ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

ด้านนโยบายสาธารณะ รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

ข้อมูลสำคัญ

ชื่อ-สกุล ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

อยู่ที่ติดต่อได้ ที่ทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

โทรศัพท์ 074-287810/089-6563930

อีเมล์ bussabong.c@psu.ac.th

ประสบการณ์/ผลงาน

  1. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์/คณบดีคณะวิทยาการจัดการ 3 สมัย ปี46-50/51-54และ58 ถึงปัจจุบัน (หมดวาระปี 62) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้ปฏิบัติหน้าที่และภารกิจในการพัฒนาคณะ รวมถึงการเข้าร่วมมีบทบาทในทางสังคมด้วย 2)นักผังเมือง สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย 3)เป็นกรรมการบริหารของสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งทำงานด้านการศึกษา วิจัย และเข้ามีส่วนร่วมในการทำงานด้านการศึกษาของเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน และมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้อย่างสม่ำเสมอ
    4)ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันสัติศึกษา ปี 54-58 5)มีประสบการณ์และทำงานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาแลนราธิวาส โดยมีงานวิจัยและการอบรม สัมมนากับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพในเขตที่สมัครและสิ่งที่คาดหวังว่าจะทำในบทบาทกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

  1. จะทำหน้าที่ของการเป็นกรรมการที่ดี มีความรับผิดชอบ เข้าร่วมในการดำเนินการและพัฒนาเกี่ยวกับระบบสุขภาพในเขตพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลผ่านระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประชาชนย่อมต้องมีสิทธิได้รับการคุ้มครองและบริการจากภาครัฐ
  2. ช่วยในการขับเคลื่อน ประสานงานกับประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชนภายในเขตพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นจริง
  3. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพในเขตพื้นที่และระดับชาติ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพของประชาชน
  4. ชี้แนะ ประสานงาน และรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเกี่ยวกับระบบสุขภาพในเขตพื้นที่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าการดำเนินการต่าง ๆ ได้อาศัยข้อมูลและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
  5. ประเมินสถานการณ์แลละสภาพปัญหาเกี่ยวกับระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
  6. ส่งเสริมแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพให้เกิดการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี มีความสมบูรณ์ครบถ้วนแห่งการเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์เข้มแข็งทั้งทางกาย ทางจิต และทางความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมไทยและสังคมโลก