รองรับสังคมสูงวัย

photo  , 1280x720 pixel , 97,060 bytes.

"รองรับสังคมสูงวัย"

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว พบว่าการรองรับปัญหาดังกล่าวควรจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 40 ปีหรืออย่างน้อย 45-50 ปี จึงเกิดแนวคิดการรองรับสังคมสูงวัยขึ้น โดยเริ่มต้นต่อยอดจากงานในพื้นที่ กองทุน LTC และอื่นๆ ใช้ระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home ในการเก็บข้อมูลและรายงานกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน เป็นฐานการทำงานในตำบลใหม่ จากนั้นพัฒนากลไกแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือหน่วยงาน ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กลไกนี้จะทำให้เห็นภาพเชิงระบบ แก้ปัญหาความต้องการจากข้อมูลการเยี่ยมบ้านไปด้วย และนำร่องในเชิงพื้นที่

1.เก็บแบบสอบถามกับประชากรเป้าหมาย อายุ 40 ปีขึ้นไป แบบ 100% สร้างการมีส่วนร่วม ประสานให้เกิดกลไกตัวแทนแต่ละกลุ่มอาชีพ กลุ่มคนพิการ/กลุ่มเปราะบาง หรือพื้นที่ แก้ปัญหาการกระจุกตัวอยู่ในชมรมผู้สูงอายุที่มีแต่ข้าราชการบำนาญ สามารถบูรณาการข้อมูลกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น  "RECAP" และ "TCNAP"

2.จัดทำแผนรองรับด้านสุขภาพ(แก้ปัญหาโรคเรื้อรัง มะเร็ง หัวใจ สมองเสื่อม โดยประสานความร่วมมือกับกองทุนสุขภาพตำบล/LTC/IMC/ACC) ด้านสภาพแวดล้อม(สิ่งอำนวยความสะดวก มลภาวะ) เศรษฐกิจ (เงินออม รายได้ กองทุนกลาง/สวัสดิการ ประสานกับกองสวัสดิ์) สังคม (การมีเพื่อน มีกิจกรรมเชิงคุณค่า/ประสานปรับหลักสูตร รร.ผู้สูงอายุ) พร้อมจัดทำธรรมนูญสุขภาวะเพื่อให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยมีส่วนร่วม ตามทุนทางสังคมและสภาพปัญหา

สังคมไทยแยกส่วนกันเกินไปจนมองไม่เห็นการเชื่อมโยงกันของแต่ละกลุ่มวัย  เช่น เด็กๆอายุ 0-20 ปี หากเกิดอุบัติเหตุ จะส่งผลต่ออนาคตกับสมองในวัยผู้สูงอายุ เป็นต้น สำเร็จเกิดความรู้ร่วมแล้วขยายผล

Relate topics