อยจากมาเลเซีย รวมถึงจากการขนส่งสินค้า ทำให้นักเรียน ชุมชนได้รับผลกระทบ ที่จะต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน การมีข้อตกลงกับรถขนส่งข้ามพรมแดน

5.3 การสื่อสารทางสังคม หน่วยงานรัฐ ฝ่ายวิชาการ สื่อมวลชน ขยายผลความรู้การรับมือไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ทสม. นักศึกษาจิตอาสา อสม. แกนนำชุมชน ให้สามารถเข้าใจความรู้พื้นฐาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อความรู้ต่างๆ

5.4 กลไกเครือข่ายความร่วมมือ มีเวทีกลางเพื่อสานพลังความร่วมมือสม่ำเสมอ

5.5 มกราคม 2564  หารือไม่เป็นทางการอีกรอบผ่านzoom กำหนดรูปแบบจัดสมัชชาจังหวัดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 64  ปรับตัวตามสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดในจังหวัด

Relate topics