"งานประเมินภายใน กขป.เขต 12 ชุดที่ 1"

  • photo  , 1000x563 pixel , 272,417 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 388,781 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 424,556 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 450,337 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 464,014 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 382,785 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 417,525 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 383,298 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 400,501 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 441,601 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 299,939 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 347,203 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 421,792 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 474,197 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 489,043 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 285,465 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 245,484 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 311,968 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 480,770 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 388,964 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 312,061 bytes.

"งานประเมินภายใน กขป.เขต 12 ชุดที่ 1"

เรียบเรียงจากข้อมูลของทีมประเมินภายในงานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ นำเสนอในการประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ครั้งที่ 14 วันที่ 9 กรกฏาคม 2564

วัตถุประสงค์หลัก เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 12

วัตถุประสงค์รอง เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 12 ตามภารกิจหลัก ใน 4 ประเด็น

โดยใช้รูปแบบ CIPP และเพื่อประเมินคุณค่าของการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 12

OUTPUT ข้อค้นพบสำคัญ

1.กลไกหลัก คณะกรรมการ 44 คน ได้มาจากการแต่งตั้ง เลือกกันเองและสรรหา การกำหนดคุณสมบัติบางหน่วยงานอาจไม่สันทัดกับบทบาทการขับเคลื่อนงาน เช่น ไม่มี/มองไม่เห็นเครือข่ายในระดับเขต

1.1 ระบบการเลือกประธานใช้วิธีทำงานร่วมกันก่อน  ทำให้ได้ประธานที่มีคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่สอดคล้องกับภารกิจ กขป.

1.2 องค์ประกอบเสริมกำลังที่สำคัญคือ กองเลขาฯ เข้าใจงาน ทำให้การออกแบบงานชัดเจน การปรับเนื้องานจากสุขภาพเป็นคุณภาพชีวิต ที่ทำให้เข้าถึงได้ไม่ยาก

1.3 กลไกสนับสนุน 4 ฝ่ายของกองเลขา ประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบาง และเกษตรปลอดภัย การขับเคลื่อนไหลสะดวก ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง และสุขภาพตามช่วงวัย ค่อนข้างขับเคลื่อนยากในช่วงแรก การเคลื่อนงานอาจจะอยู่ในช่วงการปรับตัว

2.งานวิจัยสถานการณ์สุขภาพประชาชนเขต 12 ข้อมูลจากกองเลขาร่วม ครอบคลุมทั้ง สุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ และ QoL

3.การศึกษาดูงาน DHS เป็นวิธีการที่ชาญฉลาด เห็น Good/Best Practice เกิด Passion ใกล้เคียงงาน กขป. สร้างความเข้าใจแบบ รูปธรรม เห็นวิธีการทำงาน

4.นโยบาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์ : เป้าหมาย คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเขต 12 มี 4 ยุทธศาสตร์ (1) ปรับกระบวนทัศน์การทำงาน (2) บูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน 3)  ผลักดัน ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ จัดการความรู้ (4) พัฒนาระบบฐานข้อมูล สื่อสารสาธารณะ พัฒนาระบบข้อมูลกลาง กำหนดเป้าหมายระยะสั้น 1 ปี ระยะยาว 4 ปี อย่างชัดเจน ทั้งในภาพรวม และใน 4 ประเด็นร่วม

ข้อสังเกตจากทีมประเมินภายใน

1.ยังขาดตัวชี้วัดที่จะบ่งชี้มิติ Health Outcome และคุณภาพชีวิต เช่น เป้าหมาย Smart Mom and Smart Kid ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะลดอัตราตายในแม่ ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ เพิ่มความครอบคลุมในการรับวัคซีนในเด็ก ลดอัตราการเจริญเติบโตไม่สมวัย ลดอัตราพัฒนาการล่าช้า เท่าไหร่ เนื่องจากจะเกิดรูปธรรมในการนำไปกำหนดภารกิจของภาคีหลักและภาคีร่วม  หรือกำหนดเป้าหมายในการลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักสูบหน้าใหม่ กำหนดพื้นที่เกษตรปลอดภัยเพิ่มขึ้น และกำหนดตัวชี้วัดมิติ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ และ QoL

2.การเข้าร่วมประชุมของกขป.บางหน่วยงานไม่สม่ำเสมอ มอบผู้แทน ทำให้ขาดการส่งต่อการดำเนินงาน

กระบวนการ(Process) บทบาท กขป. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “แนวตั้งถักทอแนวราบ” ภารกิจ ร่วมประสาน ร่วมแลกเปลี่ยน  ร่วมชี้ทิศทาง  ร่วมบูรณาการร่วมขับเคลื่อน “หุ้นส่วน”

1.กขป.12 สามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์และภารกิจได้ครบถ้วน

2.ร่วมพัฒนาระบบสนับสนุนกลาง ทำให้เกิดฐานข้อมูลจริง ใช่ง่าย แก้ปัญหาได้ตรง

3.ใช้เครื่องมือ วิธีการ กลไก หลากหลายในการถักทอ และ 5 ร่วม เช่น Mapping เครือข่าย ธรรมนูญ 4PW, KM,DHB,NODE Flagship, มาตรการทางกฎหมาย กองทุน สป.สช. มีการพัฒนาเครื่องมือเสริม (App , Platform)

ผลการประเมินประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง พบว่ามีการ Mapping เครือข่าย พื้นที่ มีการจัดเวทีย่อย มีพื้นที่นำร่อง เห็นแนวทางและความพยายามค้นหาผู้สูบให้ครอบคลุม มี draft การสร้างเครื่องมือคัดกรอง ที่จะพัฒนาสู่ App

แต่ยังไม่ปรากฏกระบวนการดำเนินงานของ 7 สถาบันการศึกษา ไม่พบร่องรอยของการนำองค์ความรู้ไปขยายผล และไม่พบกระบวนการการดำเนินการเพื่อลดปัญหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ที่ชัดเจน

ประเด็นสุขภาวะกลุ่มวัย แม่และเด็ก มีแนวทางในการบูรณาการกับเขตุสุขภาพที่ 12  ศอบต. ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรี บูรณาการเรื่องวัคซีนร่วมกับการรณรงค์ป้องกันท้องวัยรุ่น สร้างการรับรู้ สื่อสาร ในกลุ่มแม่ครรภ์เสี่ยง

ข้อสังเกต ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่มีปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับความยากจนและความเชื่อทางศาสนา การขับเคลื่อนงานนี้ต้องอาศัยกระบวนทัพสำคัญที่นอกเหนือจากวงสุขภาพ เช่น พมจ. วัฒนธรรมจังหวัด ชมรมอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิด เพื่อสร้างรายได้ การสร้างอาชีพ ลดรายจ่าย กขป.12 น่าจะใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ภาคีหลักที่มีแรงผลักสำคัญมาช่วยกันขับเคลื่อน เช่น สำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้  สมาคมจันทร์เสี้ยว ฯ คณะกรรมการอิสลาม โดยเฉพาะพื้นที่ที่พบแม่เสียชีวิตและความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ จะสามารถสร้างความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น หรือใช้ข้อมูลความรู้จาก สปสช.เขต 12 เรื่องวัคซีน (ใน You Tube ก้าวใหม่ สปสช.) หรือขององค์กรด้านสาธารณสุขที่เป็นกลุ่มมุสลิม เช่น แพทย์ เภสัช ฯลฯ

ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม มีการนิยามกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย พื้นที่ ชัดเจน มีการพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ ร่วมกันจัดทำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลกลาง App iMed@home สร้างพื้นที่รูปธรรม ตัวแบบ (จ.สงขลา) และขยายผล 6 จังหวัด  เชื่อมต่อกับ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ พมจ. DBH สปสช.ศึกษาประชากรที่มีปัญหาสถานะพลเมือง ครอบคลุม

ข้อสังเกต

มีกระบวนการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการชัดเจน เชื่อมโยงการทำงานของภาคี สอดคล้องกับ 5 ภารกิจของ กขป. ชัดเจนมาก มีการขยายผล ต่อยอด พัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกลไกขับเคลื่อนยึดโยงการทำงานของหน่วยงานและองค์กร โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ มีกระบวนการหารูปแบบ สร้างตัวแบบ สวนยางพารายั่งยืน ใช้พื้นที่เป็นฐานปฏิบัติการและขยายผล กยท. ส่งเสริมพืชร่วมยาง มีทิศทางพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างเครือข่ายเกษตรกร กับ ธกส. จัดเวทีแลกเปลี่ยนการขึ้นทะเบียนพันธุกรรมพืชท้องถิ่น เกษตรสุขภาพ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย GAP,SGS-PGS,FSC ฯลฯ ผลักดันพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ผลักดันนโยบาย ผู้ประกอบการสีเขียว สวนยางยั่งยืน Clean&Green Hospital เชื่อมโยงการตลาด โรงแรม รพ. และพัฒนากลไก ผ่าน Platform : Green Smile ช่วยส่งเสริมการตลาด มีกลไกจังหวัด สนง.เกษตร

Output :

1.คุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย

2.การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ

3.การเรียนรู้ของ กขป. อนุฯ คณะทำงาน

Outcome (คุณค่า)

1.ผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health Outcome)

2.นวัตกรรม ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

3.ผลลัพธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ สังคม (Health Economic, Social)

ข้อค้นพบสำคัญ พบในประเด็นอาหารปลอดภัย (ได้กินอาหารปลอดภัย) และกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเปราะบาง (เข้าถึงบริการ ลดความพิการ ลดการได้รับอันตราย) พบนวัตกรรม App iMed@home,Green Smile

เกิดผลลัพธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ ประเด็นอาหารปลอดภัย

สุขภาวะในมิติ กาย จิต สังคม จิตวิญญาณ

การเรียนรู้ ศักยภาพ การเปลี่ยนแปลงของ กขป.ภาคี ผู้เกี่ยวข้อง

จุดแข็ง

1.กขป.12 มีทุนเดิมจากภาคีเครือข่ายสำคัญ ตระกูล ส. ทำให้เกิดความเข้าใจ เชื่อมประสาน ขับเคลื่อน ที่ได้ผล

2.ยุทธศาสตร์ KM และ พัฒนาระบบสนับสนุนฐานข้อมูล ทำให้ภาคีมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ควบคู่กับมาข้อมูลถูกต้อง ใช้ได้จริง ตอบสนองความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความพิการ ลดอันตราย

3.การใช้ฐานข้อมูลจากงานวิจัย ร่วมกับ ข้อมูลจากระบบหน่วยงานหลัก ข้อมูล 4 ส. เพิ่มความครอบคลุม และกำหนดประเด็นร่วมได้เหมาะสม

4.ประธาน กขป.12 มีคุณลักษณะผู้นำแบบศรัทธา สร้างการมีส่วนร่วมและเกิด Passion

5.กองเลขาร่วม มีความเข้าใจ รอบรู้ มุ่งมั่น ตั้งใจ ในการขับเคลื่อนงาน ตามเจตนารมณ์ของการมี กขป.

จุดอ่อน

1.การวิเคราะห์ช่องว่าง ในลักษณะปัญหาเชิงระบบ ยังมีน้อย โดยเฉพาะปัญหาและข้อจำกัดเชิงระบบของหน่วยงานภารกิจหลัก

2.ยังไม่สามารถประสานหน่วยงานราชการได้เต็มที่ กรรมการที่เป็นตัวแทนระดับเขต ยังไม่สามารถส่งต่อไประดับนโยบายได้ บางส่วนยังไม่เข้าใจบทบาท กขป. ยังจำกัดเฉพาะงานตามตัวชี้วัดของหน่วยงานตัวเอง

3.การขาดความสม่ำเสมอในการเข้าประชุม และส่งต่อข้อมูลและภารกิจ

4.การใช้ประโยชน์จากหน่วยงานวิชาการในเขต 12 ทั้งระดับเขตและจังหวัด ยังน้อย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความเฉพาะ เชิงลึก เพื่อนำมาสู่การออกแบบและใช้กลไกที่มีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะจากทีมประเมิน

1.ควรวิเคราะห์ช่องว่างที่เป็นปัญหาเชิงระบบให้ชัดเจนโดยเฉพาะปัญหาของหน่วยงานภารกิจหลัก

2.ควรกำหนดและมอบหมายให้ กขป.ทุกท่าน ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำแผน รับผิดชอบและร่วมดำเนินการ สนับสนุนการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

3.ควรทบทวนผลลัพธ์และการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล  App , Platform

4.เพิ่มการทำงานข้ามประเด็น

5.ควรกำหนดตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

ุ6.ควรมีการติดตามประเมินผล โดยเทียบกับแผนปฏิบัติการและผลลัพธ์

7.งาน กขป. มีความต้องการและใช้ Soft Power กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาก ควรพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ กขป. อนุกรรมการ และคณะทำงาน ด้วย

8.หากสามารถประเมิน Health Outcome และประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์ ด้วย จะทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น และตอบสังคมได้ชัดว่า จำเป็นต้องมี กปข.หรือไม่

Relate topics