ประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

  • photo  , 960x720 pixel , 85,490 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,663 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,004 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,817 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 95,407 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 66,561 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 85,403 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,917 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,160 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,359 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,589 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,216 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,779 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,151 bytes.

วันที่ 25 ตุลาคม 2561 เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12 จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการภาคีประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ที่มีทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ เอกชน ประชาสังคม ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ ประเด็นร่วมของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ณ สยามนครินทร์หาดใหญ่

พบว่ายังมีช่องว่างการทำงานมากมาย ผู้เสพยังไม่ได้ลดลง ภาคใต้เขต ๑๑ มีมากที่สุด รองลงมาก็คือเขต ๑๒ ในระดับเขตจังหวัดตรังมีมากที่สุด คนทำงานในระบบเองก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะหาความสำเร็จได้ยาก ด้วยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ควบคุมไม่ได้มากมาย

มีข้อสรุปที่จะไปดำเนินการต่อ นอกจากทั้งหมดที่มาร่วมจะมาเป็นทีมอนุกรรมการร่วมดำเนินการ ก็คือ

๑.จุดเน้นการขับเคลื่อนประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง เขต ๑๒ ป้องกันผู้เสพรายใหม่ ลดผู้เสพหน้าเก่า มีมาตรการคุ้มครองบุคคลที่สาม เขตควรเน้นการพัฒนาคนทำงาน ควรมีพื้นที่ตัวอย่างปฎิบัติการแบบครบวงจร/บูรณาการครบปัจจัยบุคคล สิ่งแวดล้อม ระบบและกลไก นอกจากนั้นกขป.ควรเป็นพื้นที่กลางของเครือข่าย/เป็นตัวกลางในการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งในความรู้ความเชื่อที่สัมพันธ์กับด้านศาสนา/ให้คำปรึกษาภาคีเครือข่ายในเขต ๑๒

๒.แนวทางการขับเคลื่อนงาน
ควรมีฐานข้อมูลกลาง ใครทำอะไร ที่ไหน โดยเขตฯทำหน้าที่ประสานงาน โดยสนับสนุนพื้นที่ปฎิบัติการที่เป็นพื้นที่การทำงานร่วมกัน ๑ จังหวัด ๑ พื้นที่(อำเภอ) ทำแบบบูรณาการ ป้องกัน บำบัด รักษา ฟื้นฟู มีการวิจัยเชิงปฎิบัติการคู่ขนานกัน มีการติดตามประเมินผล โดยจัดการความรู้จากตัวแบบที่เคยมีและใช้ความรู้ใหม่ทั้งทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ซึ่งมีอยู่ไม่น้อย นำไปสู่การเห็นคุณค่าตัวเองของกลุ่มเสี่ยง นำความรู้จากการวิจัยของหน่วยงานต่างๆพัฒนาเป็นหลักสูตรส่งต่อให้หน่วยปฎิบัติ(ทำความเข้าใจพฤติกรรม อาการ แรงกระตุ้นภายนอก) จัดทำหลักสูตรพัฒนาบุคลากรคนทำงาน พัฒนาคนทำงานทั้งภาครัฐ ประชาสังคม/สร้างพี่เลี้ยงในการดูแลชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาApplication รองรับการทำงาน

Relate topics