"การใช้ platform Greensmile กับพื้นที่จังหวัดสงขลาและตรัง"

  • photo  , 1366x768 pixel , 133,260 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 104,870 bytes.

"การใช้ platform Greensmile กับพื้นที่จังหวัดสงขลาและตรัง"

ช่วงสถานการณ์โควิดทำให้ต้องการปรับแผนการทำงาน ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ได้มีการหารือกับเครือข่ายจังหวัดตรัง พร้อมกับพัฒนา Platform ไปในตัว


๑)ประสานจัดทำข้อมูลกลางเกษตรกรรายบุคคล จัดทำไฟล์ excel กลางให้กับแต่ละหน่วยงานนำข้อมูลพื้นฐาน(ชื่อ ที่อยู่ พิกัด เลขสิบสามหลัก ผลผลิต ขนาดแปลง มาตรฐาน ฯลฯ) นำมารวมกัน ส่งเข้าสู่ระบบ www.communeinfo.com เพื่อให้สามารถประมวลผลนำเสนอข้อมูลภาพรวมในระดับจังหวัด พร้อมจัดตั้ง Admin ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได่แก่ สนง.เกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด พาณิชย์ พัฒนาที่ดิน สภาเกษตร ปศุสัตว์ ภาควิชาการ เครือข่าย YSF ฯลฯ


๒)จัดทำแบบสอบถามเกษตรกรรายบุคคล รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน บวกกับปัญหาการผลิต ความต้องการการสนับสนุน จะดำเนินการผ่านเวทีระดับอำเภอ เก็บผ่านกระดาษ แล้วนำมาบันทึกลงระบบข้อมูลกลางใน www.communeinfo.com พร้อมกับส่งเสริมการรวมกลุ่ม ให้มี Admin กลุ่มมาใช้ Application Greensmile ต่อไป ข้อมูลทั้ง ๑ และ ๒ จะนำเข้าสู่คณะกรรมการระดับจังหวัดประกอบการจัดทำแผนการสนับสนุนในเชิงนโนบายต่อไป


๓) Application Greensmile หนุนเสริมกลุ่มเกษตรกรเชื่อมโยงกับการตลาด ภายใต้แนวคิดตลาดนำการผลิต

๓.๑ กลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อม ให้มี Admin นำข้อมูลสมาชิกเข้่าสุ่ระบบ พัฒนายกระดับเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP, PGS หรือเกษตรอินทรีย์ ด้วยการบันทุึกข้อมุลพื้นฐาน พิกัด ภาพการผลิต บัญชีการผลิต มี Qr code ให้กับกลุ่มที่ผ่านมาตรฐาน ให้กลุ่มนำไปใช้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค วางฐานการผลิต สร้างแผนการผลิตร่วม

๓.๒ ยกระดับกลุ่มเป็นวิสาหกิจระดับตำบลหรืออำเภอ เพื่อเป็นคนกลางในการเชื่อมโยงกับตลาด(รพ./โรงแรม/ร้านอาหาร ฯลฯ) ประสานตลาดให้นำข้อมูลความต้องการวัตถุดิบล่วงหน้า เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจหรือกลุ่มจองออร์เดอร์ นำไปวางแผนการผลิต กลุ่มนี้จะการทำการผลิตเชิงปริมาณ เน้นผู้ผลิตมาตรฐาน GAP

๓.๓ กรณีกลุ่ม PGS หรือเกษตรอินทรีย์รายย่อย ที่มีผลผลิตไม่มาก รวมตัวในนามเครือข่ายระดับอำเภอ/จังหวัด มีระบบตลาดแบบเคลื่อนที่ ระบบส่งตรง ผ่านสมาชิก ใช้ Appฯในการซื้อขาย

Relate topics