รายงาน - บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ปี 2566
จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด
สงขลา | 14 |
ปัตตานี | 9 |
พัทลุง | 7 |
สตูล | 4 |
ยะลา | 4 |
นราธิวาส | 4 |
ตรัง | 2 |
ภาคใต้ | 1 |
ประเภทกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ | 13 |
การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย | 9 |
การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย | 9 |
การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม | 6 |
การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง | 5 |
การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา | 5 |
การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ | 5 |
การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน | 5 |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ | 5 |
การบังคับใช้กฏหมาย | 4 |
การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว | 3 |
การส่งเสริมสุขภาพ | 3 |
การจัดการความรู้ งานวิจัย | 2 |
การประเมินติดตามผล | 2 |
การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย | 2 |
ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) | 1 |
การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ | 1 |
การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก | 1 |
อื่นๆ | 1 |
งบประมาณแต่ละหน่วยงาน
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา | 3289000 |
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | 2023800 |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 1795180 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง | 1421675 |
กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส | 700000 |
ประคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 650000 |
สำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 499500 |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา | 240000 |
ประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 210000 |
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา | 202390 |
ประชาคมงดเหล้า จังหวัดปัตตานี | 70000 |
เครือข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 | 45000 |
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล | 43445 |
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 34200 |
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง | 11589 |
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
ประชาชน 15 ปีขึ้นไป | 501487 |
นักเรียนมัธยมศึกษา | 1300 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดนราธิวาส | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลา | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดตรัง | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดยะลา | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดพัทลุง | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1000 |
เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสตูล | 1000 |
ชุดปฎิบัติการตำบล | 350 |
ชุดปฎิบัติการจัดระเบียบสังคมฯ | 135 |
กรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน | 128 |
เครือข่ายผู้ประสานงานพลังแผ่นดิน | 100 |
ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด | 60 |
แกนนำอาสาพัฒนารัฐป้องกันยาเสพติด | 60 |
เครือข่าย เช่น อปท,ผู้นำชุมชน, ครู, นักเรียน | 45 |
คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด | 30 |
ผู้บำบัดยาเสพติดและวิทยากร | 30 |
นักเรียน นักศึกษา ประชาชน | 20 |
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข | 15 |
ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา อ้างจากโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ระบุว่า สถานการณ์การบริโภคยาสูบ จากการศึกษาภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557 โดยที่ภาระโรคจากมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นผลของการสูญเสียที่สำคัญจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่ก่อให้เกิดภาระโรคมากที่สุดในเพศชาย ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 12.0 ของการสูญเสียปีสุขภาวะทั้งหมดในเพศชาย รองลงมาคือ บุหรี่/ยาสูบ ความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้สูญเสีย ปีสุขภาวะร้อยละ 11.7 และ 7.5 ของการสูญเสียปีสุขภาวะทั้งหมดในเพศชาย การสูบบุหรี่/ยาสูบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องถึง 55,000 ราย หรือร้อยละ 11.2 ของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมด การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงสุด คือ 20,863 คน (ร้อยละ 38 ของการเสียชีวิตจากบุหรี่ทั้งหมด) ตามด้วยโรคหัวใจ 14,011 คน (ร้อยละ 26) และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง 13,964 คน (ร้อยละ 26) (ข้อมูลปีพ.ศ.2557 โดยโครงการ BOD (Burden of Disease))จากการประมาณการ ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในปีพ.ศ.2552 (Disease Attributed to Smoking) พบว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 74,884 ล้านบาท (คำนวณเป็นความสูญเสีย 42 บาทต่อบุหรี่ 1 ซอง) หรือ 0.78% ของ GDP โดยผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 42.3) มีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่เดือนละ 100-499 บาท ร้อยละ 13.0 มีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่มากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน กลุ่มผู้สูบมีอายุ 25-44 ปี มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่ มากกว่า 1,000 บาทต่อเดือนสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น (ร้อยละ 15.5) และผู้ชายเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบุหรี่เฉลี่ย ต่อเดือนสูงกว่าผู้หญิง (ผู้ชาย 491 บาท และผู้หญิง 358 บาท)
รวมถึงการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ.2564 แนวโน้มอัตราสูบบุหรี่ของผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ในภาพรวมทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2564 พบว่าแนวโน้มค่อนข้างลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 23.0 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 17.4 ในปี 2564 ผู้ชายที่สูบบุหรี่ลดลงมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายลดลงจากร้อยละ 43.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2564 สำหรับผู้หญิง ลดลงจาก 2.6 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 1.3 ในปี 2564 จากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรที่มี อายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2564 พบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก เมื่ออายุ 18–22 ปี และสูบจนเป็นปกตินิสัย เมื่ออายุ 19–23 ปี สำหรับอายุเฉลี่ยที่สูบจนเป็นปกตินิสัย ในภาพรวมของทั้งประเทศ คือ 19.7 ปี เพศชายมีอายุเฉลี่ยที่สูบจนเป็นปกตินิสัยต่ำกว่าเพศหญิง (19.6 ปี และ 22.7 ปีตามลำดับ) สำหรับการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ พบว่าสถานที่ส่วนใหญ่ ที่พบเห็นการสูบบุหรี่ คือ ตลาดสดหรือตลาดนัด (ร้อยละ 47.0) รองลงมาคือ ร้านอาหาร/ภัตตาคาร/สถานที่ขายอาหาร เครื่องดื่ม บริการขนส่งสาธารณะ และศาสนสถาน (ร้อยละ 36.6 35.3 และ 21.0 ตามลำดับ) ตามอาคาร สถานที่ราชการและอาคารมหาวิทยาลัยได้ไปและพบเห็นการสูบ คือ ร้อยละ 15.1 และ 14.0 ตามลำดับ ส่วนที่ไป และพบเห็นการสูบบุหรี่ที่บริเวณสถานีบริการน้ำมัน/ก๊าซ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องระวังเพราะอาจเกิดอันตราย จากเปลวไฟจากก้นบุหรี่ได้นั้นพบร้อยละ 13.1 ส่วนสถานที่สาธารณะที่ไปและพบเห็นการสูบ ต่ำกว่าร้อยละ 10 คือบริเวณโรงเรียน/สถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และสถานีบริการสาธารณสุข คือ ร้อยละ 7.1 และ 6.6 ตามลำดับ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ รายจังหวัดสูงสุด 5 ลำดับแรก พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จ.กระบี่ (ร้อยละ 29.4) จ.สตูล (ร้อยละ 25.2) จ.พังงา (ร้อยละ 24.6) จ.นครศรีธรรมราช (ร้อยละ 24.6) และจ.ระนอง (ร้อยละ 24.5) การพบเห็นการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะแต่ละประเภทลดลงเล็กน้อยแม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายและกำหนดเขตปลอดบุหรี่ 100% โดยเฉพาะร้านอาหาร/ภัตตาคาร/ตลาดสด/ตลาดนัด ที่พบว่ายังมีการละเมิดกฎหมาย
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสุขภาพของประชากร ทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยกว่า 230 ชนิด ตาม ICD-10 จากข้อมูลภาระโรคและการบาดเจ็บจากผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับโลก ปี 2559 แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในลำดับที่ 7 ของการตายและพิการของประชากรทั้งหมด และเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของประชากรกลุ่มอายุ 15-49 ปี โดยมีคนเสียชีวิตด้วยโรคและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี (ร้อยละ 5.3 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก) จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2564 พบว่าในภาพรวมอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งประเทศ ในระหว่างปี 2547 - 2557 อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 32.7 ถึง 32.3 แต่หลังจากปี 2558 พบว่าอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 34.0 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 28.0
ในปี 2564 ซึ่งมีผลจากการรณรงค์การงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ต่างๆ พบว่าผู้ชายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง 4 เท่า (ร้อยละ 46.4 และ 10.8 ตามลำดับ) ส่วนอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 28.4 และ 27.7 ตามลำดับ) ทั้งนี้พบว่าในปี 2564 จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 57 ล้านคน เป็นผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในรอบ 12 เดือน ที่แล้วประมาณ 16 ล้านคน (ร้อยละ 28.0) เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ 10.6 ล้านคน (ร้อยละ 18.5) และเป็นผู้ที่ ดื่มนานๆ ครั้ง 5.4 ล้านคน (ร้อยละ 9.5) สำหรับกลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการดื่มสูงสุด (ร้อยละ 36.5) กลุ่มอายุ 45-59 ปี และ 20-24 ปี มีอัตราการดื่มใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 32.4 และ 31.6 ตามลำดับ) กลุ่มผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีอัตราการดื่มร้อยละ 15.2 สำหรับกลุ่มเยาวชน (อายุ15-19 ปี) มีอัตราการดื่มต่ำสุด (ร้อยละ 15.0)
จากสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องแอลกอฮอล์ ทำให้การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากปัจจัยสี่ยงดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2564 โรคหลอดเลือดสมอง มีอัตราความชุกต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 533.40, 566.94, 561.85, 557.91 และ 557.50 ตามลำดับ โรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราความชุกต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 368.72, 390.00, 390.16, 389.60 และ388.32 และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรั้ง มีอัตราความชุกต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 307.92, 330.88, 328.57, 329.61 และ 341.00
ในการแก้ปัญหาข้างต้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ใน 3 กิจกรรมหลักได้แก่ กิจกรรมหลักที่ 1 การขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานในระดับเขตและจังหวัด โดยร้อยละ 80 ของจังหวัดในเขต 12 มีการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด และคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน จังหวัดละ 2 ครั้ง/ปี พบว่าในพื้นที่เขต 12 ดำเนินการได้เพียงร้อยละ 71.42 และทุกสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็ได้ดำเนินการจัดแผนงานบูรณาการทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังขับเคลื่อนไม่ถึงระดับชุมชนที่กำหนดให้การป้องกันควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นมาตรการชุมชน ตำบลละ 1 ชุมชน ดำเนินการ ได้เพียงร้อยละ 46.73 โดยสืบเนื่องจากยังไม่มีการบูรณาการแผนระดับตำบล กิจกรรมหลักที่ 2 การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด โดยมีการพัฒนาหน่วยปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ (ATCU) ระดับจังหวัด ครบทุกจังหวัดแต่พบว่าทีม ATCU ระดับจังหวัดทีมเดียวไม่สามารถออกปฏิบัติงาน ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ หน่วยปฏิบัติงานเหมาะสมกับการดำเนินงานควรเป็นทีม ATCU ระดับอำเภอ ถึงแม้ในบางพื้นที่การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอแล้วก็ตาม แต่ผลการดำเนินงานยังไม่เห็นชัดเป็นรูปธรรม กิจกรรมหลักที่ 3 การบังคับใช้กฎหมายและสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่และสุรา พบว่าร้อยละ 57.14 ของจังหวัดในเขต 12 มีการดำเนินการตรวจเตือนและประชาสัมพันธ์แก่ร้านค้าในพื้นที่ไม่ครบ 1,000 ร้าน และร้อยละ 100 ของจังหวัดในเขต 12 ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำความผิดไม่ครบ 20 คดี ตามตัวชี้วัด ที่กรมควบคุมโรคกำหนด และผลการดำเนินงานที่ยังเป็นปัญหาของจังหวัดในพื้นที่เขต 12 คือมาตรการการช่วยเหลือบำบัดรักษาผู้ที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ โดยร้อยละ 50 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าร้อยละ 71.43 ของจังหวัดในเขต 12 ดำเนินการคัดกรองไม่ได้ตามเป้าหมาย และจากการประเมินผลติดตามผลการดำเนินงาน พบว่าในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส ตรัง พัทลุง และสตูล โรงพยาบาลมีปัญหาในการนำเข้าข้อมูลการคัดกรองจากโปรแกรม HosXP, JHCIS และต้องการการพัฒนาให้สามารถดำเนินการได้
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยรวมมีแนวโน้มลดลง แต่คนใต้ยังสูบบุหรี่สูงสุด เกิดผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองมือสามต่อคนในครอบครัว
ภาคใต้เขต 12 สูบบุหรี่มากเนื่องจากเข้าถึงบุหรี่หนีภาษีได้ง่าย และบุหรี่เข้าไปอยู่ในชุมชนได้ง่าย เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้ชายแดน และมีใบจากที่อยู่ในชุมชน เด็กส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมในครอบครัว พ่อหรือแม่สูบบุหรี่แล้วลูกทำตาม มีการรวมกลุ่มในกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลไม่ทั่วถึง และบุหรี่นอกที่เข้าถึงได้ง่าย ผู้นำศาสนาต่างๆ ขาดความรู้ความเข้าใจในการให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชน
ตลาด รถโดยสารสาธารณะ รถตุ๊กๆรถสองแถวในพื้นที่สงขลา ยังมีการสูบบุหรี่ สะท้อนให้เห็นว่ากลไกที่มีอยู่ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากบนรถโดยสารสาธารณะ หรือร้านค้าที่มีการสูบบุหรี่อย่างอิสระ หากมีการบังคับใช้กฎหมายและปฏิบัติอย่างจริงจัง จะทำให้ลดการสูบบุหรี่มือสองได้ เครื่องหมายห้ามในตลาดไม่มีป้ายที่ติดเครื่องหมายห้ามสูบบุหรี่ เป็นประเด็นที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ อาจศึกษาต้นแบบจากจังหวัดยะลา
ปัญหาอุปสรรคการขับเคลื่อน 1) เครือข่ายการทำงานมีความหลากหลาย การบูรณาการในทางปฏิบัติยังไม่เป็นรูปธรรม 2) งบประมาณปกติของหน่วยงานถูกตัดงบลง ได้รับงบสนับสนุนจาก สสส เป็นหลัก 3) ข้อมูลเชิงลึก ปัจจุบันข้อมูลต่างๆ มีการไหลเวียนจากพื้นที่เข้าสู่สาธารณสุขและกระทรวง ข้อมูลเชิงลึกของเขตไม่มี ขาดข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการชี้เป้า
ทุกจังหวัดมีคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับจังหวัด มีผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้กำกับและผู้ว่าเข้าร่วม
แต่ละพื้นที่มีกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสนับสนุนงบประมาณ
- ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า
- ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา
- ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์
ชื่อภาคี | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | 1 | 0.00 | |
2 | กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส | 1 | 700,000.00 |
3 | กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง | 1 | 11,589.00 |
4 | กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล | 1 | 43,445.00 |
5 | เครือข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 | 1 | 45,000.00 |
6 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง | 1 | 1,421,675.00 |
7 | ประคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1 | 650,000.00 |
8 | ประชาคมงดเหล้า จังหวัดปัตตานี | 1 | 70,000.00 |
9 | ประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 3 | 210,000.00 |
10 | ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | 1 | 2,023,800.00 |
11 | ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา | 1 | 3,289,000.00 |
12 | สำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1 | 499,500.00 |
13 | สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา | 4 | 202,390.00 |
14 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 4 | 1,795,180.00 |
15 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา | 1 | 240,000.00 |
16 | สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 1 | 34,200.00 |
รวม | 24 | 11,235,779.00 |
จังหวัด | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | สงขลา | 14 | 13,142,499.00 |
2 | ปัตตานี | 9 | 4,978,765.00 |
3 | พัทลุง | 7 | 3,320,645.00 |
4 | สตูล | 4 | 1,570,465.00 |
5 | ยะลา | 4 | 3,789,265.00 |
6 | นราธิวาส | 4 | 4,190,475.00 |
7 | ตรัง | 2 | 1,525,465.00 |
8 | ภาคใต้ | 1 | 45,000.00 |
รวม | 45 | 32,562,579.00 |
กิจกรรม | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ | 13 | 8,815,575.00 |
2 | การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย | 9 | 4,568,855.00 |
3 | การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย | 9 | 3,136,175.00 |
4 | การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม | 6 | 5,293,500.00 |
5 | การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง | 5 | 2,678,575.00 |
6 | การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา | 5 | 2,131,175.00 |
7 | การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ | 5 | 5,932,855.00 |
8 | การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน | 5 | 5,265,575.00 |
9 | การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ | 5 | 5,945,175.00 |
10 | การบังคับใช้กฏหมาย | 4 | 5,910,175.00 |
11 | การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว | 3 | 2,571,175.00 |
12 | การส่งเสริมสุขภาพ | 3 | 2,571,175.00 |
13 | การจัดการความรู้ งานวิจัย | 2 | 1,455,875.00 |
14 | การประเมินติดตามผล | 2 | 1,921,175.00 |
15 | การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย | 2 | 3,445,475.00 |
16 | ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) | 1 | 1,421,675.00 |
17 | การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ | 1 | 1,421,675.00 |
18 | การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก | 1 | 650,000.00 |
19 | อื่นๆ | 1 | 103,790.00 |
รวม | 82 | 65,239,650.00 |
หน่วยงาน | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา | 1 | 3,289,000.00 |
2 | ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | 1 | 2,023,800.00 |
3 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 4 | 1,795,180.00 |
4 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง | 1 | 1,421,675.00 |
5 | กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส | 1 | 700,000.00 |
6 | ประคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1 | 650,000.00 |
7 | สำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1 | 499,500.00 |
8 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา | 1 | 240,000.00 |
9 | ประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 3 | 210,000.00 |
10 | สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา | 4 | 202,390.00 |
11 | ประชาคมงดเหล้า จังหวัดปัตตานี | 1 | 70,000.00 |
12 | เครือข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 | 1 | 45,000.00 |
13 | กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล | 1 | 43,445.00 |
14 | สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 1 | 34,200.00 |
15 | กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง | 1 | 11,589.00 |
รวม | 23 | 11,235,779.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | จำนวนกลุ่มเป้าหมาย(คน) | |
---|---|---|---|---|
1 | ประชาชน 15 ปีขึ้นไป | 1 | 700,000.00 | 501,487 |
2 | นักเรียนมัธยมศึกษา | 1 | 700,000.00 | 1,300 |
3 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดนราธิวาส | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
4 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลา | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
5 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดตรัง | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
6 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดยะลา | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
7 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดพัทลุง | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
8 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดปัตตานี | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
9 | เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสตูล | 1 | 1,421,675.00 | 1,000 |
10 | ชุดปฎิบัติการตำบล | 1 | 3,289,000.00 | 350 |
11 | ชุดปฎิบัติการจัดระเบียบสังคมฯ | 1 | 3,289,000.00 | 135 |
12 | กรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน | 1 | 3,289,000.00 | 128 |
13 | เครือข่ายผู้ประสานงานพลังแผ่นดิน | 1 | 3,289,000.00 | 100 |
14 | ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด | 1 | 3,289,000.00 | 60 |
15 | แกนนำอาสาพัฒนารัฐป้องกันยาเสพติด | 1 | 3,289,000.00 | 60 |
16 | เครือข่าย เช่น อปท,ผู้นำชุมชน, ครู, นักเรียน | 1 | 34,200.00 | 45 |
17 | คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด | 1 | 700,000.00 | 30 |
18 | ผู้บำบัดยาเสพติดและวิทยากร | 1 | 3,289,000.00 | 30 |
19 | นักเรียน นักศึกษา ประชาชน | 1 | 37,400.00 | 20 |
20 | เจ้าหน้าที่สาธารณสุข | 1 | 34,200.00 | 15 |
รวม | 20 | 35,180,525.00 | 510,760 |