ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์

ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่น

ข้อมูลสำคัญ

ชื่อ-สกุล ดร.นฤทธิ์  ดวงสุวรรณ์

ที่อยู่ที่ติดต่อได้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

โทรศัพท์ 074-289452/074-289451/081-7661356      อีเมล์ mailnarit@gmail.com

ประสบการณ์/ผลงาน

  1. อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  2. เจ้าหน้าที่สนามและบริหารโครงการ โครงการพัฒนาประมงขนาดเล็กและฟื้นฟูชายฝั่งสงขลา-ปัตตานี
  3. งานวิจัยด้านสิทธิชุมชนภาคใต้ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  4. งานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาภาคใต้ มูลนิธิสยามกัมมาจล
  5. ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ปี 2552-ปัจจุบัน)
  6. ได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นปี 2558 ของมาหวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาการทำประโยชน์แก่สังคมและสถาบัน
  7. การบริหารจัดการโครงการพัฒฯสังคมและชุมชน
  8. การประสานงานเครือข่ายทางสังคมและชุมชนระดับพื้นที่และนโยบาย
  9. ศึกษาวิจัยชุมชน การประมวล สรุปบทเรียน และการจัดการความรู้
  10. วิทยากรบรรยาย วิทยากรกระบวนการ ฝึกอบรม ประชุมสัมมนา

วิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพในเขตที่สมัครและสิ่งที่คาดหวังว่าจะทำในบทบาทกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

จะทำหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของ กขป.ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

  1. จัดทำยุทธศาสตร์การทำงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว โยให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ในเขต 12
  2. เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพที่รอบด้าน ถอดบทเรียน พัฒนาองค์ความรู้จากการดำเนินงานด้านสุขภาพระดับเขตพื้นที่ และสถานะสุขภาพของเขตพื้นที่
  3. การจัดทำนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากประชาชน ชุมชนในพื้นที่ เป็นประเด็นปัญหาและสถานภาพ และพื้นที่ตามลักษณะเฉพาะ เช่น ลุ่มน้ำต่าง ๆ
  4. พัฒนาความร่วมมือผ่านกลไกร่วมเพื่อเกิดการทำงานเชิงบูรณาการในมิติต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเขตพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ เช่น คณะทำงานเฉพาะประเด็นหรือพื้นที่
  5. สนับสนุน ประสานงานและจัดทำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาฐานข้อมูล สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเขตสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทั้งทางนโยบายและการปฏิบัติได้เท่าทันสถานการณ์
  6. สนับสนุน ประสานงาน ร่วมมือให้เกิดการปฏิบัติการด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ในมิติต่าง ๆ โดยใช้ประเด็นและพื้นที่เป็นตัวตั้ง เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วม การบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  7. พัฒนาการสื่อสารสังคมทั้งภายในเขตพื้นที่และภายนอก ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้สะวดก รวดเร็ว และจัดให้มีการสื่อสาร 2 ทาง
  8. ทำงานร่วมกับสถาบันการสึกษาทั้งองค์กรความรู้และการวิจัย รวมถึงการพัฒนาจิตอาสากับคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดอาสาสมัครเข้าไปทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ในมิติต่างๆ