ก้าวย่างสำคัญสู่วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยกับ 10 วัดในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองตรัง

  • photo  , 960x719 pixel , 89,798 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 93,869 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 102,279 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 96,644 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 87,371 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 94,684 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 84,541 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 82,690 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 90,908 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 92,108 bytes.

ก้าวย่างสำคัญสู่วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยกับ 10 วัดในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองตรัง

เผลอแปปเดียวก็ผ่านมา 5 เดือนแล้วกับการดำเนินโครงการวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองตรัง

วันพุธที่ผ่านมา (13 มกราคม 2564)  จึงมีการจัดเวทีเชิญพระคุณเจ้าและทีมของทั้ง 10 วัดในโครงการได้แก่ วัดนิโครธาราม วัดกฎยาราม วัดมัชฌิมภูมิ วัดควนขัน วัดนิคมประทีป วัดสาริการาม วัดเชี่ยวชาญกิจ วัดนานอน วัดหัวถนน และวัดไร่พรุ และวัดเครือข่ายพระคิลานุปัฎฐาก มาร่วมเรียนรู้ พร้อมกับเชิญผู้แทน/ผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาคีทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตรัง และทีมสนับสนุนวิชาการจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง และศูนย์UDC-PSU จาก ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และNode Flagship ตรัง มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงธรรมของวัดไร่พรุ อ.เมือง จ.ตรัง

กล่าวเปิดการประชุมโดยท่านมหาสุวรรณ วิชชาธโร เจ้าคณะอำเภอเมืองตรัง ทบทวนเป้าหมายความสำคัญที่ต้องดำเนินการโครงการนี้เพราะวัดอยู่ได้ด้วยศรัทธาชาวบ้าน หากเราอยู่เฉย ๆ ไม่ดูแลสังคม ไม่ตอบแทนสังคม วัดจะอยู่อย่างไร อีกทั้งด้านสุขภาพของญาติโยม สุขภาพของพระเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คนมีความสุข เรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราต้องพูดเรื่องสุขภาพ และประเทศไทยย่างเข้าสู่สังคมสูงวัย คือคนมีอายุเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีการเตรียมการอีกปีสองปีข้างหน้าจะลำบาก การดำเนินโครงการจึงเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้การที่ดำเนินการสำเร็จหรือไม่สำเร็จค่อยมาว่ากันอีกทีหนึ่ง ให้ได้นับหนึ่งก่อน การดำเนินโครงการนี้ต้องอาศัยขอความร่วมมือพระสงฆ์ ตั้งแต่ท่านเจ้าอาวาส พระ ญาติโยม ไวยาวัจกร คณะกรรมการของวัดมาช่วยกันคิด ต้องช่วยกันทำ เพื่อให้โครงการดำเนินการไปได้  รวมทั้งการได้มาพูดมาคุยว่าจะมีประเด็นความต้องการที่จะให้หน่วยงานสนับสนุนทั้ง สสส. หน่วยงานภาคีอื่น ๆ ได้เข้ามาหนุนเสริมการทำงานในโอกาสต่อไป

ต่อด้วยท่านพระครูเมธากร เจ้าอาวาสวัดไร่พรุในฐานะเลขานุการในคณะกรรมการโครงการนี้ได้นำเรียนแนวการประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพและวัดรอบรู้สุขภาพซึ่งมีหลายมิติเพื่อให้วัดได้ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป

ต่อจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มไวยาวัจกร และกลุ่มตัวแทนด้านสุขภาพ เพื่อทบทวนผลการทำงานของแต่ละวัดทั้งคณะทำงานของวัด การปรับสภาพแวดล้อม การจัดบริการสถานีวัดสุขภาพ แผนกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการนำเสนอของผู้แทน 3 กลุ่มพบว่า

1.ผลลัพธ์ประเด็นคณะทำงาน ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการตั้งคณะทำงานที่เป็นทางการ แต่มีอย่างน้อย 3 วัดมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่ชัดเจน

2.การปรับสภาพแวดล้อม มีการสำรวจและออกแบบผังแม่บทแล้วทั้ง 10 วัด ได้นำแบบแปลนวัดที่ออกแบบจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อรับฟังความคิดเห็นไปปรับปรุงผังแล้ว 5 วัด ได้แก่ วัดเชี่ยวชาญกิจ วัดหัวถนน วัดไร่พรุ วัดนิโครธาราม และวัดควนขัน ปัจจุบันบางวัดได้เริ่มมีการปรับเรื่องสภาพแวดล้อมไปบ้างแล้วได้แก่ วัดนิโครธาราม วัดกฎยาราม และวัดไร่พรุ

3.ด้านสุขภาพ มีการจัดเวทีสร้างความรอบรู้สุขภาพพระสงฆ์ไปแล้ว 5 วัดได้แก่ วัดเชี่ยวชาญกิจ วัดหัวถนน และวัดไร่พรุ ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 7 วัด

4.สำหรับการจัดสถานีวัดสุขภาพ health station ส่วนใหญ่มีการดำเนินการแล้ว มีการจัดเครื่องวัดความดันดิจิตอลมาให้บริการในช่วงวันพระ  หลายวัดมีอสม.มาช่วยอำนวยความสะดวกบริการในการวัดความดัน แต่พบปัญหาเครื่องเสียในบางวัด และยังมีบางวัดยังไม่ได้นำให้ชาวบ้านได้ใช้งาน

5.งานด้านส่งเสริมสุขภาพหลายวัดก็มีดำเนินการ อาทิ ปิ่นโตสุขภาพ  การจัดเขตปลอดบุหรี่ในวัด

ช่วงสุดท้ายท่านพระครูอดุลคุณาธาร ก็เมตตาปิดการประชุมให้โอวาทการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ ยกตัวอย่างของท่านอาจารย์ในการดูแลสุขภาพเช่นการกินผักสดของท่านอาจารย์ การลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง จึงเป็นความสำคัญที่ต้องมาช่วยกันดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิต และให้พรผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในระยะเวลาอีก 5 เดือนจะเป็นความท้าทายของวัดในการขับเคลื่อนวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้งการพัฒนาให้เกิดคณะทำงานวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย การพัฒนาพระคิลานุปัฎฐากให้เกิดอย่างน้อยวัดละ 1 รูป การสร้างความรอบรู้สุขภาพพระสงฆ์ การทำให้สุขภาพพระสงฆ์ดีขึ้นและการปรับสภาพแวดล้อมของวัดให้ปลอดภัย ซึ่งต้องให้แต่ละวัดได้ออกแบบเพื่อดำเนินการต่อไป

ยิ่งในสถานการณ์ COVID19 ระลองที่สองด้วยแล้ว ติดตามก้าวต่อไปของ “วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย”

วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

NodeFlagshipTrang

สสส.

เชภาดร จันทร์หอม รายงาน

Relate topics