"กขป.เขต 12 on air ครั้งที่ 1: รองรับสังคมสูงวัย"

  • photo  , 940x788 pixel , 123,097 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 143,522 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 110,814 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 123,889 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 136,254 bytes.

"กขป.เขต 12 on air ครั้งที่ 1 : รองรับสังคมสูงวัย"

วันที่  12 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ประเดิมครั้งแรกด้วยการจัดเวทีผ่านระบบประชุมทางไกล และถ่ายทอดสดร่วมกับเครือข่ายสื่อสุขภาวะ เขต 12 และเครือข่ายความร่วมมือ ร่วมประสานขับเคลื่อนการรองรับสังคมสูงวัย

มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย สมัชชาจังหวัดตรัง สตูล สงขลา ยะลา สสจ.ตรัง อบต.บางด้วน สสจ.สงขลา อบจ.ตรัง เครือข่ายตำบล

พร้อมรับชมผ่านเพจ : เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12

ดำเนินรายการโดยนายนิพนธ์ รัตนาคม สมาคมอาสาสร้างสุข นางสาวรัชนี บินยูโซะ เครือข่ายสื่อสุขภาวะเขต 12 และนายชาคริต โภชะเรือง เลขานุการคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12

เริ่มด้วยการรายงานความเคลื่อนไหวกิจกรรมสำคัญในพื้นที่ โดยนางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง สมัชชาสุขภาพจังหวัดสตูล ได้กล่าวถึงกิจกรรมการลงนามความร่วมมือพัฒนาระบบข้อมูลกลางคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง จังหวัดสตูลระหว่างกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดกับอีก 14 องค์กร

นายอนันต์ อัครสุวรรณกุล รองนพ.สสจ.ตรัง นำประสบการณ์การขับเคลื่อนจังหวัดตรังมาแบ่งปัน เริ่มต้นจากการจำแนกกลุ่มสูงอายุเป็น 3 กลุ่มคือ 60-70,70-80 และ 80 ปีขึ้นไป และชี้ว่าการรองรับสังคมสูงวัย ควรเริ่มตั้งแต่วัย 25 ปี ดำเนินการใน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ/เงินออม ด้านสภาพแวดล้อม/สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยี ตรังเริ่มด้วยการประมวลข้อมูลสภาพปัญหา ความต้องการ ทุนทางสังคม ประสานให้เกิดการพูดคุย หารือ วิเคราะห์ภาคีเครือข่าย โดยมีสาขาสภาผู้อายุจังหวัด อบจ. Nodeflagship สสส.ตรัง สสจ. พมจ. สมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นเครือข่ายหลัก และจัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัยระดับจังหวัด กำหนดเป้าหมายร่วม ผู้สูงวัยจังหวัดตรังอยู่ดีมีสุขในปี 2570 และมียุทธศาสตร์ร่วม

1)ด้านสุขภาพ ไม่ล้มไม่ลืมไม่ซึมเศร้าไม่ปล่อยให้เรื้อรัง เน้นการเข้าถึงบริการสุขภาพและเชื่อมโยงกับกลไก 3 หมอ จุดเน้นป้องกันผู้ป่วยอายุ 50 ปีที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง พัฒนาศักยภาพ อสม. แอพฯหมอรู้จักคุณ

2) ด้านเศรษฐกิิจ เน้นส่งเสริมการออม

3)ด้านสภาพแวดล้อม ร่วมกับอบจ.อบรมช่างชุมชนให้สามารถเข้าช่วยสมาชิกในชุมชน ปรับสภาพบ้าน ทำราวจับ ทางลาดต่างๆ

4)ด้านสังคม จับมือกับท้องถิ่น ปฎิบัติการระดับพื้นที่เชื่อมโยงกับ LTC การขยายสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุ เพิ่มอายุกลุ่มเป้าหมายมาร่วม และร่วมกับพช.ประสานด้านอาหาร กับโครงการโคกหนองนา

นายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิริพันธุ์ รองปลัดอบต.บางด้วน นำบทเรียนการเป็นจุดเรียนรู้การทำธรรมนูญสุขภาพรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วนมาจุดประกาย โดยเริ่มจากความร่วมมือกับ Node flagship สสส.ตรังประสานแกนนำในพื้นที่อาทิ อปท. ท้องที่ รพ.สต. สภาองค์กรชุมชน อาศัยการประชุมทั้งแบบทางการและไม่ทางการ สร้างความเข้าใจต่อแนวคิดรองรับสังคมสูงวัยที่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้สูงอายุ จากนั้นประสานหากลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไปมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ทำแผนดูแลทั้งด้านสุขภาพ การออม การจัดสภาพบ้านและที่อยู่อาศัย การทำกิจกรรมทางสังคม

การจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญ ตำบลบางด้วนขยายผลต่อยอดจากธรรมนูญผู้สูงอายุอีกทอด

ปัจจัยความสำเร็จสำคัญ คือ แกนนำเข้าใจแนวคิดรองรับสังคมสูงวัย การทำงานอย่างต่อเนื่อง และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีท้องถิ่นเป็นแกนประสาน มีปฏิบัติการสร้างรูปธรรมตามบริบทและทุน ไม่จำเป็นที่จะต้องทำพร้อมกัน ให้มีจุดเริ่มต้นความสำเร็จไปเรื่อยๆ รวมถึงการที่มีหน่วยงานเชิงนโยบายระดับจังหวัดลงมากระตุ้นอยู่สม่ำเสมอ

และร่วมเติมเต็มโดย คุณบัณฑิต มั่นคง สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชี้ให้เห็นบทเรียนสำคัญ

1) ก. ก็คือ กลไกที่มีทั้งระดับจังหวัดและตำบลทำงานประสานกัน รวมถึงการเน้นกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องรวมทุกช่วงวัย

2) ข. ก็คือ ข้อมูล นำข้อมูลมาประมวล จัดทำแผน กำหนดเป้าหมายร่วม

3) ป. ก็คือ ปฎิบัติการ สร้างรูปธรรมระดับพื้นที่

กขป.เขต 12 on airจะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการสานพลัง ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนรองรับสังคมสูงวัย และเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม กขป.เขต 12

#เรียนรู้เติมเต็มต่อยอดขยายผล


ชมย้อนหลัง

Relate topics