กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

  • photo  , 1000x563 pixel , 88,534 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 56,588 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 70,574 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 69,641 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 82,596 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 79,565 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 74,388 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 83,988 bytes.

เพิ่งมากระจ่างเอาจากงานนี้เอง  การศึกษาคือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

เดิมที สังคมไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างมาก  จึงเน้นให้เรียนในระดับสูง ๆ ขึ้น สอบได้คะแนนดีเป็นอันพอใจ  โดยมองข้ามว่า ได้เรียนรู้อะไรแล้วนำไปใช้ประโยชน์อะไร จากการเข้าร่วมงานประชุม "การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและทุกคนเข้าถึงได้ โดยเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่"  ซึ่งจัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.  เมื่อ 3 - 4 ตุลาคม 2567 โรงแรมมิราเคิล , กทม.

ทำให่กระจ่างว่า  การศึกษาไม่ใช่โอกาสเดียวของการพัฒนาตนเอง  แต่ แท้ที่จริงแล้ว การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และยังเป็นส่วนเล็ก ๆ ของเรียนเรียนรู้ เราสามารถเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ ช่องทาง และโอกาส เพื่อนำความรู้ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน หรือแต่ละจังหวะชีวิตได้

ดังนั้น  หากเยาวชนสักคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา  จึงควรได้รับการเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้นได้ เพื่อให้เขาสามารถตอบโจทย์ชีวิตตนเอง ความเข้าใจจากจุดนี้ ก็มากพอสำหรับนำไปออกแบบการเรียนรู้ของเมือง และของเด็กเยาวชนกลุ่มเฉพาะให้สามารถเข้าถึงโอกาสได้มากขึ้น ที่เหลือก็เพียงชวนเครือข่ายมาทำความเข้าใจเรื่องนี้และเดินไปด้วยกัน


กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เมื่อวันที่ 3 – 4 ตุลาคมที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ “การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและทุกคนเข้าถึงได้ โดยเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่” (Flexible & Accessible Learning by multi-sectoral collaboration on area-based) โดยมีเครือข่ายจังหวัดขับเคลื่อนโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 16 จังหวัด และเมืองที่ดำเนินโครงการการพัฒนาตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ของ กสศ. 8 พื้นที่ เข้าร่วมงาน ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

โดยมี ดร.ธนดร พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครอุดรธานี และ ดร.สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรี เทศบาลนครตรัง ร่วมแชร์ประสบการณ์การดำเนินการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ดำเนินงานร่วมกับ กสศ. มาเป็นระยะเวลา 1 ปี รวมถึง นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยจังหวัดระยอง ร่วมให้มุมมองการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ บนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วน ร่วมนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจต่อการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้

โดยตลอดการประชุมทั้ง 2 วัน ยังมีการร่วมพูดคุยพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีประเด็นหลัก คือ

1.กลยุทธ์ในการพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้และเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในเมือง (learning spaces) ที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้  (Accessibility for All) โดยเฉพาะการเข้าถึงการเรียนรู้ของกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงเด็กที่ยากจนและผู้ด้อยโอกาส

2.คือการสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City Network) กลไกการบริหารจัดการเครือข่าย รวมไปถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่และยังมีการพูดถึงแนวคิดและเครื่องมือ Learning City เมืองแห่งการเรียนรู้ ไปจนถึงแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น (Flexible & Accessible Learning) รวมถึงมาตราการ Thailand Zero Dropout นำโดย ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) . นอกจากนี้กสศ.ยังร่วมกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดให้มีการบรรยายในหัวข้อ “การเข้าถึงการเรียนรู้ของกลุ่มเด็กและเยาวชนยากจนและผู้ด้อยโอกาส การสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning City Network) จากประสบการณ์ของ The Irish Network of Learning Cities นำโดย Dr.Seamus O’TUAMA ประธาน ASEM Education and Research Hub on Lifelong Learning (ASEM LLL Hub) และประธานกลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ARC8 Expert Group on Inclusive and Flexible Lifelong Learning Pathways)


โดยรับชมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ย้อนหลังได้ที่

นิพนธ์ รัตนาคม บันทึกเรื่องราว

Relate topics