ช่วยกันเติมช่องว่าง ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ

  • photo  , 960x540 pixel , 61,580 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 26,977 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,365 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,387 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,424 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 49,232 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,027 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,934 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,796 bytes.

"ช่วยกันเติมช่องว่าง"

วันที่ 26 ธันวาคม 2561

รอบเช้าประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประเด็นที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับงานดูแลกลุ่มคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมโดยเฉพาะสตรี จากข้อมูลที่พบส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและคนพิการ เห็นชอบที่จะเน้นทิศทางการใช้เงินอุดหนุนให้กับกลุ่มองค์กรสตรีจัดทำโครงการเพื่อดูแลผู้สูงอายุหรือคนพิการที่แทบจะเป็นกลุ่มเดียวกัน หากกลุ่มสตรีสามารถช่วยเหลือดูแลสตรีด้วยกันก็จะใช้เงินกองทุนได้เกิดคุณค่ามากขึ้น

รอบบ่ายประชุมร่วมกับโครงการพัฒนาเครือข่ายฯขยายผลแอพพลิเคชั่น iMed@home และข้อมูลคนยากลำบากฯที่จัดเก็บร่วมกันที่ปัจจุบันอยู่ในระบบ 3500 คน(บวกกับข้อมูลจากการสำรวจของพมจ. อีกราว20,000 ราย) ได้ข้อสรุปดำเนินการใน 3 รูปแบบ 1)แปรผลข้อมูลในพื้นที่ 3 อำเภอ(หาดใหญ่/เมือง/สิงหนคร)ให้องค์กร CSR สามารถเข้าถึงและส่งต่อความช่วยเหลือได้โดยตรง ผ่านแอพฯที่ศูนย์อาสาสร้างสุขจะดำเนินการ องค์กรเหล่านี้จำเป็นจะต้องหาแกนนำที่เป็นข้อต่อให้เจอและทำงานพัฒนาระบบไปด้วยกัน อาทิ บริษัท ห้างร้าน โรงงาน สหกรณ์ โรตารี่ ไลออนท์ มหาวิทยาลัย สมาคม/มูลนิธิ วัด/มัสยิด เป็นต้น 2)พัฒนาโครงการเด่น ได้แก่ โครงการช่วยเหลือในด้านบ้าน(ประสานมหาวิทยาลัยออกแบบบ้านน็อคดาวน์ขนาด ABCเพื่ออุดช่องว่างคนที่ไม่มีที่ดิน/ต่างถิ่น) อาหาร และเครื่องนุ่งห่มที่เป็นความต้องการหลักในลักษณะใช้ครัวเรือนเป็นตัวตั้ง และโครงการธนาคารแพมเพิร์ส นำเสนอสู่องค์กร CSR เพื่อแสวงหาความร่วมมือ 3)ร่วมกับชุมชน/อปท.ระดับตำบลในพื้นที่เครือข่ายการทำงาน เช่นตำบลที่มีศูนย์สร้างสุขชุมชน ตำบลที่มีหรือจะทำธรรมนูญตำบล/ตำบลในเครือข่ายศปจ. ทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหารายกรณี จะเป็นโอกาสในการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างอบจ./กองทุนฟื้นฟูฯ (ศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์,ศูนย์สร้างสุขชุมชนและปรับสภาพบ้าน)พมจ.(ศูนย์ csrจังหวัด,กองทุนกลางจังหวัด,ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ,ศูนย์บริการคนพิการ) พช.(กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี) อปท.(กองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น) มูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ. ศูนย์อาสาสร้างสุข มหาวิทยาลัย ฯลฯ

การประสานงาน ระบบข้อมูล ช่องทางติดต่อ call center การบูรณาการงบประมาณตามบทบาทภารกิจ กองทุนกลางระดับพื้นที่/จังหวัด บัญชีกองทุนที่มีของประเทศไทย เหล่านี้คือช่องว่างที่จะช่วยกันเติมเต็มระบบท่ามกลางทรัพยากรที่ไม่ได้ขาดแคลน กับปัจจัยความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้ด้วยนโยบายที่เหมาะสม

Relate topics