"ประชุมทีม iMedCare ครั้งที่ 2"

  • photo  , 1920x1080 pixel , 188,561 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,981 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 138,712 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 86,486 bytes.

"iMedCare ครั้งที่ 2"

ทีม iMedCare นำโดยดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มูลนิธิชุมชนสงขลา ประสานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อสร้างความร่วมมือ ให้ข้อเสนอแนะการทำงาน

แอพพลิเคชั่นใหม่ชื่อ iMedcare ดำเนินการผ่านระบบ IoT/AI/ Sharing Economy มีระบบการเชื่อมโยงผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและองค์กรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน พร้อมการพัฒนาบุคลากร(ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน)โดยระบบ E-Learning/E-Testing

1)พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน โดยผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care giver) ในเขตเมือง ผ่านการจัดการแบบธุรกิจเพื่อสังคม

2)เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการของพื้นที่ ให้สามารถส่งต่อข้อมูล ประสานเชื่อมต่อ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และลดช่องว่างของระบบบริการ สร้างมาตรฐานการให้บริการร่วมกัน กลุ่มเป้าหมายหลัก

1)ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่นอกเหนือระบบ LTC ที่ต้องการรับบริการและจ่ายค่าบริการในราคาที่เข้าถึงได้

2) ผู้สูงอายุทั่วไปที่ต้องการบริการ

กลุ่มเป้าหมายรอง

1)ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่ในระบบ LTC ที่ต้องการบริการเพิ่มเติมและสามารถจ่ายค่าบริการ

ผู้เข้าร่วมจากรพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา ทน.หาดใหญ่(ศูนย์ชีวาสุข) ทน.สงขลา ทม.ควนลัง

มีผลสรุปสำคัญ

1)พื้นที่เขตเมืองน่าจะเป็นเขตที่มีความต้องการ กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้รับบริการที่อยู่นอกระบบ LTC ที่พร้อมจ่าย แต่ไม่ใช่กลุ่มผู้มีฐานะที่ใช้บริการรพ.เอกชน และระบบการดูแลจากภาคเอกชน

เขตหาดใหญ่ เช่น ผู้รับบริการจากรพ.มอ.ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ LTC ไม่ได้ส่งต่อข้อมูลให้กับศูนย์บริการ รพ.สต. หรือต้องการบริการเป็นครั้งคราว เสริมกับระบบผู้ดูแลที่มีญาติพี่น้องหรือภาคเอกชน

ศูนย์ชีวาสุข เสนอให้เพิ่มกิจกรรมการปรับพฤติกรรมเสี่่ยง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เพิ่มบริการจัดให้ความรู้ หรือจัดคอร์สบริการ

ทน.สงขลา ต้องการให้เพิ่มกิจกรรมการบริการทั่วไป เช่น เป็นเพื่อนพาคุย ไปส่งรพ. ไปซื้อของ ดูแลผู้สูงอายุ

2)ผู้ให้บริการ HCG ไม่จำเป็นจะต้องเป็น CG หรือคัด CG ที่มีความพร้อมในการบริการ จัดการเวลาได้ สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ อยู่ในวัยที่เข้าถึงเทคโนโลยี หรืออาจจะมาจากผู้ว่างงานต้องการรายได้เสริม

3)ข้อคำนึงที่ควรพิจารณา คือ การจัดระบบบริหาร CG ที่อาจจะมีความเหลื่อมล้ำในการให้บริการระหว่างระบบ LTC กับระบบเสริมนี้ หรือผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่ต้องการระบบบริการแบบไม่จ่ายเงิน ซึ่งจำเป็นจะต้องหารือวางแผนการทำงานร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบระบบ อาจจะมีปัญหาในการฝึกภาคสนาม การลงเยี่ยมผู้รับบริการในช่วงโควิด ที่ไม่อาจทำได้

4)ร่วมเป็นพื้นที่ทดสอบระบบการใช้ iMedCare ด้วยการหาผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ โดยผ่านการวางแผนร่วมกัน โดยทางมูลนิธิชุมชนสงขลารับผิดชอบค่าใช้จ่า่ยในการทดสอบระบบ ก่อนที่จะขยายผลนำผลการทดสอบระบบ ไปสู่นโยบายเข้าพบผู้บริหารหารือการทำงานร่วมกันต่อไป ได้แก่ เขต 1 ในส่วนที่ศูนย์ชีวาสุขร่วมดูแล ของทน.หาดใหญ่ และทน.สงขลา และอีกบางพื้นที่ซึ่งได้ประสานงานไว้แล้ว

5)กิจกรรมที่จะทำต่อไป รับสมัคร HCG ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านจำนวน 50 คน รับเฉพาะในเขตอำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา เพื่อเข้าสู่การพัฒนาศักยภาพการให้บริการ

Relate topics