นายสมพงษ์ อภิรมย์รักษ์

นายสมพงษ์ อภิรมย์รักษ์

องค์กร ชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา

ข้อมูลสำคัญ

ชื่อ-สกุล นายสมพงษ์ อภิรมย์รักษ์

ที่อยู่ที่ติดต่อได้ เลขที่ 48 ถ.ศุภสารรังสรรค์ ต.หาดใหญ่  อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

โทรศัพท์ 074-239125/086-9592929

อีเมล์ mohya-toto@hotmail.com

ประสบการณ์/ผลงาน

  1. เภสัชกรชุมชน ร้านหมอยา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  2. ประธานชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา/รองประธานชมรมเภสัชกรภาคใต้
  3. อาจารย์พิเศษฝึกงานนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  4. วิทยากรงานประชุมวิชาการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายการดำเนินงานเภสัชกรครอบครัว/วิทยากรถอดบทเรียนเภสัชกรรมปฐมภูมิ
  5. ประธานคณะทำงานของเภสัชกรชุมชนระหว่างร้านยาคุณภาพ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย)และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลาในโครงการการบริการงานส่งเสริมสุขภาพและบริหารจัดการร้านยาในชุมชนเมือง
  6. รองประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาร้านยาส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในจังหวัดสงขลา

วิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพในเขตที่สมัครและสิ่งที่คาดหวังว่าจะทำในบทบาทกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

ด้วยบทบาทการเป็นเภสัชกรชุมชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยา หน้าที่ประการสำคัญคือการให้บริการด้านยา การใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม ปลอดภัย รวมถึงการให้ความรู้ด้านสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วยซ้ำซาก หรือหากมีเหตุอันควรที่เป็นความเจ็บป่วยรุนแรงเกินความสามารถก็ยังสามารถส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่สถานบริการด้วยกลไกการเชื่อมต่ออย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งนั้นหมายถึง การทำให้ร้านยาไม่ใช่แค่ให้ผู้ใช้บริการมาซึ่งยาเท่านั้น ซึ่งหากมองลงไปแล้วจะพบว่า ร้านยาเป็นสถานที่บริการที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนทั่วไปอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถให้บริการรวดเร็วทันใจ และเกือบตลอดทั้งวัน ไม่มีแม้แต่วันหยุดราชการ จึงนับว่าร้านยาเป็นที่พึ่งเบื้องต้นในการรักษาพยาบาลดูแลสุขภาพของชุมชนอย่างยาวนานตลอดมา จึงเหมาะสมกับคำว่า “ร้านยาเป็นด่านหน้าของสุขภาพ” โดยเฉพาะในเขตเมือง

ดังนั้นเพื่อให้ตอบโจทย์การทำให้ร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่อยู่เป็นด่านหน้าของการดูแลสุขภาพคนเมือง จึงได้ก่อตั้ง ชทมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการรวมกลุ่มของเภสัชกรร้านยามาทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการแพทย์และเภสัชกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมีขบวนการตั้งแต่การประชุมวิชาการในการพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องตามกฎหมาย การทำโครงการการบริการงานส่งเสริมสุขภาพและการบริหารจัดการด้านยาในชุมชนเมืองตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีประชาชนที่เดินผ่านเข้าออกร้านยาโดยไม่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงอาการป่วยของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาก่อนพบความแทรกซ้อนจนยากต่อการแก้ไข

และหากมีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนแล้ว สิ่งที่คาดหวังคือการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยด้านยาต่อประชาชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม