ประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะทุกช่วงวัย (แม่และเด็ก)

  • photo  , 960x720 pixel , 98,194 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,442 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,181 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 89,929 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 88,266 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 101,652 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,016 bytes.

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561  เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ชวนภาคีเครือข่ายประเด็นการดูแลสุขภาวะตามกลุ่มวัยแม่และเด็ก ประกอบด้วยศูนย์อนามัยที่ ๑๒ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้ ศอบต. รพ.สมเด็จฯนาทวี/รพ.สตูล/รพ.สะบ้าย้อย ทต.พะวง กขป.เขต ๑๒ (คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี/สภาวัฒนธรรม) พมจ.สงขลา นายกต.กะมิยอ อบต.นาทอน ทต.ปริก สสจ.ยะลา สสจ.สงขลา/สสจ.นราธิวาส/ปัตตานี สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่๔๒ สำนำนักงานพัฒนาภาค ๔ หน่วยบัญชาการการทหารพัฒนา สำนักข่าวอิสรา เครือข่ายสตรีอาสาคลายทุกข์ คุ้มครองสิทธิสตรี ศอบต.หารือความร่วมมือ ณ มัสยิดกลาง

ศูนย์อนามัยที่ ๑๒ และเครือข่ายร่วมกันให้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในภาพรวมของเขตที่น่าสนใจดังนี้ ๑.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อันเกิดจากภาวะโภชนาการและคลอดก่อนกำหนด ๒.พัฒนาการของเด็กเล็ก ๐-๕ ปีล่าช้า แม่ซีด เด็กซีดอันเกิดจากภาวะโภชนาการ เด็กได้นมแม่จากแม่ที่ขาดสารอาหาร ๓.แม่ตาย มีปัญหาตั้งแต่ขณะคลอด/หลังคลอด เป็นปัญหาในระบบบริการ(สาเหตุมาจากการตกเลือด ความดันโลหิตสูง ซึ่งควบคุมได้ยาก) พบปัญหาหญิงมีโรคหัวใจซึ่งไม่ควรตั้งครรภ์แต่ก็มีการละเลยมองข้าม และการเยี่ยมหลังคลอดที่ยังต้องปรับปรุง ๔.วัยรุ่นที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้มีภาวะท้องซ้ำ ๕.ความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก เกิดจากยาเสพติด การหย่าร้าง ไม่เลี้ยงดู และล่วงละเมิดทางเพศ

วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อยู่บนฐานความเชื่อ ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม จนได้แนวทางที่เครือข่ายให้ความสำคัญ ก็คือ
๑)การสร้างความรอบรู้(รู้และทำได้)ของประชาชนในการดูแลตัวเอง โดยเฉพาะช่วงวัย๐-๒ ปีที่มีผลต่อชีวิต ภายใต้แนวคิด“๑๐๐๐ วันแรกของชีวิต” (เสนอให้สธ.+กศ.+ผู้นำศาสนาเป็นเจ้าภาพ) “การศึกษาตลอดชีวิต”(อปท.) “โรงเรียนพ่อแม่” SMART KID “การผลิตสื่อ” “การให้ความสำคัญกับภาวะโภชนาการของแม่ก่อนและหลังคลอด”

๒)ปรับระบบบริการ/ส่งต่อ(สธ.+ประชาชน) “ค้นให้พบ จบด้วยมาตรฐาน ประสานงานเครือข่าย” เน้น“วางแผนครอบครัว” “กลุ่มเสี่ยงเข้าถึงสิทธิ”(ผลักดันข้อเสนอต่อสปสช.ให้หญิงที่มีความเสี่ยง-เปราะบาง “การเยี่ยมหลังคลอด” “กลุ่มเสี่ยงได้รับการคุมกำเนิด” “เพิ่มอัตรากำลังในการดูแล+สื่อ+ทักษะ”)

๓)เชื่อมโยงกับศูนย์เด็กเล็ก ภายใต้แนวทาง“สนามเด็กเล่นทางปัญญา” (อปท.+ชุมชน+สสส.กำลังนำร่องอยู่ในหลายพื้นที่) “เน้นให้เด็กได้ทานอาหารเช้า”

๔)ประสานความร่วมมือเครือข่ายทางสังคม(เครือข่ายแม่และเด็ก ครู ภรรยา/ผู้นำศาสนา กลุ่มสตรี โต๊ะปิแด) ใช้มาตรการทางสังคม ร่วมกับเครือข่ายท้องถิ่น ปรับทัศนะ สร้างวัฒนธรรมใหม่(ความเชื่อ/จิตวิญญาณ) รวมถึงวินัยในครอบครัว ใช้“เงื่อนไขงบประมาณ” ปรับพฤติกรรม (พมจ.+ศอบต.ฯลฯ)บนฐานสิทธิมนุษยชน เสนอให้ปรับกฏหมายอิสลามให้เป็นกฏหมายบ้านเมือง (กรรมการอิสลามกำลังผลักดันระเบียบมาตรการสมรส) ท้องถิ่นและชุมชนร่วมกันสร้างข้อตกลง/ธรรมนูญชุมชนสร้างรากฐานความเข้มแข็งของชุมชนและร่วมแก้ปัญหาแม่และเด็ก

๕)เพิ่มบทบาทของผู้ชายในการดูแลแม่และเด็ก ลดภาวะพึ่งพิงของผู้หญิง

๖)สร้างฐานเศรษฐกิจของครัวเรือนเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเอง(อปท.+ชุมชน)

Relate topics