“ธรรมนูญ On Air ครั้งที่ ๔” การฉีดวัคซีนรับมือโควิด EP2

  • photo  , 1000x750 pixel , 167,897 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 169,497 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 144,535 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 120,818 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 121,652 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 78,661 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 84,276 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 145,558 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 146,598 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 171,312 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 136,525 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 166,430 bytes.

“ธรรมนูญ On Air ครั้งที่ ๔” การฉีดวัคซีนรับมือโควิด

๑)สถานการณ์การแพร่ระบาดระดับเขต ๑ เมย.-๒๔ พค.๖๔ พบผู้ป่วยสะสมรวม ๓๔๐๔ คน มากที่สุดที่สงขลา ๑๒๘๔ คน นราธิวาส ๗๖๓ คน น้อยที่สุดที่สตูล ๓๑ คน ผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น ๕๕๐ คน เพิ่มมากที่สงขลา นราธิวาสและยะลาตามลำดับ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นใน ๓ จว. สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัว รายงานโดยคุณเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน และเพิ่มเติมข้อมูลโดยเครือข่ายในพื้นที่ สงขลามีข้อกังวลในกลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่โคกเมาในหมู่บ้าน จังหวัดยะลาพบคลัสเตอร์ใหม่ที่มีคนเดินทางกลับจากกทม. แพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่ไปตรวจเชื้อครั้งแรกแต่ไม่พบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองกำลังเตรียมความพร้อมในการสอน on line ๑๐๐%

สมาคมอาสาสร้างสุข กำลังประสานงานโลตัสเพื่อนำอาหารที่ใกล้หมดอายุมาบริจาคให้กับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกกักตัว และแจ้งว่าวันที่ ๒๕ พค.นี้ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้มอ. กับทีมจะรายงานผลการประเมินประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวคที่ฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตไปก่อนหน้านี้

๒)ประสบการณ์ตรงจากผู้ผ่านการฉีดวัคซีนเข็มแรก และเข็มที่ ๒

กรณีที่ ๑ คุณทรงชัย กขป.เขต ๑๒ บุคลากรของสถานพยาบาลเอกชน ได้ฉีดเข็มแรก เล่าว่าก่อนไปฉีดจะเตรียมตัว ๑ วันก่อนฉีดไม่ดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อไปถึงสถานที่ฉีด ได้ลงทะเบียน คัดกรอง วัดความดันเบาหวาน ซักประวัติ บันทึกข้อมูลเข้าระบบ จากนั้นก็เข้าฉีด รอสังเกตอาการหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ๓๐ นาที พบเพียงอาการปวดในบริเวณที่ฉีด(น้อยกว่าฉีดไข้หวัดใหญ่) ระหว่างนี้ได้บันทึกอาการหรือผลกระทบที่อาจเกิด ก่อนรอนัดหมายฉีดเข็มที่ ๒

กรณีที่ ๒ รศ.ดร.จุฑารัตน์ เป็นบุคลากรในคณะแพทย์ มอ.ฉีดเข็มแรก ไม่พบอาการแพ้ใดๆ แต่สังเกตุหลายคนที่ไปฉีดมีอาการกลัวเข็ม

กรณีที่ ๓ หมอพงษ์ ผอ.รพ.สต.ป่าขาด สิงหนคร ฉีดครบสองเข็มแล้วที่รพ.สิงหนคร เล่าว่าตอนฉีดเข็มแรกดื่มกาแฟไปก่อน ทำให้ตอนไปวัดความดันพบสูงจึงนั่งรอกว่าสิบนาที แล้ววัดใหม่จึงสามารถผ่านไปฉีดได้ ฉีดแล้วนั่งพัก ๓๐ นาที วัดความดันใหม่พบว่าลดลง ตอนที่ไปฉีดทางโรงพยาบาลจะมีการซักประวัติราว ๑๐ กว่าข้อ พยาบาลเป็นผู้ประเมิน หากมีปัญหาผิดปกติจะปรึกษาแพทย์ ฉีดแล้วจะมีใบนัดออกมา พร้อมบันทึกแบบประเมินตนเองในช่วงรอฉีดรอบสองผ่านแอปหมอพร้อม ๒๑ วัน แล้วนัดหมายการฉีดครั้งที่สอง วันที่ไปฉีดพบปัญหาจากคนไปฉีดสามร้อยกว่าคนพบเพียง ๒ คนที่มีการแพ้ อาเจียน แต่ก็เป็นไม่นาน ตอนฉีดครั้งที่สอง ไม่ดื่มกาแฟก็เลยผ่านตามขั้นตอนทุกอย่าง
แนะนำว่าก่อนไปฉีดควรโหลดแอปหมอพร้อมไปก่อน เพราะไม่ว่าจะลงทะเบียนผ่านอสม. รพ.สต. รพ. หรือที่ใด ข้อมูลจะไปลงที่แอปหมอพร้อมทั้งสิ้น

๓)กรณีตัวอย่าง การเตรียมพร้อมฉีดวัคซีนในพื้นที่ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร พบผู้สัมผัสเชื้อ ๑๑ ราย ๙ ตำบล พบผู้ป่วยติดจากงานเลี้ยงในหาดใหญ่และจากการทำงานโรงงาน ๒ ราย แต่ก็คุมสภาพได้แล้ว ทางอำเภอจะลงรณรงค์ ช่วยกันทำงานเชิงรุก เคาะประตูบ้านให้ข้อมูลประชาชนในการเข้าฉีดวัคซีน อสม.ในพื้นที่เองยังขาดความเชื่อมั่นจากชุมชนในการกระตุ้นให้ฉีดวัคซีน ตำบลป่าขาดทำงานแบบ ๔ สหาย ได้แก่ รพ.สต./อสม. ท้องถิ่น ท้องที่ และเอกชน พบปัญหาความกลัวจากการฉีดวัคซีนกลัวเข็ม กังวลจากข่าวลือ ไม่กล้าตัดสินใจต้องการปรึกษาลูกหลานโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทีมงานบอกให้จองคิวไว้ก่อน

การฉีดวัคซีนพบปัญหาในการรอการตัดสินใจที่ประชาชนยังรีรอ จึงได้ทำแบบสอบถามลงถึงครัวเรือนว่าต้องการฉีดหรือไม่ หากพร้อมฉีดจะให้ลงนามเซ็นต์รับรอง จึงเดินเคาะประตูบ้านแบบ ๑๐๐% ขณะเดียวกัน รพ.สิงหนครมีพื้นที่ไม่มากพอรองรับ แต่ก็มีโรงงานภาคเอกชนในพื้นที่ยื่นมือมาช่วย ขยายพื้นที่รพ.ให้สามารถรองรับบริการการฉีด ๕๐๐ คน และช่วยเหลือในการรับส่งผู้สูงอายุในการรับบริการฉีด และเปิดพื้นที่โรงงานเป็นสถานที่ฉีดวัคซีน

ทางอำเภอ ท้องถิ่น ท้องที่ ได้เดินรณรงค์ โดยเฉพาะทม.สิงหนคร อาศัยพลังเครือข่ายของสท.และผู้บริหารท้องถิ่น ในการช่วยกระตุ้นการลงทะเบียน ในการลงสำรวจอาศัยข้อมูลจากทางอำเภอที่แยกช่วยอายุมาให้เป็นหลัก จะได้เป็นฐานเดียวกันทั้งอำเภอ

บทเรียนที่พบ กรณีตำบลป่าขาด อาศัยพลังของท้องถิ่นมาช่วยสาธารณสุขทำให้ทำงานได้ง่ายมากขึ้น อบต.เป็นแกนประสาน สร้างการมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันบุคลากรทางสาธารณสุขได้เป็นแบบอย่างในการฉีดวัคซีนเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และการลงเคาะประตูบ้านทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มอายุอื่นเข้ามาด้วย พบปัญหาคนที่ทำงานนอกบ้านและมีการปฎิเสธราว ๑๔% การลงพื้นที่เช่นนี้ทำให้สามารถเตรียมข้อมูลเพื่อไปหักล้างสิ่งที่ยังกังวล พื้นที่กำลังเตรียมทำมาตรการรองรับการกักตัว และรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากกรณีงานศพ งานบวชต่อไป

พื้นที่ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา บทบาทการฉีดวัคซีนจะเป็นหน้าที่ของสาธารณสุขเป็นหลัก ทางท้องถิ่นเป็นฝ่ายเสริม พื้นที่ได้สำรวจความต้องการไปแล้ว ๗๐% สำหรับบทบาทอปท. ได้จัดทำแมส แจกจ่ายให้กับประชาชน พร้อมตั้งด่านในพื้นที่ กักตัวคนที่เข้ามาในพื้นที่หากพบผู้สัมผัสเชื้อจะให้เลือกว่ากักตัวที่บ้านหรือไปยังสถานกักตัวที่อำเภอจัดให้ พร้อมปรับระบบการทำงานและงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยจัดงบรองรับการอบรมอาชีพที่สามารถทำงานที่บ้านได้ โดยเฉพาะการนำสมุนไพรมาต่อยอดเป็นลูกประคบ ทำเครื่องแกง และยา รวมถึงให้ศูนย์สร้างสุขชุมชนจัดทำ “หมอนรองรัก” ดูแลแผลกดทับผู้ป่วย ทางผู้บริหารมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่จองการฉีดวัคซีนทุกคน

จากการลงสำรวจความต้องการ พบต้องการผ้าอ้อมสำเร็จรูปมากที่สุด

๔) พบช่องว่างของปัญหาการฉีดวัคซีนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ถูกกระแสข่าวนำไปเชื่อมโยงกับความรู้ต่อวัคซีนซึ่งอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ที่มีข่าวลือว่าจะทำให้ยีนกลายพันธุ์ บ้างว่าเป็นแผนจากประเทศอเมริกาเพื่อจัดการกลุ่มมุสลิม

๕) พื้นที่สามารถอาศัยงานของ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณตำบลละ ๑ หมื่นบาทให้กับทีมงานในการช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด

ครั้งต่อไป วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔  นัดทีมธรรมนูญสุขภาพในเขต ๑๒ เรียนรู้การใช้ธรรมนูญสุขภาพเป็นเครื่องมือในการกำหนดกติการับมือผลกระทบจากโควิด และสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่จัดทำธรรมนูญสุขภาพทั้งใหม่และเก่า โดยขยับเวลามาเป็นช่วงเช้าแทนบ่าย

Relate topics