insights

รายงาน - การรับมือโควิด-19 ปี 2567

จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด

ประเภทกิจกรรม

งบประมาณแต่ละหน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์

info
สถานการณ์ปัญหา

กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 หรือ International Health regulations (IHR), 2005 เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจจับการระบาดของโรคหรือภัยคุกคามด้านสาธารณสุข เพื่อวางมาตรการป้องกันควบคุมโรค และลดผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศ ในประเทศไทยกฎอนามัยระหว่างประเทศมีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกันจัดทำขึ้นและถือปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) โดยให้มีผลกระทบต่อการเดินทาง และการค้าขายระหว่างประเทศให้น้อยที่สุด กฎอนามัยระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญของ WHO และประเทศสมาชิกในการบรรลุยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก (global health security) ปัจจุบันประเทศสมาชิกของ WHO ทุกประเทศ (194 ประเทศ) ได้ลงนามข้อตกลงในการพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ของประเทศตามที่กฎอนามัยระหว่างประเทศกำหนด โดยประเทศไทยต้องพัฒนาสมรรถนะของประเทศ ในด้านต่างๆให้ได้ตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือด้านกฎหมายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ซึ่งกำหนดให้กรมควบคุมโรคเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการ ด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการ โดยให้คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกมีอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยมีมาตรการ โครงการ กิจกรรมดำเนินการที่สามารถตอบสนอง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง และมีความต่อเนื่องในการจัดการปัญหา รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคติดต่อระหว่างประเทศในปัจจุบันเป็นโรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง เช่น ไข้หวัดมรณะ หรือโรคซารส์ (SARS) โรคไวรัสอีโบล่า โรคทางเดินหายใจ ตะวันออกกลาง โรคเมอร์ส และโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อความมั่นคงของรัฐต่างๆทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ประเทศไทยมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆที่จะพบโรคต่างๆเหล่านี้ ได้ตลอดเวลาจากการที่มีผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศทั้งไปและกลับจากพื้นที่ติดโรค รวมทั้งการเป็นศูนย์กลาง การแพทย์ (Medical Hub) ซึ่งจะมีผู้ป่วยโรคต่างๆเข้ามารักษาในโรงพยาบาลของไทย

การเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อเข้ามาในประเทศไทย นับเป็นด่านแรกที่สำคัญสำหรับ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ บริหารจัดการผู้เดินทางที่สงสัยป่วยในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศสุไหงโก-ลก มีผู้เดินทางมาจากประเทศมาเลเซียเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 ราย (อ้างจาก สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่ 12)

สถานการณ์ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 -สถานการณ์ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่ระลอกที่ 1 จนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ยอดผู้ติดเชื้อสะสม มีทั้งสิ้น 263,777 คน คิดเป็นร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศ จังหวัดที่พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด คือ จังหวัดปัตตานีรองลงมา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดตรัง เป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งคนไทยในสามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่นิยมไปทำงานในประเทศมาเลเซีย ในช่วงการระบาดอย่างหนักทำให้ทางการของประเทศมาเลเซียประกาศปิดประเทศ ทำให้มีการหลบหนีกลับเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านช่องทางธรรมชาติขาดการตรวจและคัดกรองตามระบบของสาธารณสุขจึงส่งผลต่อการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ระบาดไปตามหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ทำให้การกระจายของเชื้อโรคควบคุมได้ยาก ส่วนจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด คือ จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ในส่วนของการรักษาผู้ติดเชื้อจังหวัดในเขตพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 88 ขึ้นไปของผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวหายจากการติดเชื้อดังกล่าวถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีแมวโน้มลงลดอย่างต่อเนื่องแต่ก็ต้องมีการ เฝ้าระวัง และป้องกันโดยการปฎิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศอย่างเคร่งครัด และการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้คือ การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นป้องกันโรค โควิด-19 ที่อาจจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต ที่ผ่านมารัฐบาลได้รณรงค์ให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับวัคซีน โดยทางกระทรวง พม. ได้ให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ ให้ได้รับวัคซีนกันอย่างทั่วถึง ซึ่งในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง นั้น มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 รวมทั้งสิ้น 3,597,373 คน คิดเป็นร้อยละ 71.94เข็มที่ 2 จำนวน 3,143,803 คน คิดเป็นร้อยละ 62.87 เข็มที่ 3 จำนวน 889,240 คน คิดเป็นร้อยละ 17.78และเข็มที่ 4 จำนวน 83,083 คน คิดเป็นร้อยละ 1.66 เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกลุ่มจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานได้ประชาสัมพันธ์ให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวง พม. ได้มีการจัดทำข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 โดยจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.11 ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาที่เป็นผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 263,777 คน ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 จำนวน 1,148 ครอบครัว และกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบและได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 25,931 คน ครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 19,824 ครอบครัว *ข้อมูลจาก รายงานสถานการณ์ด้านสังคม ปี 2565 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11

  • ด้านพฤติกรรม มีการแพร่เชื้อระดับครอบครัว/ชุมชน พบการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์รับวัคซีนไม่ครอบคลุม เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีน ข่าวในทางลบเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนทางสื่อสังคมออนไลน์ การขาดความตระหนักคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยงและมีโอกาสติดเชื้อน้อย วัคซีนไม่เพียงพอ มาจากพฤติกรรม การเข้าไม่ถึงบริการ ความเชื่อจากข่าวสารความไม่ปลอดภัยของวัคซีนและความเชื่อทางศาสนา
  • ด้านเศรษฐกิจด้านตลาดแรงงานเปราะบางมากขึ้นโดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ระบบบริการ ประชากรบางส่วนเข้าไม่ถึงระบบบริการ การกระจายวัคซีนให้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวยังไม่ครอบคลุม บุคลากรบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นในวัคซีน ระบบกำกับติดตามเยี่ยมหลังคลอดไม่มีคุณภาพ และขาดการทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุการตายมารดาตามกระบวนการของระบบ MDSR system
  • ด้านเศรษฐกิจ ขาดรายได้ ตกงาน
info
ทุนทางสังคม

 

info
เป้าประสงค์
  1. ด้านสุขภาพ ลดการแพร่เชื้อและเสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วย long covid ได้รับการดูแลและสร้างกำลังใจ
  2. เศรษฐกิจปากท้องเดินได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารที่รับมือกับโควิดได้
  3. ด้านสังคม กลุ่มเปราะบางได้แก่ เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน ได้รับการช่วยเหลือดูแลมีรายได้ มีความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับตัวกับโควิดได้ มีกิจกรรมทำภายใต้ความปลอดภัยของโควิด
info
แนวทางดำเนินการ

 

groups
ภาคีร่วมดำเนินงาน
ชื่อภาคีจำนวนโครงการงบประมาณ
รวม 0 0.00
view_list
โครงการ/กิจกรรม
พ.ศ.ชื่อติดตามโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
รวม 0.00
view_list
จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด
จังหวัดจำนวนโครงการงบประมาณ
รวม 0 0.00
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกจังหวัดอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายจังหวัด
event
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมจำนวนโครงการงบประมาณ
รวม 0 0.00
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกประเภทกิจกรรมอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายประเภทกิจกรรม
paid
งบประมาณแต่ละหน่วยงาน
หน่วยงานจำนวนโครงการงบประมาณ
รวม 0.00
groups
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
กลุ่มเป้าหมายจำนวนโครงการงบประมาณจำนวนกลุ่มเป้าหมาย(คน)
รวม 0.00 0
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกกลุ่มเป้าหมายอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายกลุ่มเป้าหมาย