รายงาน - การรับมือโควิด-19
จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด
สงขลา | 4 |
ภาคใต้ | 3 |
สตูล | 3 |
1 | |
ปัตตานี | 1 |
ตรัง | 1 |
นราธิวาส | 1 |
พัทลุง | 1 |
ประเภทกิจกรรม
การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย | 6 |
การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน | 5 |
การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย | 5 |
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ | 5 |
การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย | 4 |
การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว | 4 |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ | 3 |
การส่งเสริมสุขภาพ | 3 |
การประเมินติดตามผล | 3 |
การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ | 2 |
การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง | 2 |
ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) | 2 |
การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ | 2 |
การจัดการความรู้ งานวิจัย | 1 |
งบประมาณแต่ละหน่วยงาน
สมาคมสร้างสุขชุมชน | 6500000 |
กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง | 500000 |
มูลนิธิชุมชนสงขลา | 200000 |
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 | 116000 |
เครือข่ายสื่่อชุมชนชายแดนใต้ | 100000 |
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา | 63800 |
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 58800 |
หอการค้า สภาอุตสาหกรรม | 30000 |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 15000 |
อสม.ตำบลละงู | 0 |
เทศบาลตำบลกำแพง ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล | 0 |
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
ประชาชนในเขต ทต.กำแพง | 5006 |
แกนนำสุขภาพ | 600 |
1.ผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ 2.ผู้เดินทางเข้า | 300 |
ผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ, ผู้ป่วย/ผู้สัมผัส | 300 |
เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน กรรมการมัสยิ | 200 |
ผู้ประกอบการ | 80 |
จนท.ปฏิบัติงานควบคุมโรคติดต่อ | 50 |
5 | 50 |
ทั่วไป | 20 |
กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 หรือ International Health regulations (IHR), 2005 เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจจับการระบาดของโรคหรือภัยคุกคามด้านสาธารณสุข เพื่อวางมาตรการป้องกันควบคุมโรค และลดผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศ ในประเทศไทยกฎอนามัยระหว่างประเทศมีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกันจัดทำขึ้นและถือปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) โดยให้มีผลกระทบต่อการเดินทาง และการค้าขายระหว่างประเทศให้น้อยที่สุด กฎอนามัยระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญของ WHO และประเทศสมาชิกในการบรรลุยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก (global health security) ปัจจุบันประเทศสมาชิกของ WHO ทุกประเทศ (194 ประเทศ) ได้ลงนามข้อตกลงในการพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ของประเทศตามที่กฎอนามัยระหว่างประเทศกำหนด โดยประเทศไทยต้องพัฒนาสมรรถนะของประเทศ ในด้านต่างๆให้ได้ตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือด้านกฎหมายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ซึ่งกำหนดให้กรมควบคุมโรคเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการ ด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการ โดยให้คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกมีอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยมีมาตรการ โครงการ กิจกรรมดำเนินการที่สามารถตอบสนอง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง และมีความต่อเนื่องในการจัดการปัญหา รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคติดต่อระหว่างประเทศในปัจจุบันเป็นโรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง เช่น ไข้หวัดมรณะ หรือโรคซารส์ (SARS) โรคไวรัสอีโบล่า โรคทางเดินหายใจ ตะวันออกกลาง โรคเมอร์ส และโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อความมั่นคงของรัฐต่างๆทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ประเทศไทยมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆที่จะพบโรคต่างๆเหล่านี้ ได้ตลอดเวลาจากการที่มีผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศทั้งไปและกลับจากพื้นที่ติดโรค รวมทั้งการเป็นศูนย์กลาง การแพทย์ (Medical Hub) ซึ่งจะมีผู้ป่วยโรคต่างๆเข้ามารักษาในโรงพยาบาลของไทย
การเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อเข้ามาในประเทศไทย นับเป็นด่านแรกที่สำคัญสำหรับ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ บริหารจัดการผู้เดินทางที่สงสัยป่วยในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศสุไหงโก-ลก มีผู้เดินทางมาจากประเทศมาเลเซียเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,500 ราย (อ้างจาก สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่ 12)
สถานการณ์ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 -สถานการณ์ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่ระลอกที่ 1 จนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ยอดผู้ติดเชื้อสะสม มีทั้งสิ้น 263,777 คน คิดเป็นร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศ จังหวัดที่พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด คือ จังหวัดปัตตานีรองลงมา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดตรัง เป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งคนไทยในสามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่นิยมไปทำงานในประเทศมาเลเซีย ในช่วงการระบาดอย่างหนักทำให้ทางการของประเทศมาเลเซียประกาศปิดประเทศ ทำให้มีการหลบหนีกลับเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านช่องทางธรรมชาติขาดการตรวจและคัดกรองตามระบบของสาธารณสุขจึงส่งผลต่อการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ระบาดไปตามหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ทำให้การกระจายของเชื้อโรคควบคุมได้ยาก ส่วนจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด คือ จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ในส่วนของการรักษาผู้ติดเชื้อจังหวัดในเขตพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 88 ขึ้นไปของผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวหายจากการติดเชื้อดังกล่าวถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีแมวโน้มลงลดอย่างต่อเนื่องแต่ก็ต้องมีการ เฝ้าระวัง และป้องกันโดยการปฎิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศอย่างเคร่งครัด และการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้คือ การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นป้องกันโรค โควิด-19 ที่อาจจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต ที่ผ่านมารัฐบาลได้รณรงค์ให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับวัคซีน โดยทางกระทรวง พม. ได้ให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ ให้ได้รับวัคซีนกันอย่างทั่วถึง ซึ่งในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง นั้น มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 รวมทั้งสิ้น 3,597,373 คน คิดเป็นร้อยละ 71.94เข็มที่ 2 จำนวน 3,143,803 คน คิดเป็นร้อยละ 62.87 เข็มที่ 3 จำนวน 889,240 คน คิดเป็นร้อยละ 17.78และเข็มที่ 4 จำนวน 83,083 คน คิดเป็นร้อยละ 1.66 เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกลุ่มจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานได้ประชาสัมพันธ์ให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวง พม. ได้มีการจัดทำข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 โดยจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.11 ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาที่เป็นผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 263,777 คน ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 จำนวน 1,148 ครอบครัว และกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบและได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 25,931 คน ครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 19,824 ครอบครัว *ข้อมูลจาก รายงานสถานการณ์ด้านสังคม ปี 2565 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11
- ด้านพฤติกรรม มีการแพร่เชื้อระดับครอบครัว/ชุมชน พบการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์รับวัคซีนไม่ครอบคลุม เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีน ข่าวในทางลบเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนทางสื่อสังคมออนไลน์ การขาดความตระหนักคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยงและมีโอกาสติดเชื้อน้อย วัคซีนไม่เพียงพอ มาจากพฤติกรรม การเข้าไม่ถึงบริการ ความเชื่อจากข่าวสารความไม่ปลอดภัยของวัคซีนและความเชื่อทางศาสนา
- ด้านเศรษฐกิจด้านตลาดแรงงานเปราะบางมากขึ้นโดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ระบบบริการ ประชากรบางส่วนเข้าไม่ถึงระบบบริการ การกระจายวัคซีนให้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวยังไม่ครอบคลุม บุคลากรบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นในวัคซีน ระบบกำกับติดตามเยี่ยมหลังคลอดไม่มีคุณภาพ และขาดการทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุการตายมารดาตามกระบวนการของระบบ MDSR system
- ด้านเศรษฐกิจ ขาดรายได้ ตกงาน
- ด้านสุขภาพ ลดการแพร่เชื้อและเสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วย long covid ได้รับการดูแลและสร้างกำลังใจ
- เศรษฐกิจปากท้องเดินได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารที่รับมือกับโควิดได้
- ด้านสังคม กลุ่มเปราะบางได้แก่ เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน ได้รับการช่วยเหลือดูแลมีรายได้ มีความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับตัวกับโควิดได้ มีกิจกรรมทำภายใต้ความปลอดภัยของโควิด
ชื่อภาคี | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง | 1 | 500,000.00 |
2 | เครือข่ายสื่่อชุมชนชายแดนใต้ | 1 | 100,000.00 |
3 | เทศบาลตำบลกำแพง ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล | 1 | 0.00 |
4 | มูลนิธิชุมชนสงขลา | 1 | 200,000.00 |
5 | ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 | 1 | 116,000.00 |
6 | สมาคมสร้างสุขชุมชน | 2 | 6,500,000.00 |
7 | สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา | 1 | 63,800.00 |
8 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 1 | 15,000.00 |
9 | สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 1 | 58,800.00 |
10 | หอการค้า สภาอุตสาหกรรม | 1 | 30,000.00 |
11 | อสม.ตำบลละงู | 1 | 0.00 |
รวม | 12 | 7,583,600.00 |
จังหวัด | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | สงขลา | 4 | 412,600.00 |
2 | ภาคใต้ | 3 | 6,600,000.00 |
3 | สตูล | 3 | 30,000.00 |
4 | ไม่ระบุ | 1 | 116,000.00 |
5 | ปัตตานี | 1 | 100,000.00 |
6 | ตรัง | 1 | 500,000.00 |
7 | นราธิวาส | 1 | 63,800.00 |
8 | พัทลุง | 1 | 15,000.00 |
รวม | 15 | 7,837,400.00 |
กิจกรรม | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย | 6 | 6,620,000.00 |
2 | การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน | 5 | 748,800.00 |
3 | การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย | 5 | 194,800.00 |
4 | การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ | 5 | 6,715,000.00 |
5 | การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย | 4 | 6,500,000.00 |
6 | การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว | 4 | 200,000.00 |
7 | การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ | 3 | 15,000.00 |
8 | การส่งเสริมสุขภาพ | 3 | 15,000.00 |
9 | การประเมินติดตามผล | 3 | 0.00 |
10 | การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ | 2 | 0.00 |
11 | การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง | 2 | 0.00 |
12 | ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) | 2 | 30,000.00 |
13 | การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ | 2 | 90,000.00 |
14 | การจัดการความรู้ งานวิจัย | 1 | 200,000.00 |
รวม | 47 | 21,328,600.00 |
หน่วยงาน | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | |
---|---|---|---|
1 | สมาคมสร้างสุขชุมชน | 2 | 6,500,000.00 |
2 | กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง | 1 | 500,000.00 |
3 | มูลนิธิชุมชนสงขลา | 1 | 200,000.00 |
4 | ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 | 1 | 116,000.00 |
5 | เครือข่ายสื่่อชุมชนชายแดนใต้ | 1 | 100,000.00 |
6 | สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา | 1 | 63,800.00 |
7 | สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ | 1 | 58,800.00 |
8 | หอการค้า สภาอุตสาหกรรม | 1 | 30,000.00 |
9 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง | 1 | 15,000.00 |
10 | อสม.ตำบลละงู | 1 | 0.00 |
11 | เทศบาลตำบลกำแพง ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล | 1 | 0.00 |
รวม | 12 | 7,583,600.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนโครงการ | งบประมาณ | จำนวนกลุ่มเป้าหมาย(คน) | |
---|---|---|---|---|
1 | ประชาชนในเขต ทต.กำแพง | 1 | 0.00 | 5,006 |
2 | แกนนำสุขภาพ | 1 | 500,000.00 | 600 |
3 | 1.ผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ 2.ผู้เดินทางเข้า | 1 | 63,800.00 | 300 |
4 | ผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ, ผู้ป่วย/ผู้สัมผัส | 1 | 63,800.00 | 300 |
5 | เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน กรรมการมัสยิ | 1 | 100,000.00 | 200 |
6 | ผู้ประกอบการ | 1 | 30,000.00 | 80 |
7 | จนท.ปฏิบัติงานควบคุมโรคติดต่อ | 1 | 58,800.00 | 50 |
8 | 5 | 1 | 30,000.00 | 50 |
9 | ทั่วไป | 1 | 30,000.00 | 20 |
รวม | 9 | 876,400.00 | 6,606 |